"หลักสูตร CAIE" พลิกโฉมการศึกษาสู่มาตรฐานสากล พัฒนาศักยภาพเด็กไทย

"หลักสูตร CAIE" พลิกโฉมการศึกษาสู่มาตรฐานสากล พัฒนาศักยภาพเด็กไทย

“Cambridge” จับมือ SE-ED Academy พลิกโฉมการศึกษาไทยด้วยหลักสูตร CAIE ยกระดับคุณภาพสู่สากล ระบุปัญหาการศึกษา ขาดการยอมรับ การเปลี่ยนแปลง และกล้าที่จะทำ เผยหลักสูตร CAIE ยืดหยุ่น ช่วยพัฒนาศักยภาพเด็กไทย

การเรียนรู้ในปัจจุบันมีให้เลือกมากมาย และไม่ได้จำกัดเพียงห้องเรียนเท่านั้น อีกทั้งสามารถอยู่ที่ไหน เวลาใดก็เรียนได้ ทว่าระบบการศึกษาของไทย กลับพบว่าการเรียนรู้อาจจะไม่ง่าย หรือเปิดกว้างขนาดนั้น รวมถึงมีปัญหาอีกมากมายที่แม้จะมีการ ปรับปรุง  ปรับเปลี่ยน แก้ไขให้ดีขึ้น แต่ทุกอย่างต้องใช้เวลา

ความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ กับบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จํากัด (มหาชน) ในการนำหลักสูตร CAIE ซึ่งเป็นระยยการเรียนการสอนแบบสองภาษา เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่มหาวิทยาลัยได้ร่วมกับภาคเอกชน เพื่อช่วยสนับสนุนพัฒนาการศึกษาของเด็กไทย 

วันนี้ (7 ก.ค.2565)  SE-ED Academy  จัดงาน“เสวนาSE-ED Academyพลิกโฉมการศึกษาไทยสู่อนาคตใหม่ด้วยหลักสูตร Cambridge Assessment International Education(CAIE)”

\"หลักสูตร CAIE\" พลิกโฉมการศึกษาสู่มาตรฐานสากล พัฒนาศักยภาพเด็กไทย

นายเบน ชมิดท์ ผู้อำนวยการภูมิภาค Cambridge Assessment International Education กล่าวว่า ทาง Cambridge ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมกับบมจ.ซีเอ็ดยูเคชั่น ในการเผยแพร่หลักสูตร CAIE หนึ่งเดียวในประเทศไทย ซึ่ง CAIE เป็นระบบการเรียนการสอนแบบสองภาษา ที่สามารถปรับให้เข้ากับระบบการเรียนในแต่ละท้องถิ่น และสามารถเรียนผ่านออนไลน์ได้

โดยจะตอบโจทย์ชีวิตวิถีใหม่ให้กับครูและนักเรียนในประเทศไทย ให้สามารถเข้าถึงการศึกษาตามมาตรฐานสากลได้อย่างเท่าเทียม ความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นในการยกระดับการศึกษาไทยให้ก้าวสู่อนาคต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : "หลักสูตร" ที่ควรเรียน..ก่อนเข้าสู่ "แวดวงธุรกิจกัญชา"

                       เช็คชีพจร 3 บิ๊ก “ร้านหนังสือ” เมืองไทย ในวันที่ “หนังสือ” คือ สิ่งเกินจำเป็น!

                       10 'หลักสูตรออนไลน์' เรียนง่าย เรียนฟรี! ในยุคโควิด

 

  • หลักสูตร CAIE ระบบสองภาษาพัฒนาเด็กไทย

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ได้จัดตั้งหน่วยงาน Cambridge Assessment International Education (CAIE) ตั้งแต่ปี 1985 ปัจจุบันมีจำนวนนักเรียนเกือบ 1 ล้านคน จากโรงเรียนกว่า 10,000 แห่ง ใน 160 ประเทศทั่วโลก เป็นหลักสูตรที่ยอมรับจากนานาประเทศในเรื่องการพัฒนาความรู้เชิงลึก

