เปิดเทอม! ยุคโควิดระลอกห้า สถานศึกษาควรเปิดเรียน รับมือโอมิครอน

เปิดเทอม! ยุคโควิดระลอกห้า สถานศึกษาควรเปิดเรียน รับมือโอมิครอน

เปิดเทอมนี้! ควรเปิดเรียน On-site ให้เด็กได้มาเรียนในสถานศึกษา เชื่อ 6 มาตรการเข้ม 6 มาตรการเสริม 7 มาตรการเข้ม ควบคู่เร่งฉีดวัคซีนแก่ครู นักเรียน สวมเสื้อเกราะป้องกัน สร้างความปลอดภัย รับมือโอมิครอนได้

จากการติดตามในหลายประเทศ พบว่า อัตราการป่วยนอนโรงพยาบาลของผู้ที่ติดเชื้อโอมิครอน ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปีมีเป็นจำนวนมาก สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา (AAP) ระบุว่า การแพร่ระบาดรุนแรงของโอมิครอน ในสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ล้มป่วยเพิ่มมากขึ้น และ 50 % ของเด็กที่ป่วยจากโควิดเข้าโรงพยาบาล มีอาการรุนแรงจนต้องรักษาในห้อง ICU หรือ ห้องดูแลผู้ป่วยหนัก

เปิดเทอม! ยุคโควิดระลอกห้า สถานศึกษาควรเปิดเรียน รับมือโอมิครอน

สำหรับการระบาดของ โควิด-19 ในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวล เพราะแม้ขณะนี้มีการฉีดวัคซีนให้แก่เด็กช่วงอายุ 12-18 ปี และได้มีการอนุมัติให้ฉีดวัคซีนในเด็กช่วงวัย 5-11 ปี นี้ แต่เด็กๆส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนได้อย่างครอบคลุม

 

  • เปิดโรงเรียนป้องกันโอมิครอน

วานนี้ (10ม.ค.2565) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดเสวนา “โอมิครอนร้ายจริงหรือ..ถึงต้องปิดโรงเรียน” โดย ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวว่าปัจจุบันมีความชัดเจนในการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19มากขึ้น โดยมีการฉีดวัคซีนให้แก่ครูได้ 99% มีการผลักดันให้เด็กนักเรียนกลุ่มอายุ 12-18 ปี กว่า 5 ล้านคน ได้ฉีดวัคซีนเข็ม1 แล้ว 4.3 ล้านคน หรือ กว่า 94% ขณะเดียวกันกระทรวงสาธารณสุข ได้มีการอนุมัติให้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์แก่เด็กอายุ 5-11 ปี รวมถึงมีการออก 6 มาตรการหลัก 6 มาตรการเสริม และ 7 มาตรการเข้ม

ตอนนี้สถานศึกษามีความปลอดภัยแก่เด็ก โดยมีโรงเรียนที่เปิดการเรียนการสอน On-site จำนวน 18,672 โรงเรียน หรือ53.09% จากโรงเรียน3 หมื่นกว่าโรง และมีผู้ทรงคุณวุฒิจากกระทรวงสาธารณสุข ได้เข้ามาทำความเข้าใจต่อผู้บริหารกระทรวง ผู้ปกครอง และหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้สามารถจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาได้

เปิดเทอม! ยุคโควิดระลอกห้า สถานศึกษาควรเปิดเรียน รับมือโอมิครอน

การเรียนการสอนในช่วงก่อนหน้านี้ซึ่งมี 5 รูปแบบ และเด็กส่วนใหญ่เรียน On-line พบว่าเด็กๆ สูญเสียกระบวนการเรียนรู้ เพราะอยู่หน้าจอตลอดเวลา และค้นพบว่าการเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือให้เด็กมาเรียนในสถานศึกษา หรือ On-site โดยสถานศึกษาที่จะเปิด On-site ได้นั้น จะต้องผ่านการประเมินจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดในแต่ละพื้นที่ตำบล อำเภอ จังหวัด และต้องเป็นพื้นที่ไม่มีการแพร่ระบาดรุนแรง

 

