เข้าสู่ปีที่ 62 กับมิติใหม่ของ "วช." ที่รุกพัฒนาไทยด้วยวิจัยและนวัตกรรม

เข้าสู่ปีที่ 62 กับมิติใหม่ของ "วช." ที่รุกพัฒนาไทยด้วยวิจัยและนวัตกรรม

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ครบรอบ 62 ปี พร้อมก้าวเข้าสู่ปี 63 ด้วยความมุ่งมั่นพัฒนาผลงานวิจัย เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคม พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่อไป

เข้าสู่ปีที่ 62 กับมิติใหม่ของ \"วช.\" ที่รุกพัฒนาไทยด้วยวิจัยและนวัตกรรม

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า เนื่องในโอกาส “วันคล้ายวันสถาปนาสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ครบรอบ 62 ปี” ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา วช. ได้มีบทบาทในการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการวิจัยของประเทศให้พัฒนาขึ้น สร้างฐานความรู้ที่มีคุณค่าสามารถประยุกต์และพัฒนาวิทยาการที่เหมาะสม รวมถึงการต่อยอดงานวิจัยให้เกิดประโยชน์ ทั้งในเชิงพาณิชย์และสาธารณะ นอกจากนี้ วช. มีภารกิจสำคัญเป็นหน่วยงานให้ทุนวิจัยหลักของประเทศ รวมถึง การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ NRIIS (National Research and Inter System) ที่สามารถบริหารจัดการทุนวิจัยในแบบออนไลน์ ได้ 100% และ วช. จัดทำมาตรฐานและจริยธรรมการวิจัย ให้เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและในระดับสากล 

กิจกรรม “วันคล้ายวันสถาปนาสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ครบรอบ 62 ปี” วช.ยังคงให้ความสำคัญในกิจกรรมการให้ความรู้ด้านการวิจัย และการถ่ายทอดเทคโนโลยี จึงจัดกิจกรรมดังนี้ กิจกรรมการเสวนาความสำคัญของระบบข้อมูลสารสนเทศ ด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมของประเทศและการเปิดให้บริการข้อมูลจากฐานข้อมูลกลางด้าน ววน. ของประเทศ นำโดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาภรณ์ เกียรติสิน หัวหน้าโครงการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

 

ทั้งนี้การบรรยายกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานและจริยธรรมการวิจัย โดย ดร.มาร์ค เจริญวงศ์ อัยการจังหวัดประจำสำนักอัยการสูงสุด กิจกรรม Research Knowledge Management : เรื่อง “การใช้ประโยชน์ไม้อย่างคุ้มค่า” และเรื่อง “เทคนิคการทำปุ๋ยหมักและการปลูกพืชครัว” กิจกรรม NRCT Talk : เรื่อง เซ็นเซอร์ฉลาดสำหรับตรวจวัดสารปนเปื้อนในอาหารและสิ่งแวดล้อม รางวัลการวิจัยแห่งชาติ รางวัลประดิษฐ์คิดค้น 2564 และเรื่อง ถุงตอนกิ่งสำหรับมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง รางวัลเหรียญทอง การประกวดเวทีนานาชาติ 

เข้าสู่ปีที่ 62 กับมิติใหม่ของ \"วช.\" ที่รุกพัฒนาไทยด้วยวิจัยและนวัตกรรม

 

สำหรับผู้ที่เข้าร่วมงานในครั้งนี้ ได้รับผลิตภัณฑ์ผลงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก วช. อาทิ ต้นกล้าฟ้าทะลายโจร ของ รองศาสตราจารย์ ดุสิต อธินุวัฒน์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, หน้ากาก N-Breeze M02 ของ ดร.วรส อินทะลันตา ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, น้ำมังคุดชิงธง ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง ,และนวัตกรรมผลิตภัณฑ์น้ำยาฆ่าเชื้อ ของ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

โดยกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อเผยแพร่ภารกิจ หน้าที่ ผลงานวิจัยและกิจกรรม วช. ต่อสาธารณชน และนำไปใช้ให้ประโยชน์ และสร้างความภาคภูมิใจให้นักวิจัย และนักวิชาการ พร้อมรำลึกถึงวันครบรอบ 62 ปี สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ทั้งนี้ได้มีการนำเสน  “นวัตกรรมเซนเซอร์ฉลาดสำหรับตรวจวัดสารปนเปื้อนในอาหารและสิ่งแวดล้อม”หนึ่งในนวัตกรรมที่ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับรางวัลประกาศเกียรติคุณ ประจำปี 2564

