‘นูทานิคซ์’ แนะกลยุทธ์ เพิ่มความสำเร็จ ‘สมาร์ทซิตี้’

‘นูทานิคซ์’ แนะกลยุทธ์  เพิ่มความสำเร็จ ‘สมาร์ทซิตี้’

รัฐบาลของแต่ละประเทศมีบทบาทสำคัญในการพัฒนา สมาร์ทซิตี้มีความซับซ้อนและเชื่อมโยงกันไปมาอย่างเหลือเชื่อ จึงต้องวางแผนอย่างรัดกุมก่อนเริ่มดำเนินการ 

บริษัทวิจัยแกรนด์ วิว รีเสิร์ช คาดการณ์ว่า ตลาดสมาร์ทซิตี้ทั่วโลกกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยมูลค่าเกินระดับ 2.5 ล้านล้านดอลลาร์ ภายในต้นปี 2568

ตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าการคาดการณ์ไว้ที่ 1 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อปี 2563 ถึงสองเท่า ท่ามกลางความกดดันทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งทำให้การพัฒนาสมาร์ทซิตี้ชะลอตัวลงชั่วคราว แต่บริษัทด้านเทคโนโลยีใหญ่ๆ ของโลกบางแห่งต่างยังคงลงทุนในโครงการด้านสมาร์ทซิตี้อย่างหนักและต่อเนื่อง

ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์ เปิดมุมมองว่า สมาร์ทซิตี้ คือ วิสัยทัศน์ที่เน้นประสิทธิภาพและการติดต่อเชื่อมโยงถึงกันมากขึ้น ผ่านการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และการนำข้อมูลไปในทิศทางที่ช่วยให้เมืองนั้นๆ มีความยั่งยืน ขณะเดียวกันลดผลกระทบต่อคนและสิ่งแวดล้อม และสามารถให้บริการอัตโนมัติด้านต่างๆ ให้กับประชาชนได้มากขึ้น

ที่ผ่านมา ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการติดตามตรวจสอบสภาพแวดล้อม ไปจนถึงการบริหารจัดการการจราจรอัจฉริยะ และขีดความสามารถด้านการชำระเงินแบบดิจิทัล ช่วยให้เมืองต่างๆ พัฒนาศักยภาพที่จะเป็นตัวกำหนดอนาคตของเมืองที่เป็นศูนย์กลางได้อย่างไร้ขีดจำกัด

แค่เทคโนโลยี ‘ไม่พอ’

เขากล่าวว่า การเป็นสมาร์ทซิตี้ที่ประสบความสำเร็จได้นั้นจะเน้นเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวไม่ได้ จำเป็นต้องออกแบบโครงการต่างๆ โดยยึดความต้องการของประชาชนเป็นหลัก รวมถึงใช้แนวทางที่ไตร่ตรองอย่างดีและวัดผลได้ เพื่อให้สามารถปรับให้เข้ากับความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของเมืองแต่ละแห่งและผู้ที่อยู่อาศัยในเมืองนั้นๆ

การปรับเปลี่ยนเมืองต่างๆ ให้เป็นจุดศูนย์กลางของการเชื่อมต่อทางดิจิทัลที่ชาญฉลาดได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย สมาร์ทซิตี้มีความซับซ้อนและเชื่อมโยงกันไปมาอย่างเหลือเชื่อ จึงต้องวางแผนอย่างรัดกุมก่อนเริ่มดำเนินการ 

ยิ่งไปกว่านั้น การวางผังสมาร์ทซิตี้ต้องใช้แนวทางหลากหลายและไม่เหมือนกัน เพราะเมืองแต่ละเมืองแตกต่างกันมากทั้งในแง่ของความต้องการของประชาชน โครงสร้างพื้นฐานของเมือง และระดับความสามารถทางเทคโนโลยี 

เมืองต่างๆ ที่ยังคงใช้ระบบแบบดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่ใช้บริหารจัดการระบบสัญญาณไฟจราจรหรือการตรวจติดตามอาคารต่างๆ แบบเดิมที่ไม่ตอบโจทย์ความต้องการของสมาร์ทซิตี้ ยังต้องพัฒนาอีกมากเพื่อรองรับการเชื่อมต่อที่จำเป็นที่ต้องมีในเมืองอัจฉริยะ

ผสานความร่วมมือ  'รัฐ-เอกชน’

เวิล์ดอีโคโนมิคฟอรัมให้ความเห็นว่า การสร้างสมาร์ทซิตี้นั้น ต้องสร้างในแนวทางที่เข้าใจและรับรู้ว่าความล้าสมัยของเทคโนโลยีในปัจจุบันซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นจะต้องพัฒนาและสร้างสิ่งใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง และเตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลง ผลกระทบและความยุ่งยากจากสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ตลอดเวลา

โดยรัฐบาลของแต่ละประเทศมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ แต่ความสำเร็จขึ้นอยู่กับความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน 

เช่นเดียวกับ การเปลี่ยนแปลงในองค์กรธุรกิจที่ต้องอาศัยทุกคนในองค์กรทำงานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุจุดหมายเดียวกัน เมืองต่างๆ จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้หากไม่มีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐบาลและเอกชน

ทั้งนี้ ความสำเร็จของโครงการสมาร์ทซิตี้ต่างๆ จะช่วยให้องค์กรที่ทำธุรกิจอยู่ในเมือง ซึ่งไม่ได้จำกัดเพียงองค์กรด้านเทคโนโลยีเท่านั้น เหตุเพราะโครงการที่รัฐบาลสร้างขึ้นมาเหล่านี้ มักช่วยกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือทางนวัตกรรม และสร้างข้อมูลที่ธุรกิจทั้งหลายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

เน้นข้อมูลเป็นศูนย์กลาง

เมื่อพิจารณาถึงความสำเร็จของสมาร์ทซิตี้แล้ว “ข้อมูลถือเป็นเสมือนสกุลเงินหลัก” เมื่อมีการใช้และบริหารจัดการข้อมูลอย่างถูกวิธีแล้ว เมืองต่างๆ จะสามารถดึงข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญๆ ออกมาจากข้อมูลเหล่านั้น เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจด้านต่างๆ ได้

นอกจากนี้ ข้อมูลยังเป็นตัวเสริมประสิทธิภาพให้กับความสามารถด้านดิจิทัลต่างๆ ที่ทำให้เมืองเป็นเมืองที่ชาญฉลาด ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากเซ็นเซอร์ การขนส่งอัจฉริยะ และบริการอัตโนมัติอื่น ๆ

ท้ายที่สุด "ประชาชนสำคัญที่สุด" สิ่งสำคัญในการที่เมืองต่างๆ ทั่วโลกที่กำลังมุ่งพัฒนาเมืองของตนให้เป็นสมาร์ทซิตี้ต้องมี คือต้องจัดทำเป้าหมายของการพัฒนาด้านต่างๆ ให้สอดคล้องกับความคาดหวังของประชาชน นวัตกรรมทางดิจิทัลจะไม่เกิดประโยชน์เลย จนกว่าประชาชนจะได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้น