เจาะข้อมูลผู้เสียชีวิตโควิด19 คนแก่68%ไม่ได้รับ-รับวัคซีนไม่ครบ

เจาะข้อมูลผู้เสียชีวิตโควิด19  คนแก่68%ไม่ได้รับ-รับวัคซีนไม่ครบ

เจาะข้อมูลผู้เสียชีวิตโควิด19 ระลอกโอมิครอนในไทย กลุ่มผู้สูงอายุ 82 % ไม่ได้รับ-รับวัคซีนโควิด19ไม่ครบ 68 %  เดือนมี.ค.เร่งแผนฉีด กลุ่มเป้าหมาย 


     เมื่อวันที่ 23 ก.พ.2565 ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศบค. แถลงภายหลังการประชุมศบค.ชุดใหญ่ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานว่า ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค จากวันที่ 1 ม.ค. - 18 ก.พ. 2565 พบผู้เสียชีวิตจากการติดโควิด19 เป็นผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี เป็นจำนวน 666 คน (คิดเป็น82% ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด)

เมื่อแยกประเภทตามประวัติการได้รับวัคซีน พบว่า

1) ไม่มีประวัติการฉีดวัคซีน จำนวน 387 คน ( 58.2 %)

2) มีประวัติรับวัคซีน 1 เข็ม จำนวน 66 คน ( 9.9%)

3) มีประวัติรับวัคซีน 2 เข็ม จำนวน 197 คน (29.5%)

4) มีประวัติวัคซีน 3 เข็มขึ้นไป จำนวน 16 คน ( 2.4%)

ㆍ ควรเร่งรัดการฉีดวัคชีนทั้งเข็มที่ 1 เข็มที่ 2 และเข็มกระตุ้นในผู้สูงอายุที่ครบระยะเวลาฉีด

ภายในเดือนมีนาคม 2565

แนวทางการค้นหากลุ่มผู้สูงอายุให้เข้ารับการบริการการฉีดวัคซีนโควิด 19
ตัวอย่างจังหวัดสกลนคร

(ได้รับรางวัลจังหวัดที่มีความครอบคลุมการฉีดวัคซีน ในประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงที่สุด ปี 2564)
ㆍให้บริการเชิงรับ ในสถานบริการทุกแห่ง

ㆍเปิดจุดฉีดนอกสถานพยาบาลในทุกหมู่บ้าน

ㆍ ออกเคาะประตูบ้าน รณรงค์ ให้บริการในกลุ่มที่เข้าถึง สถานบริการลำบาก

จังหวัดชลบุรี(ได้รับรางวัลจังหวัดที่มีความครอบคลุมการฉีดวัคซีนในประชากรสูงที่สุด ปี 2564)
ㆍ จัดทำรายชื่อผู้สงอายุทุกคนในพื้นที่และค้นหาให้พบ
ㆍบูรณาการกับกระทรวงมหาดไทยและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อช่วยกันเกลี้ยกล่อมกลุ่มเป้าหมายให้เข้ารับวัคซีน

ㆍมีการเตรียมวัคซึนไว้พร้อมในทุกพื้นที่ หากมีการเปลี่ยนใจยินยอมรับวัคซีน ให้ฉีดทันที

 

แผนการบริหารจัดการวัคซีนเพื่ออำนวยความสะดวกในการเช้าถึงวัคซีนของประชาชน และการเร่งรัดการฉีดวัคซีนในผู้สูงอายุ

   รูปแบบการดำเนินงาน

  • ร่วมมีอกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินการค้นหาและเร่งรัดให้ประชาชน/ผู้สูงอายุเข้ารับบริการฉีดวัคซีนโควิด 19
  • ให้ประชาชนสามารถเข้ารับการฉีดวัดนแบบ walk-in ได้ตามสถานพยาบาลที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานคร กำหนดไว้
  • ส่งเสริมให้ รพ.สต. หรือสถานพยาบาลอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานครเห็นสมควร ให้บริการฉีดวัคซีนโควิต 19 ตามมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้
  • ให้ทุก รพ.สต. มีวัคซีนคงคลังเพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการประชาชน และสามารถปิดฉีดวัคซีนได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้มีผู้รับวัคจีนครบจำนวนตามโตสสูงสุดที่สามารถฉีดได้ในแต่ละขวดวัคขืน