รองศาสตราจารย์ ดร.นภาพร ยังวิเศษ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต กล่าวว่า นวัตกรรมเซนเซอร์ฉลาดสำหรับตรวจวัดสารปนเปื้อนในอาหารและสิ่งแวดล้อม เป็นอุปกรณ์ตรวจวัดสารปนเปื้อน ซัลไฟด์ และไซยาไนด์ โดยอาศัยปฏิกิริยาเฉพาะเจาะจง และมีอุปกรณ์ sample holder ที่ออกแบบใหม่ เป็น "Novel Sample Holder" เพื่อหนีบกับสมาร์ทโฟน และใช้แอปพลิเคชั่นในการหาปริมาณสารในอาหาร นอกจากนี้ นวัตกรรมดังกล่าว ยังตรวจวัดปริมาณ

 

ซัลไฟต์ในอาหาร ตรวจวัดปริมาณไซยาไนด์ในน้ำดื่ม ตรวจวัดทีเอ็นทีในดิน รวมทั้งในเสื้อผ้า พื้นผิวต่าง ๆ และตรวจวัดไนไตรต์

 

ในตัวอย่าง ซึ่งจะเป็นเครื่องมืออย่างง่ายให้ผู้ประกอบการ หรือให้ผู้บริโภคใช้ตรวจสอบป้องกันสารอันตรายต่อร่างกาย โดยผลที่ได้เมื่อเทียบเคียงกับวิธีทดสอบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน สามารถให้ผลแม่นยำเช่นกัน 

การใช้งานของ “นวัตกรรมเซนเซอร์ฉลาดสำหรับตรวจวัดสารปนเปื้อนในอาหารและสิ่งแวดล้อม” นำเซนเซอร์ฉลาดที่ออกแบบไปหนีบบนสมาร์ทโฟนได้ทั้งแนวตั้งแนวขวาง กล้องอยู่ริมหรืออยู่กลางก็สามารถใช้งานได้ สามารถประมวลผลเป็นปริมาณสาร พร้อมชุดทดสอบสารต่าง ๆ บนแพลตฟอร์มของสำลีก้านเพื่อช่วยลดการรบกวนจากสารอื่น ๆ ในตัวอย่างโดยเฉพาะเมื่อใช้ร่วมกับเทคนิค headspace microextraction โดยสารที่สนใจถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแก๊สและขึ้นไปจับ

รีเอเจนต์เฉพาะในสำลีก้านที่แขวนเหนือสารตัวอย่าง และเมื่อนำไปใส่ใน sample holder ที่หนีบติดกับกล้องสมาร์ทโฟน จากนั้น แอปพลิเคชั่น จะถ่ายภาพและแปลงข้อมูลเป็นความเข้มข้น โดยเทียบกับกราฟมาตรฐานที่เก็บไว้ 

นอกจากนี้ ตัว sample holder มีจุดเด่นคือ สามารถใช้ได้กับสมาร์ทโฟนหลายรุ่น และหลายยี่ห้อ เนื่องจากออกแบบเป็นแบบหนีบมีขนาดเล็ก ตัว sample holder มีเลนส์ช่วยเพื่อลดระยะห่างระหว่างตัวอย่างที่ถ่ายกับกล้อง เพื่อทำให้อุปกรณ์มีขนาดเล็กลง มี LED white light เพื่อช่วยให้แสงในการถ่ายภาพ นอกจากนี้ sample holder ยังสามารถประยุกต์ใช้กับการถ่ายสารละลายใน cuvette โดยออกแบบที่ใส่ cuvette และ vial ไว้ด้วย

งานวิจัยคุณภาพจะเป็นทางเลือกให้เกษตรกร และภาคอุตสาหกรรมเกษตรนำไปใช้ช่วยยกระดับคุณภาพ ลดรายจ่าย และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งช่วยให้สินค้าเกษตรกรไทย เปิดโอกาสในตลาดโลก ลดปัญหาการกีดกันทางการค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