รู้จัก "ยาอีหมีพูห์" ตอนเสพมีความสุข หลังเสพชีวิตซึมเศร้า อันตรายถึงตาย

รู้จัก "ยาอีหมีพูห์" ตอนเสพมีความสุข หลังเสพชีวิตซึมเศร้า อันตรายถึงตาย

แม้โลกเต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารมากมาย และส่วนใหญ่ต่างรู้ถึงโทษของ “ยาเสพติด” ซึ่งส่งผลต่อระบบประสาท สมอง และร่างกาย แต่ด้วยความอยากรู้อยากลอง หรือบางคนมองว่าใช้ยาเสพติดเพื่อแก้ปัญหาชีวิต เพิ่มความสนุกสนานในการปาร์ตี้ หรือจัดกิจกรรมต่างๆ

ล่าสุดพบ ยาอีในรูปแบบเม็ดตัวการ์ตูนหมีพูห์ สีเหลือง หรือ “ยาอีหมีพูห์”  ซึ่งมีการใช้พร้อมยานอนหลับชนิดรุนแรง ในพื้นที่ จังหวัดนครพนม  โดยยาอีหมีพูห์ นั้นมีสูตรเหมือนกับยาอีทั่วไป เพียงแต่รูปแบบแตกต่างออกไป เป็นรูปหมีพูห์ที่จะทำให้เข้าถึงกลุ่มผู้เสพได้มากขึ้น

 

“ยาอีหมีพูห์” VS “ยาอีทั่วไป”ต่างอย่างไร?

นพ.อังกูร ภัทรากร รองผู้อำนวยการด้านการพัฒนาระบบสุขภาพ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี ได้ เตือนภัย!!! ยาอีโฉมใหม่ รูปหมีพูห์ ทาง Facebook Live healthy ที่กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข  ว่ายาอี เป็นยาเสพติดที่ออกฤทธิ์ทั้งหลอน และกระตุ้นประสาททางเดียวกัน  ซึ่งในส่วนของยาอี นอกจากจะทำให้เกิดอาการหลอน กระตุ้นประสาท ยิ่งมาใช้ในงานปาร์ตี้จะทำให้ผู้เสพยาอี สามารถเต้นได้ 6-8 ชั่วโมงโดยไม่ได้พัก ทำให้ร่างกายขาดน้ำได้ และเมื่อเสพยาอี ร่างกายจะหลั่งสารแห่งความสุขถึง 10 เท่า เมื่อหมดฤทธิ์ยาหลายคนจึงมีภาวะซึมเศร้า

ยาอีหมีพูห์ กับยาอีทั่วไป ไม่ได้มีสูตรแตกต่างกัน มีอาการเหมือนกัน มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทเช่นเดียวกัน แต่รูปแบบภายนอกแตกต่างกันมาก ซึ่งยาอีหมีพูห์ จะเป็นประโยชน์ทางการค้า การตลาดของผู้ขายเพื่อให้เข้าถึงผู้เสพได้มากขึ้น เพราะหากซื้อยาอีทั่วไปเป็นเม็ดๆ หลายคนอาจจะไม่ซื้อ หรือไม่ลอง แต่ถ้าเป็นรูปหมีพูห์อาจจะรู้สึกว่าน่ารัก รับประทานได้เหมือนเจลลี่ และอาจจะนำมาใช้โดยที่ผู้อื่นไม่รู้ ทำให้เขาถึงผู้เสพได้ง่ายขึ้น" นพ.อังกูร กล่าว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

               

ยาอีหมีพูห์ ใช้ร่วมกับยานอนหลับ อันตรายถึงชีวิต

ไม่ว่าจะเป็น ยาอีทั่วไป หรือยาอีหมีพูห์ ต่างออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้เกิดอาการหลอน ยิ่งใช้ร่วมกับยาเสพติดชนิดอื่นๆ หรือดื่มแอลกอฮอล์ จะทำให้อันตรายต่อร่างกายถึงเสียชีวิตได้ โดยรายงานในต่างประเทศ พบว่า มีผู้เสพยาอีในงานปาร์ตี้จำนวนมากที่เสียชี