รูปแบบในการให้บริการของ รพ.สต. เพื่อบริการประชาชนในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย

-การให้บริการเชิงรุก

-การให้บริการในสถานที่ที่ใกล้ที่พักอาศัย

-การให้บริการในสถานที่ประกอบการ

-การให้บริการในแหล่งชุมชน
       ผลการให้บริการวัคซีนโควิด 19  ตั้งแต่ 28 ก.พ. 2564 - 22 ก.พ. 2565 เวลา 18:00 น. ฉีดสะสม จำนวน 122.2 ล้านโดส จำนวนผู้ได้รับ เข็มที่ 1 สะสม 53.2 ล้านโดส   คิดเป็น 76.5 % จำนวนผู้ได้รับ เข็มที่ 2 สะสม 49.5 ล้านโดส  คิดเป็น  71.2% จำนวนผู้ได้รับเข็มกระตุ้นสะสม 19.4 ล้านโดส คิดเป็น 27.9 % จำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศไทย จำนวน 69.5 ล้านคน ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 22 ก.พ. 2565 ฉีดวัคซีนได้ 17.8 ล้านโดส

      กลุ่มเป้าหมายหลัก  ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป  จำนวนเป้าหมาย 12.7 ล้านคน  เข็มที่ 1 จำนวน 10.65 ล้านคน  ครอบคลุม 82.7 %  ผู้ที่มีอายุ 5 - 11 ปี จำนวนเป้าหมาย 5.1 ล้านคน เข็มที่ 1 จำนวน 0.46  ล้านคน ครอบคลุม 8.8 %

       แผนการให้บริการวัคซีนโควิด 19 ของประเทศไทย ปี 2565  หลักการสำคัญ ดังนี้

ㆍเพื่อให้ประชากรทุกคนในแผ่นดินไทย ได้รับวัคซีนด้วยความสมัครใจและครอบคลุม

  ㆍ เพื่อเตรียมการรองรับการระบาดรวมถึงเชื้อกลายพันธุ์

ㆍ เพื่อลดความรุนแรงและการเสียชีวิตในประชากรทุกกลุ่มอายุ

ㆍเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ภาคธุรกิจ ภาคการศึกษา การท่องเที่ยว และการเปิดประเทศ ตามแผนที่กำหนด
 

เป้าหมายการให้บริการวัคซีนโควิด 19 ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2565 ดังนี้

ㆍ กลุ่มเป้าหมายอายุ 12 ปีขึ้นไป ที่ยังไม่เคยรับการฉีดวัคซีน สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนแบบ walk-in ได้ตามสถานพยาบาลที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานครกำหนดไว้

* ผู้ที่ฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ หรือผู้ที่ติดเชื้อโควิด 19 สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้

ㆍ กลุ่มเป้าหมายอายุ 5-11 ปี ได้รับการฉีดวัคซีนได้ตามความสมัครใจของเด็กและผู้ปกครอง


แผนการบริหารจัดการวัคซีนนโควิด 19 ในเดือนมีนาคม 2565

-  ผู้ที่อายุ 18 ปีขึ้นไป ที่ไม่เคยได้รับวัคซีน (เข็ม 1 และ 2) สูตรวัคซีน AstraZeneca – AstraZeneca / AstraZeneca -Pfizer จำนวนวัคซีน  AstraZeneca r 0.2 ล้านโดส Pfizer 0.2 ล้านโดส

- ผู้ที่อายุ 12-17 ปี ที่ไม่เคยได้รับวัคซีน (เข็ม 1 และ 2) สูตร Pfizer-Pfizer (ฝาม่วง) จำนวน

0.1 ล้านโดส

-เด็กอายุ 5-11 ปี ที่มี 7 กลุ่มโรคเรื้อรังและนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และถัดลงมาตามชั้นปี (เข็ม 1) สูตรวัคซีน Pfizer-Pfizer (ฝาส้ม) /Sinovac-Pfizer / Sinovac-Sinovac-Pfizer จำนวนวัคซีน Pfizer 1 ล้านโดส  Sinovac 0.5 ล้านโดส 

