ศบค.เห็นชอบมาตรการเปิดเรียน on site อยู่ได้กับโควิด19

ศบค.เห็นชอบมาตรการเปิดเรียน on site อยู่ได้กับโควิด19

ศบค.เผยเด็กไทยติดโควิด19 ราว 21 % สถานศึกษาปิดเมื่อพบแห่งใกล้เคียงพบติดเชื้อ 9 %  เห็นชอบมาตรการเปิดเรียน on site อยู่ได้กับโควิด

เมื่อวันที่ 23 ก.พ.2565 ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศบค. แถลงภายหลังการประชุมศบค.ชุดใหญ่ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานว่า ศบค.เห็นชอบ มาตรการเปิดเรียน  On-Site เนื่องจากสถานการณ์การติดเชื้อในเด็กอายุ 0-19 ปี อยู่ที่ 21.9 %   ทั้งนี้ ผลการสำรวจการปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุของสถานศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 (ม.ค.-ก.พ.2565) ข้อมูล ณ 6 ก.พ.2565  พบว่า สถานศึกษาที่มีติดเชื้อยืนยัน 1 รายขึ้นไป แล้วปิดสถานศึกษา ถึง 28.7 %   ส่วนกรณีมีสถานศึกษาใกล้เคียงพบการติดเชื้อ แล้วสถานศึกษาอื่นปิดด้วย 9 %

มาตรการเปิดเรียน on site อยู่ได้กับโควิด กรณีนักเรียนมีความเสี่ยงและติดเชื้อโควิด-19 ในสถานศึกษา

1.โรงเรียนประจำ

-กรณีนักเรียน ครู หรือบุคลากรเป็น ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำเรียน on site ตามปกติ สังเกตอาการ และประเมิน TST

- กรณีนักเรียน ครู หรือบุคลากรเป็น ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง จัดการเรียน การสอน ปฏิบัติงาน ทำกิจกรรม ใน Quarantine zone ตามแนวทาง sand box safety zone in school เป็นเวลา 7 วัน และให้ติดตามสังเกตอาการอีก 3 วัน ,การตรวจคัดูกรองหาเชื้อ ถ้ามีอาการให้ตรวจทันที และให้ตรวจครั้งที่1 ในวันที่ 5-6 หลังสัมผัสผู้ติดเชื้อและตรวจครั้งสุดท้ายวันที่ 10 หลังสัมผัสผู้ติดเชื่อ ,สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม และประสานหน่วยบริการสาธารณสุขตามระบบอนามัยโรงเรียน

-กรณีนักเรียน ครู หรือบุคลากรเป็น ผู้ติดเชื้อ พิจารณาร่วมกับ หน่วยบริการสาธารณสุข หรือ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด จัดทำ school isolation ตามแนวทาง sand box safety zone,สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม เน้นการระบายอากาศ และ กำกับติดตาม มาตรการส่วนบุคคลชั้นสูงสุด

2.โรงเรียน ไป-กลับ

-กรณีนักเรียน ครู หรือบุคลากรเป็น ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำเรียน on site ตามปกติ สังเกตอาการ และประเมิน TST

- กรณีนักเรียน ครู หรือบุคลากรเป็น ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง แยกกักตัวที่บ้าน หรือ สถานที่ตามคำแนะนำของหน่วยบริการสาธารณสุข เป็นเวลา 7 วัน และให้ติดตามสังเกตอาการอีก 3 วัน ,การตรวจคัดกรองหาเชื้อ ถ้ามีอาการให้ตรวจทันที และให้ ตรวจครั้งที่1 ในวันที่ 5-6 หลังสัมผัสผู้ติดเชื้อ และตรวจครั้งสุดท้ายวันที่ 10 หลังสัมผัสผู้ติดเชื้อ ,สถานศึกษา จัดการเรียนการสอน ที่เหมาะสม และประสานหน่วยบริการสาธารณสุขตามระบบอนามัยโรงเรียน

-กรณีนักเรียน ครู หรือบุคลากรเป็นผู้ติดเชื้อ ปฏิบัติตามมาตรการ การรักษา ของกระทรวงสาธารณสุข ,พิจารณาจัดทำ school isolation ตามความเหมาะสม โดยคณะกรรมการโรงเรียน หน่วยงานสาธารณสุข ผู้ปกครอง ชุมชน พิจารณาร่วมกันให้ความเห็นชอบ และปฏิบัติตามมาตรการ SSร ,สถานศึกษาจัดรูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสม โดยเฉพาะ กลุ่มที่ไม่มีอาการ
 

3.มาตรการเปิดเรียน on site อยู่ได้กับโควิดในการสอบ กรณี สัมผัสเสี่ยงสูง และติดเชื้อโควิด-19 ในสถานที่สอบในการสอบ

- สถานที่จัดสอบ ประสานหน่วยบริการสาธารณสุขตามระบบอนามัยโรงเรียน ในการคัดกรอง และให้คำแนะนำด้านสาธารณสุข เพื่อความปลอดภัยขั้นสูงสุดจัด ให้มี พื้นที่ แยกสำหรับจัดการสอบเป็นสัดส่วน แยกกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง กลุ่มผู้ติดเซื้อ เน้นการระบายอากาศที่ดี จัดที่นั่งสอบมี ระยะห่างไม่น้อยกว่า 2 เมตร

-ผู้เข้าสอบ เป็นผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ หรือ อาการเล็กน้อย หรือผู้สัมผัสเสี่ยงสูง,ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือก่อนและหลังการเข้าสอบ งดการพูดคุย เว้นระยะห่าง ,การเดินทางไปสนามสอบโดยรถยนต์ส่วนตัว หรือประสานหน่วยสถานที่สอบ หน่วยบริการสาธารณสุขกรณีไม่มีรถยนต์ส่วนตัว

- ผู้คุมสอบ ปฏิบัติการคุมสอบตามมาตราฐานการป้องกันการติดเชื้อสำหรับบุคลากรด้านสาธารณสุข เช่น การใส่หน้ากากอนามัยใช้เวลาในการคุมสอบในห้องสอบให้น้อยที่สุด รวมถึงการวางแผนจัดการสอบให้เหมาะสม