เวทีเสวนา TIJ Forum หัวข้อ “Way Out หนทางใหม่สู่การค้นหาความจริง”

เวทีเสวนา TIJ Forum หัวข้อ “Way Out หนทางใหม่สู่การค้นหาความจริง”

จัดขึ้นโดย สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ร่วมกับ ศูนย์ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนนอร์เวย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยออสโล เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2564

Dr.Asbjørn Rachlew ผู้เชี่ยวชาญศูนย์ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนนอร์เวย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยออสโล  ผู้มีประสบการณ์ด้านงานสืบสวนสอบสวนมากว่า 10 ปี เคยสอบปากคำทั้งเหยื่อ พยาน และผู้ต้องสงสัยในคดีอาญามามากกว่าพันครั้ง เป็นที่ปรึกษา เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย และเป็นผู้สอนในสถาบันการศึกษาของตำรวจหลายแห่งทั่วโลก

เผยถึงแนวคิดที่มุ่งปรับเปลี่ยนวิธีปฏิบัติในการสอบสวนผู้ต้องสงสัย จากวิธีการสอบปากคำแบบเดิม ที่มุ่งเน้นเพื่อให้ได้ “คำรับสารภาพ” จากผู้ต้องสงสัย ไปเป็นวิธีการใหม่ที่เรียกว่า “การสัมภาษณ์เพื่อหาความจริง” (Investigative Interview) ในเวทีเสวนา TIJ Forum หัวข้อ “Way Out หนทางใหม่สู่การค้นหาความจริง” ซึ่งจัดขึ้นโดย สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ร่วมกับ ศูนย์ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนนอร์เวย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยออสโล เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2564  

เวทีเสวนา TIJ Forum หัวข้อ “Way Out หนทางใหม่สู่การค้นหาความจริง”

 

 

 

ในงานเสวนาครั้งนี้ผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการยุติธรรมและนักวิชาการไทยยังได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซี่งส่วนใหญ่สนับสนุนและเห็นด้วยกับหลักการของ investigative interview ว่าจะช่วยให้กระบวนการยุติธรรมไทยได้รับความ “เชื่อมั่น” จากประชาชนมากขึ้น บางส่วนชี้ให้เห็นถึงความคืบหน้าในการนำ investigative interview มาใช้ในไทย รวมถึงข้อจำกัดในการนำมาปรับใช้กับกระบวนการยุติธรรมไทยด้วย

 

คุณฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล ประธานแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย สนับสนุนว่าในประเทศไทยควรจะนำ investigative interview มาใช้ เนื่องจากหลักการดังกล่าวมุ่งเน้นการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องหาเป็นตัวตั้งอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมตระหนักและเห็นความสำคัญกับกระบวนการยุติธรรมที่เน้นสิทธิมนุษยชนมากขึ้น และทำให้เจ้าหน้าที่มีแนวทางหรือกระบวนการอื่น ๆ ในการค้นหาความจริงกับผู้ต้องหา ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือและไม่ละเมิดสิทธิผู้ต้องหาด้วย

 

ขณะที่คุณสันทนี ดิษยบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการสถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร investigative interview มาแล้ว อธิบายถึงข้อจำกัดในการนำมาใช้ในไทย โดยกล่าวว่า กระบวนการสืบสวนสอบสวนปัจจุบันมุ่งเน้นและผลักภาระไปที่การรับสารภาพมากจนเกินไป โดยให้ความสำคัญกับคำให้การของพยานมาก เหมือนเป็นภาระของพยาน ทั้งที่จริง ๆ แล้ว เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะพิสูจน์ให้เห็นความจริง ดังนั้น เธอจึงเชื่อมั่นว่า investigative interview จะตอบโจทย์ เพราะก่อนสอบปากคำจะต้องเตรียมตัวและสอบทานก่อนว่าหลักฐานพยานที่ได้มา เชื่อถือได้หรือไม่

 

 

พ.ต.ท.(หญิง) เพรียบพร้อม เมฆิยานนท์ รองผู้กำกับกลุ่มงานต่อต้านการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต ในฐานะผู้ริเริ่มและเห็นความสำคัญของกระบวนการสืบสวนสอบสวน ที่ได้กล่าวถึงข้อจำกัดในการนำกระบวนการ investigative interview

 

ด้าน พล.ต.ท. ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ได้สะท้อนความคิดเห็นเกี่ยวกับความก้าวหน้าในการนำหลักคิดการคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนในวงการตำรวจรุ่นใหม่ และข้อจำกัดในการปฏิบัติงานว่า การทำงานของตำรวจปัจจุบัน

 

ด้าน ผศ.ดร. ณัฐสุดา เต้พันธ์ อาจารย์ประจำคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ผู้สนใจเรื่องประสบการณ์การได้รับบาดแผลทางจิตใจ (Traumatic Experience) ได้สะท้อนหลักคิดทางจิตวิทยาที่สอดคล้องกับหลักคิดของกระบวนการ investigative interview 

 

นายอุกฤษฏ์ ศรพรหม ผู้จัดการโครงการการสนับสนุนงานด้านหลักนิติธรรม TIJ ได้กล่าวถึง การประยุกต์ใช้ investigative interview กับมาตรการทางเลือกในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่ยังมีข้อพิจารณาในหลายประเด็น โดยมองว่า หากกระบวนการยุติธรรมทางเลือก

 

ดร.พิเศษ สอาดเย็น ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) กล่าวทิ้งทายในการเสวนาว่า TIJ ได้พยายามจัดเวทีเสวนาเพื่อเชิญชวนสังคมไทยให้มองปัญหาในหลากหลายมิติ เพื่อชี้ให้เห็นว่า ยังมี “เทคนิคการค้นหาความจริง” ที่สามารถนำมาปรับใช้ในกระบวนการสืบสวนสอบสวนได้ เพื่อให้ได้มาซึ่งความจริงในคดี และเราสามารถเรียนรู้เพื่อ