ศบค. แจง ดญ. 12 ปีฉีด "ไฟเซอร์" เข้า ICU ไม่ได้เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

ศบค. แจง ดญ. 12 ปีฉีด "ไฟเซอร์" เข้า ICU ไม่ได้เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

ศบค. แจง เด็กหญิงอายุ 12 ปี ฉีดวัคซีน "ไฟเซอร์" มีอาการแน่นหน้าอก หอบเหนื่อย เข้าไอซียู ผลพบว่าอาการดังกล่าวไม่ได้มาจากอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตอนนี้เด็กอาการดีขึ้นแล้ว ขณะที่ นักเรียนนักศึกษา 12 - 17 ปี ฉีดวัคซีนไปแล้วเข็มแรก 55.4%  

วันนี้ (3 พ.ย. 64) ที่ทำเนียบรัฐบาล “พญ.สุมนี วัชรสินธุ์” ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึง กรณี เด็กหญิงอายุ 12 ปี หลังจากได้รับการฉีดวัคซีน "ไฟเซอร์" มีอาการแน่นหน้าอก หอบเหนื่อย ขณะนี้ ได้รับการรักษาแล้วที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

 

"ผลพบว่าอาการดังกล่าวไม่ได้มาจากอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบตามที่เป็นข่าว ทั้งนี้ เด็กรายนี้อาการดีขึ้นแล้ว และต้องขอย้ำว่าวัคซีนทีได้นำมาใช้ที่ประเทศไทยทุกตัว มีความปลอดภัย และได้รับการรับรองจาก WHO"

 

ศบค. แจง ดญ. 12 ปีฉีด \"ไฟเซอร์\" เข้า ICU ไม่ได้เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

 

  • ไทยฉีดวัคซีนแล้ว 77 ล้านโดส 

 

สำหรับ รายงานการฉีด “วัคซีนโควิด-19” จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. - 2 พ.ย. 2564) รวม 77,014,092 โดส ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น

 

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 42,815,600 ราย

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 31,730,365 ราย

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 2,468,127 ราย

 

  • ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 2 พฤศจิกายน 2564

 

ยอดฉีดทั่วประเทศ 787,976 โดส

เข็มที่ 1 : 267,117 ราย

เข็มที่ 2 : 485,778 ราย

เข็มที่ 3 : 35,081 ราย

 

ศบค. แจง ดญ. 12 ปีฉีด \"ไฟเซอร์\" เข้า ICU ไม่ได้เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

  • นักเรียนฉีดวัคซีน อย่างน้อย 1 เข็ม 55.4%  

 

สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มีการฉีดวัคซีนครอบคลุมอย่างน้อย 1 เข็ม ได้แก่

 

กลุ่มสูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 64.6%

กลุ่ม 7 โรคเรื้อรัง 69.3% 

นักเรียน นักศึกษา 12 - 17 ปีขึ้นไป 55.4%

หญิงตั้งครรภ์  16.4% 

 

ศบค. แจง ดญ. 12 ปีฉีด \"ไฟเซอร์\" เข้า ICU ไม่ได้เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

 

"ขณะนี้ มีหลายโรงเรียนที่เปิดเทอมและมีการเรียน On site หรือสลับเรียนออนไลน์ มีการจัดการเรียนการสอน เพื่อขับเคลื่อนระบบการศึกษาให้ต่อไปได้ แต่อย่างไรก็ตาม ทั้ง สธ. และ ศบค. มีความเป็นห่วงกรณีที่เด็กๆ กลับบ้าน ที่อาศัยอยู่ร่วมกับผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว ต้องปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด รีบอาบน้ำก่อนจะไปทำกิจกรรมอื่นๆ กับบุคคลในครอบครัว อยู่ห่าง ล้างมือบ่อยๆ ผู้ปกครอง หมั่นสังเกตอาการทางเดินหายใจ หากมีไข้ ไอ น้ำมูก และสงสัยว่ามีการติดเชื้อ ต้องรีบตรวจ ATK" พญ. สุมนี กล่าว