อาการ ร่วมกับประวัติเสี่ยงสำคัญ ผู้ป่วยสงสัย "ฝีดาษลิง"

อาการ ร่วมกับประวัติเสี่ยงสำคัญ ผู้ป่วยสงสัย "ฝีดาษลิง"

“ไม่ใช่ใครเป็นตุ่มหนองแล้วจะสงสัยฝีดาษลิงทั้งหมด!!” ซึ่งประเทศไทยมีผู้ป่วยยืนยันฝีดาษวานรหรือฝีดาษลิง 2 ราย โดยในการทางระบาดวิทยา ได้กำหนดนิยามผู้ป่วยไว้ 4 ประเภทในเฝ้าระวัง คัดกรอง  โดยยึดอาการฝีดาษลิงร่วมกับต้องมีประวัติเสี่ยงที่สำคัญ

   อาการฝีดาษลิงระบาดรอบนี้

      สถานการณ์ทั่วโลกข้อมูล ณ วันที่ 24 ก.ค.2565 มีรายงานผู้ป่วยยืนยันตั้งแต่ 7 พ.ค.2565 จำนวน  16,314 ราย จาก  71 ประเทศ เพิ่มขึ้นราวสัปดาห์ละ 3,000-4,000 ราย ส่วนใหญ่จะเจอแถบยุโรปที่เป็นต้นตอของการระบาดในรอบนี้ และทวีปอเมริกาเหนือและใต้  ส่วนแนวโน้มแถบแอฟริกามีรายงานผู้ป่วยตลอดดเวลาเพราะเป็นโรคประจำถิ่น ส่วนทิศทางในยุโรปเริ่มเป็นขาลงแต่อเมริกายังมีผู้ป่วยมากขึ้น ส่วนประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยยืนยัน 1 ราย เป็นชายชาวไนจีเรีย 
      ข้อมูลทางระบาดวิทยาของผู้ป่วยฝีดาษวานรที่มีการระบาดรอบนี้  ณ วันที่ 22 ก.ค.2565  ส่วนใหญ่ผู้ป่วยในการระบาดครั้งนี้ 77.2 % เป็นผู้ป่วยชายอายุระหว่าง  18-44 ปี  จากข้อมูล 10,141 รายที่มีข้อมูลสมบูรณ์ของอายุ พบว่า มีผู้ป่วยอายุน้อยกว่า  17 ปี จำนวน 72 ราย โดยมี 23 ราย อายุน้อยกว่า  4 ปี   เป็นการบอกว่ามีการติดไปในเด็กด้วย

     ส่วนประวัติอื่นๆ  เรื่องรสนิยมทางเพศ จากข้อมูล 3,506 รายที่มีความสมบูรณ์ของตัวแปรนี้  พบว่า  98.1 % ระบุว่าเป็นชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย(MSM) ในผู้ป่วยที่เคยตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี พบว่า  39.6 % มีผลบวกต่อเอชไอวี  ผู้ป่วย 253 รายเป็นบุคลากรทางการแพทย์แต่ส่วนใหญ่ติดมาจากในชุมชน สถานที่ที่น่าจะเป็นแหล่งการติดเชื้อ เป็นปาร์ตี้ที่มีกิจกรรมสัมผัสทางเพศ 42.6%

      การระบาดในครั้งนี้  อาการและอาการแสดง ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มีข้อมูลเกี่ยวกับอาการ 6,589 ราย

มีอาการผื่น 88 % ส่วนใหญ่เป็นผื่นที่อวัยวะเพศประมาณ 30-40 %

 มีไข้ 44 %

มีต่อมน้ำเหลืองโต 27 % อ่

อนเพลีย 21.1 %

 ปวดศีรษะ 19.3 %

ตุ่ม 4 ระยะอาการฝีดาษลิง

          แนวทางการดูแลรักษาโรคฝีดาษวานร พญ.นฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมการแพทย์ กล่าวว่า ฝีดาษวานร ถือเป็น DNA VIRUS  ติดต่อเกิดจากการสัมผัสสารคัดหลั่ง  น้ำมูก น้ำลาย น้ำในตุ่มฝีหนอง น้ำเหลือง หรือ น้ำต่างๆของร่างกาย  ระยะฟักเชื้อ 7-21 วัน หรือ ประมาณ 3  สัปดาห์  โดยตุ่มที่เกิดขึ้นตามร่างกาย สามารถขึ้นได้ทั่วตัว