  • ขอความร่วมมือการ์ดอย่าตก ฉีดวัคซีนให้ครบ

“ศธ.ได้มีการทำความเข้าใจกับผู้บริหารกระทรวง และผู้บริหารสถานศึกษาให้ดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด ยึดมาตรการป้องกันโควิด แผนการเผชิญเหตุถ้ามีการติดหรือแพร่ระบาดเกิดขึ้น โดยจะต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว ทันถ่วงที และจะเร่งสำรวจถึงความต้องการในการฉีดวัคซีนของเด็ก ดังนั้น ขอความร่วมมือทุกคนการ์ดอย่าตก ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่าง และหลีกเลี่ยงสถานที่เสี่ยง” ตรีนุช กล่าว

  • “โอมิครอน” แพร่เร็วไม่รุนแรง

รศ.(พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ นายกสมาคมโรคติดเชื้อเด็กแห่งประเทศไทย กล่าวว่าโควิด-19 สายพันธุ์ โอมิครอน ร้ายจริงหรือเปล่าไม่รู้ แต่ทุกคนไม่รอด เชื้อมาโจมตีอย่างแน่นอน เพราะโอมิครอนมีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วกว่าเดลตา 4-5 เท่า และต่อให้ความรุนแรงของโรคไม่ได้รุนแรงเท่าเดลตา แต่กลุ่มคนที่ไม่มีเสื้อเกราะ หรือไม่ได้ฉีดวัคซีน ไม่ได้ฉีดบูสเตอร์ และคนที่มีโรคประจำตัว หากติดเชื้อโอมิครอนมีความรุนแรงอย่างแน่นอน

เปิดเทอม! ยุคโควิดระลอกห้า สถานศึกษาควรเปิดเรียน รับมือโอมิครอน

อย่างไรก็ตาม เชื้อไวรัสจะมีการปรับตัวให้อ่อนลงแต่ไปได้ทุกที่ไปได้ทุกคน เพราะตามหลักธรรมชาติของไวรัส มันคงไม่ได้ทำลายล้างมนุษย์ เนื่องจากหากมนุษย์ไม่มีอยู่ไวรัสก็อยู่ไม่ได้ ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ คนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนจะมีโอกาสนอนโรงพยาบาลมาก

  • เร่งฉีดวัคซีน สวมเสื้อเกราะให้เด็ก

รศ.(พิเศษ)นพ.ทวี กล่าวต่อว่าหากไม่ได้ฉีดวัคซีน หรือไม่ได้ฉีดเข็มบูสเตอร์ กลุ่มผู้มีโรคประจำตัว ทุกคนมีความเสี่ยง ดังนั้น ควรได้รับวัคซีน และต้องใส่หน้ากากเพื่อป้องกันโรค ส่วนมาตรการป้องกันโควิด-19 ในเด็ก หากศธ.อยากให้เปิดสถานศึกษาควรใจกล้าเปิด กลุ่มที่จะเปิดและมีความเสี่ยงต่ำ คือ กลุ่มที่เด็กอายุมากกว่า 12 ปี ซึ่งหากมองในแง่ดี เชื้อโอมิครอนเป็นเชื้ออ่อนแรงก็เหมือนกันวัคซีนธรรมชาติ หากเด็กฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มเมื่อติดเชื้อตัวนี้ซึ่งอ่อนแรกก็ไม่ได้แสดงอาการ ก็เหมือนวัคซีนธรรมชาติที่หายเองก็ทำให้เด็กมีภูมิคุ้มกัน

 ขณะที่กลุ่ม 5-11ปี เด็กชั้นประถมลงมา การป้องกันโดยใส่หน้ากากเป็นไปได้ยาก จึงต้องใส่เสื้อเกราะ ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้แก่เด็ก ผู้ปกครองควรให้ฉีด หาเสื้อเกราะให้แก่เด็ก เพราะตอนนี้ทำอะไรไม่ได้ ก็ควรจะฉีดบุคคลแวดล้อมเด็ก ส่วนกลุ่มเด็กต่ำกว่า 5 ขวบ ตอนนี้ยังไม่มีการศึกษา ยกเว้นซิโนแวคซิโนฟาร์ม ที่มีการศึกษาและได้ฉีดให้แก่เด็กแล้ว 

