“วราวุธ” ตั้งเป้ากำจัดขยะพลาสติก 100% ในปี 2570

“วราวุธ” ตั้งเป้ากำจัดขยะพลาสติก 100% ในปี 2570

“วราวุธ” ตั้งเป้ากำจัดขยะพลาสติก 100% ในปี 2570 ระดมพล 40 ผู้นำทางความคิดชั้นนำทั้งใน และต่างประเทศ ร่วมกับ ภาครัฐ เอกชน คนรุ่นใหม่ มหาวิทยาลัยชั้นนำ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม และสตาร์ตอัป มาร่วมคิด แชร์ และต่อยอดหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนสะท้อน

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดงาน GC Circular Living Symposium 2022 : Together to Net Zero ชวนคนรุ่นใหม่รวมพลังลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ การประชุมระดับนานาชาติที่รวมพลังขับเคลื่อนสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ เป็นปีที่ 3

 

ระดมพล 40 ผู้นำทางความคิดชั้นนำทั้งใน และต่างประเทศ ร่วมกับภาครัฐ และเอกชน คนรุ่นใหม่ มหาวิทยาลัยชั้นนำ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม และสตาร์ตอัป มาร่วมคิด แชร์ และต่อยอดหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

โดย นายวราวุธ กล่าวว่า วันนี้แสดงให้เห็นว่าภาคเอกชนของประเทศไทย มีการตื่นตัว และขับเคลื่อนกันอย่างมหาศาล ปตท.GC เป็นหนึ่งในผู้นำ และมีอีกหลายบริษัทขนาดในประเทศที่มีการขับเคลื่อน จะทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็น Supply Chain ต้นน้ำ-ปลายน้ำ เมื่อขยายวงไปแล้ว ผู้ผลิตทั้งหลายจะมีการปรับตัวตามกัน สิ่งต่อมาที่ภาครัฐจะต้องเร่งทำคือ การออกระเบียบกฎหมาย จากนี้ไปหากเราจะอยู่กับปัญหา Climate Change ได้นั้น จะต้องมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของพี่น้องประชาชนทุกคน
 

 

ดังนั้น วันนี้จึงเป็นเหตุให้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในทุกองคาพยพของกระทรวงได้ขับเคลื่อนกันอย่างเต็มที่ การสร้างความตื่นตัว สร้างความตระหนักรู้ และประสานความร่วมมือกับภาคเอกชนทั้งใน และต่างประเทศ เช่น การที่ไทยไปเซ็นสัญญากับทางสวิตเซอร์แลนด์ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิต และการสนับสนุนทางการเงิน ทำให้ กทม. สามารถปรับเปลี่ยนรถขนส่งมวลชน เป็นรถไฟฟ้า 100% สิ่งเหล่านี้เป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงภาพรวมประเทศไทยของรัฐบาล ที่มีความพยายามอย่างเต็มที่ ที่จะทำให้ประเทศไทยของเราเป็นผู้นำ ในการแก้ไขปัญหาเรื่อง Climate Change

“เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างภาคเอกชนที่มีงบประมาณ และความคล่องตัวในการดำเนินการสูง อย่างเช่นวันนี้ที่ ปตท.GC ได้ดำเนินให้เห็นว่าการนำวัสดุเหลือใช้ การลดปริมาณขยะพลาสติก มาแปรสภาพให้เป็นเฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้า เป็นสิ่งของที่สามารถใช้ได้ แสดงให้เห็นว่าเป็นการสอดคล้องกับโรดแมปที่ประเทศไทยต้องการกำจัดขยะพลาสติกให้ได้ 100% ภายในปี 2570” นายวราวุธ กล่าว

            ขณะที่ BCG ถือเป็นโมเดลเศรษฐกิจที่สำคัญที่รัฐบาลยึดใช้เป็นหลัก เพราะการที่จะกอบกู้เศรษฐกิจของประเทศหลังสถานการณ์โควิดนั้น จะต้องทำให้มีความยั่งยืน มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โควิด-19 เป็นตัวชี้วัดที่ดีที่จะทำให้มนุษย์กลับมาพิจารณาเศรษฐกิจหรือสิ่งที่ได้ทำในโลกใบนี้มีอายุยืนขึ้นหรือสั้นลง การจะส่งต่อสังคมนี้ให้กับลูกหลานในสภาพที่บอบช้ำเช่นนี้ หรือควรต้องดีกว่านี้ การนำเศรษฐกิจโมเดล BCG เข้ามา เป็นการตอกย้ำให้เห็นว่า เราต้องการส่งต่อสังคมที่ฟ้าใส น้ำสะอาด ให้กับลูกหลานต่อไป

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์