ความเข้าใจและทักษะการคิด เตรียมพร้อมนักเรียนให้พร้อมสำหรับอนาคต ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่น มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม สามารถสะท้อนความเป็นตัวตน มีความคิดสร้างสรรค์ภายใต้การเปลี่ยนแปลงและความท้าทาย พร้อมที่จะทำสิ่งที่แตกต่าง

\"หลักสูตร CAIE\" พลิกโฉมการศึกษาสู่มาตรฐานสากล พัฒนาศักยภาพเด็กไทย

สำหรับหลักสูตร Cambridge Assessment International Education (CAIE) เป็นหลักสูตรการเรียนที่มีครบ ตั้งแต่อายุ 5 – 19 ปี แบ่งการเรียนการสอนเป็น 4 ช่วงชั้น ที่มีความต่อเนื่องไร้รอยต่อ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา จนก่อนถึงมหาวิทยาลัย

มีวิชาให้โรงเรียนได้เลือกสอนอย่างหลากหลายและมีความยืดหยุ่นมากกว่า 70 วิชาในระดับประถมศีกษา และมากกว่า 50 วิชาในระดับมัธยมศึกษา รวมทั้งมีระบบการจัดสอบ และให้คำปรึกษาเรื่องความถูกต้องและความปลอดภัย รวมถึงการฝึกอบรมและพัฒนาวิชาชีพให้กับครูผู้สอน โดยร่วมมือกับ SE-ED Academy ในการขยายหลักสูตร Cambridge Assessment International Education (CAIE) ในประเทศไทย

 

  • โควิด ตัวเร่งการศึกษาไทยปรับตัว หลักสูตรการเรียนการสอนยืดหยุ่น

ดร.มีโชค ทองไสว ผู้อำนวยการสายงานพัฒนาวิชาการ และธุรกิจต่างประเทศ บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จํากัด (มหาชน) ตัวแทน Cambridge Associate Thailand กล่าวว่าโควิด-19 เป็นตัวเร่งที่ทำให้ทุกภาคส่วนมีความตื่นตัว และปรับตัว เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนการสอนในสภาพแวดล้อมที่จำกัดได้  มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อสนับสนุนผู้เรียน ผู้สอน ให้จัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิ ซึ่งส่วนใหญ่สถานศึกษาไทยทำได้ดีถึงจะมีข้อจำกัดในเรื่องของหลักสูตร หรือการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบเดิม

หลักสูตร CAIE เป็นหลักสูตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งจุดเด่นของหลักสูตร คือ ความยืดหยุ่น และ ความเป็นมาตรฐานสากลที่มาจากการทำการวิจัย ทบทวน ปรับปรุง ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน อย่างสม่ำเสมอ มีกรอบและรูปแบบการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพ และคุณสมบัติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อไปในระดับที่สูงขึ้น หรือแม้กระทั้งการทำงานในอนาคต ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องได้รับการบ่มเพาะ สร้างเสริม และต่อยอด ให้กับผู้เรียน”ดร.มีโชค กล่าว

ทั้งนี้ การที่ซีเอ็ด ได้ร่วมมือกับ Cambridge Assessment International Education นำหลักสูตรดังกล่าวมาใช้ในการพัฒนาเด็กไทย เนื่องด้วย ซีเอ็ดมีความมุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วมสนับสนุนให้เด็กไทยเก่งขึ้น และมีสมรรถนะที่สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ  

  • การศึกษาไทยขาดการยอมรับ การเปลี่ยนแปลง และกล้าที่จะทำ

CAIE ถือว่าเป็นหลักสูตรที่เหมาะสมและตอบโจทย์ดังกล่าวได้อย่างดียิ่ง ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ทั้งทักษะการเรียนรู้ การพัฒนาทัศนคติและอุปนิสัยของการเรียนรู้ ซึ่งหลักสูตรของ Cambridge เองก็ได้ให้ความสำคัญกับคุณสมบัติ หรืออุปนิสัยในการเรียนรู้อย่างมาก นั่นคือ Cofident, responsible, reflective, innovative, engaged   ในปัจจุบัน การเรียนรู้ไม่ได้จบในห้องเรียน แต่เราต้องเรียนรู้ พัฒนา อย่างต่อเนือง