        ตุ่มมี 4 ระยะ คือ

 ระยะที่ 1 มีตุ่มแดงขึ้น 

ระยะที่2 ตุ่มพัฒนากลายเป็น ตุ่มนูน

 ระยะที่ 3 ตุ่มกลายเป็นหนอง

และระยะที่ 4 ตุ่มแตก

ซึ่งการแพร่เชื้อและติดต่อจะเกิดในระยะที่ 3 และ  4  โดยทั่วไปโรคนี้สามารถหายได้เอง หรือใช้การรักษาตามอาการ สำหรับคนที่จะมีอาการรุนแรง ได้แก่ คนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ  รับประทานยากดภูมิในคนรักษามะเร็ง หรือ ปลูกถ่ายอวัยวะ  เด็กเล็กอายุต่ำว่า 8 ปี  และหญิงตั้งครรภ์

       “โรคฝีดาษวานร  มีไข้ ปวดเมื่อยศีรษะตามร่างกาย ปวดหลัง และอาการเด่นชัดต่อมน้ำเหลืองโต  รักษาเน้นประคับประคอง จัดอยู่ในกลุ่มโรคที่มีลักษณะของตุ่มน้ำตามผิวหนัง ใกล้เคียงหลายโรค  ซึ่งแนวทางการแยกโรค จะมีการประชุมของกรมการแพทย์ และสรุปส่งให้ทาง EOCกระทรวงสาธารณสุขพิจารณาต่อไป”พญ.นฤมลกล่าว  

ความต่าง “อาการฝีดาษลิง”กับโรคอื่น 


        เนื่องจากโรคฝีดาษลิง จัดอยู่ในกลุ่มโรค ที่มีลักษณะของตุ่มน้ำตามผิวหนัง ใกล้เคียงทั้ง โรคอีสุกอีใส และไข้ทรพิษ เบื้องต้นทางสถาบันโรคผิวหนัง ได้วางเกณฑ์และแนวทางจำแนกแยกโรค ที่มีลักษณะอาการคล้ายคลึง หรือใกล้เคียงกับฝีดาษวานร เพื่อให้แยกโรคออก ได้แก่

 1. โรคอีสุกอีใส   ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย มีตุ่มน้ำใสขึ้นทั่วตัว และในกระพุ้งแก้ม ช่องปาก สามารถติดต่อได้จากละอองฝอย  ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มอาการที่ไม่รุนแรงน้อย  ในกลุ่มที่มีตุ้มน้ำขึ้นตามร่างกาย ระยะฟักโรค 11-20 วัน   รักษาด้วยการทานยาต้ายไวรัส

2.โรคเริม  มีอาการป่วย นอกจากตุ่มน้ำตามร่างกายแล้ว ยังจะมีอาการอักเสบตามเส้นประสาท  และ ทิ้งรอยโรคไว้ สามารถกลับมาป่วยซ้ำได้  โดยมีระยะฟักตัว 3-7 วัน  รักษาด้วยยาต้านไวรัส

3. งูสวัด เป็นการพัฒนาของเชื้ออีสุกอีใส แต่เชื้อหลบที่ปมประสาท ทำให้มีไข้ต่ำ ปวดเมื่อตามร่างกาย และมีอาการแสบร้อน คันผิวหนัง  ติดเชื้อได้จากสารคัดหลั่ง  การรักษาเน้นยาต้ายไวรัส

4. ไข้ทรพิษ  มีไข้สูง ปวดเมื่อย มีตุ้มผื่นขึ้น  อ่อนเพลีย อาเจียน ปวดท้อง ระยะฟักตัว 7-17 วัน  การรักษาเน้นประคับประคอง

 4 นิยามผู้ป่วยฝีดาษลิง
        กรมควบคุมโรคได้กำหนดนิยามผู้ป่วยฝีดาษลิง เพื่อใช้ในการเฝ้าระวังและคัดกรองโรค 4 ประเภท  ประกอบด้วย
     1.ผู้ป่วยสงสัยโรคฝีดาษลิง คือ ผู้ที่มีอาการ 1.ไข้ หรือให้ประวัติมีไข้ ร่วมกับอาการอย่างน้อย 1 อย่างต่อไปนี้ ได้แก่ เจ็บคอ ปวดสีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองบวมโต หรือ 2.มีผื่นหรือตุ่มที่ผิวหนัง หรือเคยมีผื่นหรือตุ่มกระจายตามใบหน้า ศีรษะ ลำตัว อวัยวะเพศและรอบทวารหนัก แขน ขา หรือฝ่ามือฝ่าเท้า เป็นผื่นหรือตุ่มลักษณะเป็นตุ่มนูน ตุ่มน้ำใส ตุ่มหนอง หรือตุ่มตกสะเก็ด 

