วัคซีนโควิด19 ไทยทำ คาดเร็วสุดได้ใช้ปลายปี 65

วัคซีนโควิด19 ไทยทำ คาดเร็วสุดได้ใช้ปลายปี 65

ส่องความคืบหน้าวิจัยวัคซีนโควิด19 ไทยทำ เปิดข้อมูล 4 ชนิดคืบหน้าที่สุด  อยู่ขั้นทดลองในคนระยะ 2 คาดเร็วสุดได้ใช้ปลายปี 65

 เมื่อวันที่ 23 ก.พ.2565 ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศบค. แถลงภายหลังการประชุมศบค.ชุดใหญ่ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานว่า  ในการประชุม ศบค. มีการรายงานความคืบหน้า การศึกษาวิจัยวัคซีนโควิด19 ที่ดำเนินการในประเทศไทยซึ่งมีความคืบหน้าในหลายชนิด 

วัคซีน 4 ชนิดที่มีความคืบหน้ามากที่สุด

1.วัคซีน Chula-Cov19  ชนิด mRNA ความคืบหน้าการทดสอบในมนุษย์ ระยะที่ 2 รัฐบาลสนับสนุน  2,715.59 ล้านบาท  
ผลการวิจัยและพัฒนา
ระยะที่ 1 : อาสาสมัคร 72 คน อาย 18-75 ปี วัคชีนกระตุ้นภูมิได้ดี
ระยะที่ 2 : อาสาสมัคร 120 คน สามารถกระตุ้น ระดับภูมิคุ้มกันได้สูงมากกว่าวัคชีนคู่เทียบกว่า 2.5 เท่าและมากกว่าผู้ติดเชื้อ
คาดว่าจะทดสอบระยะที่ 3 เสร็จภายใน ส.ค.2565
จุดเด่น
-ผลิตได้เร็ว
-ไม่ต้องใช้โรงงานขนาดใหญ่
-ยืดหยุ่นสูงในการเก็บและบริหารวัคชีน
การผลิตในประเทศ พร้อมผลิต
เป้าหมาย  คาดว่จะขึ้นกะเบียนได้กายในลิ้มปี 65 และ เตรียมการผลิตหลักล้านโดสในขั้นต่อไป

2.วัคซีน HXP-GPOVac ชนิด Inactivated ความคืบหน้าการทดสอบในมนุษย์ ระยะที่ 2 รัฐบาลสนับสนุน 434.56 ล้านบาท
ผลการวิจัยและพัฒนา
ระยะที่ 1 : อาสาสมัคร 210 คน อายุ 18-59 ปี วัคซีนทุกขนาดที่ทดลอบมีความปลอดภัยและกระตุ้นภูมิได้ดี
ระยะที่ 2 : อาสาสมัคร 250 คน อายุ 18-75 ปี วัคซีนมีความปลอดภัยและกระตุ้นภูมิได้ดี
คาดว่าจะทดสอบระยะที่ 3 ในใตรมาสแรกปี 65

จุดเด่น

- โรงงานของ อก.มีความพร้อมผลิต ไม่ต้องลงทุนสร้างใหม่
- ได้รับความร่วมมือจากองค์กรมานาชาติ PATH

การผลิตในประเทศ พร้อมผลิต

เป้าหมาย  คาดว่าจะขึ้นทะเบียนได้ในใตรมาส 3 ปี 65 และสามารถใช้ได้ภายในปลายปี 65 ตั้งเป้าผลิตได้ประมาณ 10-20 ล้านโดสต่อปี


3. วัคซีน Baiya SARS-CoV-2 Vax   ชนิด Protein subunit จากใบยาสูบ รัฐสนับสนุนงบประมาณ 1,469 ล้านบาท

ผลการวิจัยและพัฒนา

ระยะที่ 1 : อาสาสมัคร 48 คน อาย 18-60 ปี วัคซีนปลอดภัยดีในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ แต่ผลการ

กระตุ้นภูมิคุ้มกันยังไม่น่าพอใจ (น่ำไปสู่การพัฒนา วัคซีนรุ่น 2)

จุดเด่น สถานที่ผลิตวัคซึนและยาชีววัตถุโดยใช้พืชสำหรับมนุษย์แห่งแรกของเอเชีย

การผลิตในประเทศ พร้อมผลิต
คาดว่าจะขึ้นทะเบียนได้ใครมาส 3-4 ปี 65 กำลังการผลิต 1-5 ล้านโดส/เดือน และสูงสุด 60 ล้านโดส/ปี


และ4.วัคซีน Covigen ชนิด  DNA รัฐสนับสนุนงบประมาณ 650 ล้านบาท

ผลการวิจัยและพัฒนา อยู่ระหว่างการทตสอบทางคลินิกระยะที่ 1 และ 2 ในประเทศไทย

จุดเด่น เป็นวัคซีนทางเลือกแบบไร้เข็ม

เป้าหมาย คาดว่าจะขึ้นทะเบียนได้ภายในปี 65