"ยาอี (ecstacy)" เป็นสารสังเคราะห์ ที่ออกฤทธิ์ทั้งกระตุ้นประสาท (amphetamine – like) และหลอนประสาท (lsd – like) จัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ยาอี (ecstasy) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ 3,4 methylenedioxy methamphetamine หรือ mdma

ส่วนยาเลิฟ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ 3,4-methylenedioxy amphetamine หรือ mda ซึ่งมีสูตรโครงสร้างคล้ายกับ เมทแอมเฟตามีน หรือ ยาบ้า แต่มีฤทธิ์ที่รุนแรงกว่าประมาณ 10 เท่า โดยออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท และ ทำลายเซลล์สมองที่เกี่ยวข้องกับความคิดและความจำเช่นเดียวกัน

นพ.อังกูร กล่าวต่อว่า ยาอีหมีพูห์ หรือยาอีทั่วไป เมื่อใช้ร่วมกับยาเสพติด หรือยากล่อมประสาท ยานอนหลับชนิดรุนแรงร่วมด้วย ซึ่งผู้เสพส่วนใหญ่มักจะใช้ร่วมกัน เพื่อทำให้รู้สึกมีความสุข สนุกสนาน สดชื่น อารมณ์ดี แต่เมื่อสารเหล่านี้หมดฤทธิ์ จะทำให้ความสุขหายไปกลายเป็นความซึมเศร้า หดหู่มากกว่าเดิม และเมื่อใช้ร่วมกันทำให้มีโอกาสเสียชีวิตได้มากขึ้น

"ยาอี" จะเข้าไปทำลายระบบประสาททำให้เซลล์สมองส่วนที่ทำหน้าที่หลั่งสารซีโรโทนิน (Serotonin)
ซึ่งเป็นสารสำคัญในการควบคุมอารมณ์ทำงานผิดปกติ โดยจะหลั่งสารนี้ออกมามากกว่าปกติทำให้สดชื่น อารมณ์ดี แต่เมื่อเวลาผ่านไปสารดังกล่าวจะลดน้อยลง ทำให้ผู้เสพเข้าสู่สภาวะอารมณ์เศร้าหมองหดหู่ เกิดอาการซึมเศร้า และอาจกลายเป็นโรคจิตประเภทซึมเศร้า (Depression) มีแนวโน้มการฆ่าตัวตายสูงกว่าคนปกติ

 

เช็กอาการ สังเกตลูกหลาน วัยรุ่นเสพยาอี? 

รวมถึงการที่สารซีโรโทนินลดลง จะทำให้การนอนหลับผิดปกติ เวลาการนอนลดลง หลับไม่สนิท อ่อนเพลียขาดสมาธิในการเรียนและทำงาน

 ปัจจุบัน "ยาอี" ได้รับความนิยมเสพในกลุ่มของวัยรุ่น หรือนักท่องเที่ยวสถานบันเทิงที่มีฐานะค่อนข้างดี เนื่องจาก ยาอี ราคาค่อนข้างสูง ตกเม็ดละ 800-1,000 บาท ทำให้ในประเทศไทยไม่ได้มีการเสพยาอีจำนวนมาก เมื่อเทียบกับยาเสพติดชนิดอื่นๆ แต่ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะยาอีหากใช้ร่วมกับยาเสพติดชนิดอื่นๆ มีความรุนแรงอย่างมาก รุนแรงมากกว่ายาบ้า นพ.อังกูร  กล่าวอีกว่า

อาการของผู้ที่เสพยาอี สามารถสังเกตได้เบื้องต้น คือ

  • เมื่อกลับมาจากงานปาร์ตี้ แล้วมีอาการเหนื่อยล้า ซึมเศร้า
  • เก็บตัวอยู่เฉพาะในห้อง หรือที่บ้านเท่านั้น เพราะพวกเขาได้สูญเสียสารแห่งความสุขไปจำนวนมาก
  • บางคนอาจมีอาการทางจิตร่วมด้วย เช่น ประสาทหลอน หูแว่ว
  • เมื่อผู้ใช้ยาได้รับยาอีเข้าสู่ร่างกาย ระบบประสาทส่วนกลางจะถูกกระตุ้นอย่างแรง
  • ผู้เสพจะรู้สึกสนุกสนาน มีอารมณ์เป็นสุข และมีอาการประสาทหลอน เห็นภาพ และได้ยินเสียงที่ผิดปกติ
  •  ความคิดสับสน หวาดวิตก
  • อาการทางกายที่ปรากฎ คือ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น หายใจเร็ว นอนไม่หลับ กล้ามเนื้อกระตุก มีอาการอยู่ไม่สุข
  • ยาจะเริ่มออกฤทธิ์หลังจากเสพเข้าไปภายในเวลา 30 – 45 นาที
  • มีฤทธิ์อยู่ในร่างกายได้ประมาณ 6 – 8 ชั่วโมง แล้วถูกขับออกจากร่างกายทางเหงื่อ และปัสสาวะ หมดภายในประมาณ 72 ชั่วโมง