-เข็มกระตุ้นในผู้ที่ได้รับวัคชีนครบตามเกณฑ์ สูตรวัคซีน Sinovac-AstraZeneca-AstraZeneca

AstraZeneca-AstraZeneca-Pfizer จำนวนวัคซีน AstraZeneca 5 ล้านโดส  Pfizer 2 ล้านโดส

-เข็มกระตุ้นในผู้ที่เคยติดเชื้อ วัคซีน  AstraZeneca จำนวน 0.2 ล้านโดส

   รวมทั้งสิ้น 9.2 ล้านโดส

แผนการบริหารจัดการวัคซีนโควิด 19 ในกลุ่มเด็กอายุ 5-11 ปี ของประเทศไทย เดือนมีนาคม 2565

ㆍแต่ละจังหวัดจะได้รับการจัดสรรวัคซีน Pfizer (ฝาสัม) เป็นสัดส่วนร้อยละ 5.1 ของจำนวนวัคซีนที่กรมควบคุมโรคได้รับมอบจากบริษัทผู้ผลิตในแต่ละสัปดาห์ (กรมการแพทย์ใด้รับจัดสรรเป็นจำนวนคงที่ 30,000 โดส/สัปดาห์)

ㆍขอให้ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานคร บริหารจัดการวัคซีน Pfizer (ฝ่าสีส้ม) ดังนี้

-วัคซีนสูตร Pizer-Pfizer สำหรับฉีดเด็กสุขภาพปกติ ให้บริการผ่านระบบสถานศึกษาเท่านั้น โดยเริ่มที่นักเรียนชั้น ป.6 และถัดลงไปตามลำดับ

-วัคซีนสูตร Sinovac-Pfizer ให้จัดช่องทางการลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับประชาชน

-ให้บริหารจัดการวัคซีน Pfizer (ฝาสีสัม) ให้กับกลุ่มเป้าหมาย ภายใต้จำนวนวัคซีนที่ได้รับการจัดสรรและวัคนที่มีอยู่ในพื้นที่ โดยจัดลำดับความสำคัญให้กลุ่มเป้าหมาย ดังนี้

1) เข็มที่ 1 และ 2 ในกลุ่มเด็กอายุ 5-11 ปีที่มี 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง

2) ผู้ที่มีนัดเข็มที่ 2 ของทุกสูตร

3) เข็มที่ 1 ของสูตร Pfizer-Pizer เริ่มที่นักเรียนชั้น ป.6 จนครบแล้ว จึงฉีดในขั้นปีถัดลงไปตามลำดับ

4) เข็มกระตุ้นในเด็กที่มีประวัติการฉีดวัคนเชื้อตายครบ 2 เข็ม โดยมีระยะห่างอย่างน้อย 4 สัปดาห์ขึ้นไป หลังเข็มที่ 2
 

สูตรที่ 1 Pfizer-Pfizer (ฝาสีส้ม) ระยะห่างระหว่างเข็ม 8 สัปดาห์ ใหบริการระบบสถานศึกษา ระบบสถานพยาบาลเฉพาะเด็กป่วย 7 กลุ่มโรคและเด็กตกค้าง 

สูตรที่ 2 Sinovac-Pfizer (ฝ่าสีส้ม)  และสูตรที่ 3 Sinovac-Sinovac ระยะห่างระหว่างเข็ม 4 สัปดาห์ สามารถลงทะเบียนเข้ารับวัคซีนล่วงหน้ากับสถานพยาบาลที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม. กำหนดไว้โดยสามารถเลือกสูตรได้ตามความสมัครใจ

ผู้ที่ได้รับวัคขืน Sinovac 2 เข็ม (หรือวัคซีน Sinopharm) แนะนำให้รับการกระตุ้นด้วยวัคซีน Pfizer 1 เข็ม (ขนาดตามช่วงอายุของผู้รับวัคซีน) โดยมีระยะห่างอย่างน้อย 4 สัปดาห์ขึ้นไป หลังเข็มที่ 2