"ฝีดาษลิง" ทำลายระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย? ยกเคสหนุ่มอเมริกาอาการหนัก

"ฝีดาษลิง" ทำลายระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย? ยกเคสหนุ่มอเมริกาอาการหนัก

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา โพสต์เฟซบุ๊กประเด็นโรค "ฝีดาษลิง" ยกเคสกรณีผู้ติดเชื้อชาวอเมริกา ที่ติดเชื้อมา 2 สัปดาห์แล้วซึ่งเขาเชื่อว่า ฝีดาษลิง ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเขาอ่อนแอลง

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักวิจัยด้านไวรัสวิทยา ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟซบุ๊กประเด็นโรค "ฝีดาษลิง" ยกเคสกรณีผู้ติดเชื้อชาวอเมริกา ที่ติดเชื้อมา 2 สัปดาห์แล้วซึ่งเขาเชื่อว่า ฝีดาษลิง ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเขาอ่อนแอลง

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

- EU อนุมัติวัคซีน “บาวาเรียน นอร์ดิก” ใช้ป้องกันฝีดาษลิง

- WHO ประกาศ! "โรคฝีดาษลิง" เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ

 

ผู้ป่วยฝีดาษลิงท่านหนึ่งในสหรัฐอเมริกาโพสต์รูปอาการป่วยของตัวเองในทวิตเตอร์ ระบุว่า ตุ่มแผลที่ขึ้นบนใบหน้านี้คือลักษณะของแผลที่ติดเชื้อมา 2 อาทิตย์แล้ว

 

เค้าระบุว่าตอนแรกคิดว่าติดฝีดาษลิงคงมีอาการอะไรไม่มาก แต่พอติดแล้วอาการเข้าขั้นโหดไม่ธรรมดา (brutal) เค้าเชื่อว่าการที่เค้าติดไวรัสฝีดาษลิงส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอลงไปด้วย เพราะขณะที่กักตัวอยู่เค้ามีอาการคออักเสบจากเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัส (Strep throat) ทั้งๆที่เค้าไม่เคยมีอาการแบบนี้มาก่อนเลย

 

ที่น่าสนใจคือ จู่ๆที่ร่างกายส่วนอื่น เช่น ที่หน้าขา ก็มีตุ่มใสขึ้นมาอีกทั้งๆที่ตุ่มที่ใบหน้าขึ้นมา 2 อาทิตย์และน่าจะหยุดได้แล้ว แต่ตุ่มที่ขึ้นใหม่ไม่น่าจะใหญ่เท่าตอนแรกๆที่ขึ้นที่หน้า เพราะแอนติบอดีที่ร่างกายสร้างขึ้นมาน่าจะช่วยลดปริมาณไวรัสและกระบวนการการอักเสบลงได้ ภาษาที่ใช้บรรยายเห็นภาพชัดว่าความเจ็บปวดมีอยู่ในระดับสูงมากจนน้ำตาเล็ด (The pain I've been experiencing keeps my eyes full of tears) เป็นประสบการณ์ที่ไม่ควรเจอะเจอในชีวิต

 

 

ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้โรคฝีดาษลิงเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern หรือ PHEIC) ซึ่งเป็นระดับเตือนภัยสูงสุดของ WHO หลังพบการระบาดแล้วในกว่า 70 ประเทศทั่วโลก 

 

อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ของไทย ยังคงให้ฝีดาษลิง หรือ ฝีดาษวานร เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวังต่อไปก่อน เนื่องจากสถานการณ์ในประเทศไทยขณะนี้ ยังไม่เข้านิยามโรคติดต่ออันตราย