ดังนั้น เมื่อบุตรหลานกลับมาจากเที่ยวกลางคืน ปาร์ตี้ อยากให้คอยสังเกตพฤติกรรมของพวกเขา สอบถามเรื่องของสุขภาพ อย่าดุด่าหรือโต้เถียงกับพวกเขา เนื่องจากพวกเขามักจะมีอาการซึมเศร้ารุนแรง อาจทำให้คิดฆ่าตัวตายได้ 

"ยาอีทั่วไป ในไทยมีคนใช้น้อย ไม่ได้ติดตลาด เนื่องด้วยราคา แต่เมื่อมีการปรับรูปลักษณ์ให้เป็นหมีพูห์ อาจจะเป็นการเปิดตลาดยาอีให้เข้าถึงกลุ่มวัยรุ่นได้ง่ายขึ้น และด้วยความรุนแรงของยาอี หากเข้าถึงวัยรุ่นจำนวนมาก สถานการณ์การใช้ยาเสพติดของประเทศไทยจะยิ่งย่ำแย่มากขึ้น ฉะนั้น ฝากเตือนไปยังเด็ก เยาวชน วัยรุ่น นักท่องเที่ยวกลางคืนอย่าไปยุ่งกับยาเสพติด โดยเฉพาะการเสพยาอีหมีพูห์คู่กับยานอนหลับชนิดรุนแรงจะทำให้เสียทั้งอนาคตและเสียชีวิตได้" นพ.อังกูร  กล่าว

 

ฝากพ่อแม่ทำความเข้าใจยาเสพติด เมื่อพบขอให้เข้าบำบัด 

ขณะนี้ทาง สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) ได้มีการพัฒนาแอปพลิเคชั่น ห่วงใย  เปิดสายด่วน 1156 และมีการประสานความร่วมมือการทำงานร่วมกับโรงพยาบาลประจำตำบล อำเภอ จังหวัด ซึ่งหากมีบุตรหลาน เสพยาเสพติด หรือยุ่งเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้สามารถเข้ามาขอคำปรึกษา คำแนะนำ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ (คลิก)

รวมทั้ง เข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดได้ที่ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์ จังหวัดปทุมธานี และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ในส่วนภูมิภาคทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่ โรงพยาบาลธัญญารักษ์แม่ฮ่องสอน โรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น โรงพยาบาลธัญญารักษ์อุดรธานี โรงพยาบาลธัญญารักษ์สงขลา และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานี

"เมื่อพบว่าลูกหลานยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด เบื้องต้นอยากให้พ่อแม่ค้นหาความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด และทำความเข้าใจถึงอาการ อันตรายจากยาเสพติด คอยสังเกตอาการ พูดคุยกับลูกอย่างเข้าใจ เปิดใจ และสามารถขอความรู้ ปรึกษาได้ตามช่องทางต่างๆ ของสบยช. และที่สำคัญ อยากให้พ่อแม่ยุคใหม่พยายามเป็นผู้ฟังลูกมากกว่าผู้พูด และขอให้เข้ากับเพื่อนๆ ของลูกให้ได้ เพราะเด็กไม่ว่าจะยุคสมัยใหม่ เขาก็จะติดเพื่อน อยู่กับเพื่อนมากกว่าพ่อแม่ หากเราเข้ากับเพื่อนของเขาได้ ก็จะได้อยู่ในสังคม ในโลกของเขา และพาเขาไปบำบัดตามสถานที่ต่างๆ" นพ.อังกูร กล่าว