“ปัญหาการศึกษาไทยที่เป็นเรื่องเร่งด่วนต้องแก้ไข คือ การยอมรับการเปลี่ยนแปลงและกล้าที่จะทำ  ที่ผ่านมา สังคมและหลายภาคส่วนได้มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขว้างถึงปัญหา  เสนอแนะวิธีแก้ไข การปรับหลักสูตร การปรับวัดวิธีการประเมินผลการศึกษา การหามาตรฐาน มีการดูงาน หาข้อมูลอย่างวงกว้าง แต่ยังไม่เห็นรูปธรรมในการนำข้อมูลเหล่านั้นมาทำอะไรให้เป็นรูปธรรม”ดร.มีโชค กล่าว

\"หลักสูตร CAIE\" พลิกโฉมการศึกษาสู่มาตรฐานสากล พัฒนาศักยภาพเด็กไทย

อย่างไรก็ตาม   ที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการ มีความชัดเจนในการ ประเมินผล ทางด้านภาษาอังกฤษโดยใช้กรอบมาตรฐาน Common European Framework of Reference  (CEFR) และได้มีการคัดเลือกข้อสอบที่มีมาตรฐานในระดับสากล นำมาใช้วัดความสามารถทางภาษาอังกฤษของครู และ นักเรียนจำนวนหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนในการวัดประเมินความสามารถทางภาษาอังกฤษ   แต่เรายังไม่เห็นความชัดเจของเครื่องมือที่จะนำมาประเมิน ในรายวิชาอื่นๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์  

  • หลักสูตร CAIE วัดความพร้อม ความรู้ของผู้เรียนแต่ละระดับ

ดร.มีโชค กล่าวต่อว่าหลังจากที่กระทรวง ได้ยกเลิกในการบังคับให้นักเรียนไปสอบ โอเน็ต ตนเชื่อว่า ถ้าเครื่องมือวัดประเมินผู้เรียน เป็นตาชั่งที่เที่ยง มีความน่าเชื่อถือ มีความเหมาะสมที่ วัดความสามารถของผู้เรียนสอดคล้องกับหลักสูตร  และวิธีการเรียนการสอน จะทำให้การศึกษาของเราพัฒนาได้

หลักสูตร CAIE ให้ความสำคัญกับเรื่อง Assessment อย่างมากในการที่จะวัดความพร้อม และความรู้ของผู้เรียนในแต่ละระดับ เพื่อต่อยอดไปในระดับที่สูงขึ้น  ไม่ว่าจะเป็น progress test ในระดับ ประถมศึกษา ปีที่ 3, 4, 5 และ Check point ใน ประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ ข้อสอบอย่าง IGCSE, AS, A level เพื่อเป็นการวัดความพร้อมก่อนเข้าสู่ระดับอุดมศึกษา  มาตรฐาน เป็นสิ่งที่สำคัญครับ  ท้ายที่สุด คือความจริงใจ และตั้งใจในการ ยอมรับและแก้ไขปัญหา

  • ขยายหลักสูตรCAIE  ยกระดับมาตรฐานการศึกษา

นายไพฑูรย์ จารุสาร ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย กระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ตามยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ มีเป้าหมายให้คนไทยเป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ พร้อมสำหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21 โดยการสร้างระบบการศึกษาเพื่อเป็นเลิศทางวิชาการในระดับนานาชาติ นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ จึงมุ่ง “ปลดล็อก ปรับเปลี่ยน และเปิดกว้าง”

ระบบการศึกษาและการเรียนรู้ เน้นการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ด้านภาษาต่างประเทศ ซึ่งไทยได้นำหลักสูตรของเคมบริดจ์มาใช้กับโรงเรียนตั้งแต่ปี 2553

ปัจจุบันมีโรงเรียนที่ใช้หลักสูตรของเคมบริดจ์ จำนวน 8 โรงเรียน ภายใต้การดูแลของสำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ  นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรเคมบริดจ์ได้ศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เป็นการยกระดับมาตรฐานการศึกษาของไทยให้ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ

สถานศึกษาที่สนใจพัฒนาหลักสูตรและคุณภาพการศึกษา สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.cie.org.uk  และ www.facebook.com/seed.academy.thailand