       ร่วมกับ มีประวัติเชื่อมโยงทางระบาดวิทยา ภายใน  21 วันที่ผ่านมา ดังนี้  1.มีประวัติเดินทางมาจากหรืออาศัยอยู่ในต่างประเทศและแพทย์ให้การวินิจฉัยสงสัยโรคฝีดาษวานร หรือ2.มีประวัติเดินทางไปเข้าร่วมงานหรือกิจกรรมที่เคยมีการรายงานผู้ป่วยโรคฝีดาษวานรหรือมีอาชีพที่ต้องสัมผัสคลุกคลีกับผู้เดินทางจากต่างประเทศหรือ3.มีประวัติสัมผัสาสัตว์ฟันแทะ หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่มีต้นกำเนิดมาจากทวีปแอฟริกา มีการเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องแล็ป 2 แห่งในระยะแรกเพื่อยืนยันผล


 2.ผู้ป่วยเข้าข่าย คือ ผู้ป่วยสงสันที่มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยันตั้งแต่เริ่มมีอาการแรกจนถึงตุ่มตกสะเก็ด ดังต่อไปนี้
 2.1สัมผัสโดยตรงทางผิวหนัง (แม้จะไม่เห็นรอยโรค) เยื่อบุหรือสารคัดหลั่งจากร่างกายของผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง เช่น การจับมือ คลุกคลี หรือสัมผัสสิ่งของที่อาจมีเชื้อปนเปื้อนของผู้ป่วย เช่น เสื้อผ้า ที่นอน ของใช้ของผู้ป่วย หรือถูกของมีคมที่อาจปนเปื้อนเชื้อทิ่มตำ
2.2สัมผัสร่วมบ้านหรือมีการพักค้างคืนร่วมกับผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงอย่างน้อย 1 คืน หรือนั่งร่วมยายพาหนะกับผู้ป่วยภายในระยะ 1 เมตร หรือใช้ห้องน้ำร่วมกับผู้ป่วย เช่น สัมผัสฝารองนั่งโถสุขภัณฑ์เดียวกันตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการ
2.3อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยภายในระยะ 1 เมตร ขณะหรือกหลัทำหัตถการที่ทำให้เกิดละอองฝอยจากสารคัดหลั่ง หรือกิจกรรมที่ทำให้เกิดละอองฟุ้งจากคราบเชื้อโรค เช่น การสะบัดผ้าปูที่นอนหรือเสื้อผ้า
2.4เสื้อผ้าของผู้สัมผัสมีการสัมผัสโดยตรง กับรอยโรค สารคัดหลั่ง เยื้อบุร่างกาย และสิ่งของที่อาจปนเปื้อนเชื้อ เช่น เสื้อผ้า ที่นอน ของผู้ป่วย ยกตัวอย่างเช่น การอาบน้ำให้ผู้ป่วย การขนส่งผู้ป่วย

และ/หรือ มีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยัน ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้

-พบ Anti-orthopoxvirus IgM antibody ในซีรัมของผู้ป่วยในระยะ 4-56 วันหลังออกผื่น

-ตรวจพบเชื้อไวรัสที่เข้าได้กับ Orthopoxvirus genus ในผิวหนังหรือเนื้อเยื่อ

3.ผู้ป่วยยืนยัน คือ ผู้ป่วยสงสัยหรือเข้าข่ายที่มีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันอย่างน้อย 2 ห้องปฏิบัติการ

สำหรับผู้ป่วยยืนยัน จะพิจารณาเพิ่มเติมเพื่อจำแนกว่าเป็นผู้ป่วยนำเข้า หรือผู้ป่วยติดเชื้อภายในประเทศ


4.ผู้ป่วยคัดออก คือ  ผู้ป่วยสงสัย/เข้าข่าย ที่มีผลการตรวจไม่พบสารพันธุกรรมของเชื้อนี้ จากการตรวจอย่างน้อย 2 ห้องปฏิบัติการ หรือมีหลักฐานพบการติดเชื้ออื่นที่ไม่ใช่ฝีดาษลิงและมีอาการทางคลินิกเข้าได้กับกโรคนั้นๆ