เปิดเทอม! ยุคโควิดระลอกห้า สถานศึกษาควรเปิดเรียน รับมือโอมิครอน

นอกจากนั้น หากใครกังวลเรื่องเดลมิครอน เชื่อว่ามาแน่ เพราะเชื้อเหล่านี้กลายพันธุ์เพื่อความอยู่รอด ขอให้ทุกคนป้องกันตัวเอง โดยเฉพาะการสวมใส่หน้ากากอนามัย 

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าจุดสิ้นสุดโควิด-19 คล้ายกับไข้หวัดใหญ่ ซึ่งขณะนี้มีหลายบริษัทยา ได้มีการศึกษาวัคซีนไข้หวัดใหญ่และโควิดให้อยู่ในตัวเดียวกัน อนาคตอาจจะมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ร่วมกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่

  • ทุกฝ่ายร่วมมือ เปิดโรงเรียน

ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า เมื่อเกิดสถานการณ์โควิด-19 หากโรงเรียนไหน และพื้นที่ไม่มีการระบาด อยากให้เปิดเรียน โดยต้องปฎิบัติตาม 6 มาตรการหลัก 6 มาตรการเสริม และ 7 มาตรการเข้ม จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม และเมื่อมีการเปิดแล้ว ผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู และผู้ปกครอง ต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย โดยเฉพาะผู้ปกครองต้องปฎิบัติตนอย่างไร การเดินทางอย่างไรไม่ให้เกิดการติดเชื้อ และโรงเรียนต้องมีมาตรการคัดกรอง รวมถึงอยากให้ทุกคนฉีดวัคซีนให้มากที่สุดในเด็กม.1-ม.6 ให้ฉีดวัคซีนมากกว่า 90 %

เปิดเทอม! ยุคโควิดระลอกห้า สถานศึกษาควรเปิดเรียน รับมือโอมิครอน

“หากมีการติดเชื้อในโรงเรียนไม่กี่คน ควรตรวจสอบเส้นทางการติดเชื้อของเด็ก กลุ่มไหนมีความเสี่ยงสูง เสี่ยงต่ำ ซึ่งส่วนใหญ่จะติดมาจากครอบครัว และติดกันไม่กี่คน ดังนั้น ตอนนี้มาตรการมีความเข้มข้น และปลอดภัย และขอให้ทุกคนตั้งเป้าหมายเดียวกัน เปิดOn-site ให้ได้ ครู นักเรียนได้รับการฉีดวัคซีน และควรพิจารณาตามพื้นที่ของแต่ละจังหวัดในการปฎิบัติ จะเปิดหรือปิดโรงเรียนดร.อัมพร กล่าว

  • ไม่ควรปิดโรงเรียน เน้นมาตรการป้องกัน

นพ.ทรงเกียรติ อุดมพรวัฒนะ Admin Facebook จากเพจดัง “Infectious ง่ายนิดเดียว” กล่าวว่าโดยส่วนตัวมองว่าหากมีการติดเชื้อโควิด-19 ในโรงเรียน ไม่ควรปิดโรงเรียน เพราะหากทุกคนป้องกันตัวเองดี สวมหน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่างก็ไม่สามารถมีการติดเชื้อได้ ซึ่งทุกคนไม่สามารถหนีพ้นโควิด-19 ได้ก็ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับโควิด ดังนั้น ผู้ปกครองต้องเชื่อมั่นและโรงเรียนต้องปฎิบัติตามมาตรการเปิดโรงเรียน ทั้ง 6 มาตรการหลัก 6 มาตรการเสริม และ 7 มาตรการเข้ม อย่างเคร่งครัด

“เมื่อพบเด็กป่วยในโรงเรียน ควรเปลี่ยน mindset ครู หู้ปกครอง อยู่ร่วมกัน ไม่ให้เกิดคลัสเตอร์ เมื่อหายนำเด็กมาฉีดวัควีน เมื่อหายให้เฝ้าระวังวินิจฉัย MIS-C แนะนำ MIS-C หลังป่วย แนะนำการป้องกัน ATK ฝึกให้เป็นนิสัย DMHTT ,VUCA ซึ่งกุมารแพทย์ แนะนำการป้องกันตั้งแต่ต้นน้ำ ไม่ติดโควิด ต้องมีการฉีดวัคซีนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ รวมถึงฉีดวัคซีนตัวอื่นๆ ที่จำเป็น เช่น ไข้หวัดใหญ่”นพ.ทรงเกียรติ กล่าว