เช็ค "กฎเหล็ก" หาเสียงเลือกตั้ง ส.ก.-ผู้ว่าฯกทม. โทษหนักปรับ-จำคุก!

เช็ค "กฎเหล็ก" หาเสียงเลือกตั้ง ส.ก.-ผู้ว่าฯกทม. โทษหนักปรับ-จำคุก!

เปิดรายละเอียดกฎเหล็กหาเสียง "เลือกตั้ง กทม." ทำได้-ไม่ได้ ฝ่าฝืนเจอโทษหนักปรับ-จำคุก-ตัดสิทธิเลือกตั้ง!

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) วันอาทิตย์ที่ 22 พ.ค.65 มีความคืบหน้าตามลำดับ ภายหลังปิดรับสมัครเมื่อวันที่ 4 เม.ย.2565 มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯกทม. ทั้งหมด 31 คน แบ่งเป็นชาย 25 คนและหญิง 6 คน จาก 6 พรรคการเมือง และ 25 ผู้สมัครอิสระ ส่วน ส.ก.มีผู้สมัครรวม 382 คน 

ในขั้นตอนหาเสียงผู้สมัครเลือกตั้ง ผู้ว่าฯกทม.และ ส.ก.ก่อนถึง วันหย่อนบัตร 22 พ.ค.2565 ต้องปฏิบัติตาม "ระเบียบ กกต.ว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น 2563" ซึ่งกำหนด "ข้อห้าม" และแนวปฏิบัติของผู้รับสมัครเลือกตั้งไว้ชัดเจน

โดยเฉพาะ "มาตรา 34" พรบ.เลือกตั้งท้องถิ่น เป็น "ข้อบังคับใหม่" บังคับถึงข้าราชการการเมือง ส.ส. ส.ว. ผู้บริหารท้องถิ่นสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ "ห้าม" กระทำการใดๆ ด้วยอำนาจหน้าที่เพื่อกลั่นแกล้ง หรือกระทำสิ่งที่เป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัคร 

กรณีนี้ กกต.จะนำมาเป็นเหตุวินิจฉัยให้การเลือกตั้งไม่สุจริต-เที่ยงธรรม เข้าข่ายความผิดตาม "มาตรา 69" ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้ตำแหน่งหน้าท่ีกระทำการใดๆ อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัคร มีบทลงโทษตาม "มาตรา 126" วรรคสอง ระวางโทษจำคุก 1-10 ปี หรือปรับ 20,000-200,000 บาท หรือทั้งจำท้ังปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมากถึง 20 ปีเช่นกัน

ขณะที่สิ่งที่นักเลือกตั้งสามารถ "ทำได้" มีดังนี้

1.การทางอิเล็กทรอนิกส์ 7 ช่องทาง ประกอบด้วย 1.เว็บไซต์ 2.โซเซียลมีเดีย 3.ยูทูป 4.แอพพลิเคชั่น 5.อีเมล์ 6.เอสเอ็มเอส และ 7.สื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นทุกประเภท 

ผู้สมัครต้องแจ้งวิธีการ รายละเอียด ช่องทาง ระยะเวลาในการหาเสียงเลือกต้ังโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบ ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดทราบก่อนดำเนินการหาเสียงเลือกตั้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

2.การจัดทำและปิดประกาศเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้ง มีขนาดความกว้างไม่เกิน 30 ซม. และมีขนาดความยาวไม่เกิน 42 ซม. และจัดทำและติดแผ่นป้ายเก่ียวกับการหาเสียงเลือกตั้ง มีขนาดความกว้างไม่เกิน 130 ซม. และมีขนาดความยาวไม่เกิน 245 ซม.

หากมีกรณี "แผ่นป้ายหาเสียง" ผู้สมัครสามารถระบุชื่อ รูปถ่าย หมายเลขประจำตัวผู้สมัคร สัญลักษณ์ นโยบายผู้สมัคร คติพจน์ คำขวัญข้อมูลประวัติ เฉพาะที่เกี่ยวกับตัวผู้สมัคร พร้อมระบุชื่อตัว ชื่อสกุล ที่อยู่ของผู้ว่าจ้าง ผู้ผลิต จำนวน และวันเดือนปีที้ผลิตไว้ บริเวณที่เห็นได้ชัดเจนของประกาศ เกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้ง และแผ่นป้ายเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้ง

แต่ในกรณีการนำข้อมูลเกี่ยวกับพรรคการเมือง หรือการนำภาพบุคคลเพื่อหาเสียงเลือกตั้ง ต้องได้รับความ "ยินยอม" จากบุคคลหรือพรรคการเมืองน้ัน และไม่ขัดต่อ มาตรา 34 พรบ.เลือกตั้งท้องถิ่น 2562 และอาจนำภาพผู้สมัครรับเลือกต้ังเดียวกันมาใช้หาเสียงเลือกตั้งด้วยได้

สำหรับ ประเด็นที่นักเลือกตั้ง กทม "ทำไม่ได้" มีดังนี้

1.ห้ามผู้สมัครดำเนินการหรือยินยอมให้พรรคการเมือง หรือผู้ใดดำเนินการนำ "สถาบันพระมหากษัตริย์" มาเกี่ยวข้องกับการหาเสียงเลือกตั้ง

2.ห้ามผู้สมัครหาเสียงเลือกต้ัง หรือยินยอมให้พรรคการเมืองหรือผู้ใดหาเสียงเลือกตั้ง ในลักษณะดังนี้ 

1.แจกจ่ายเอกสารเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกต้ังโดยวิธีการวาง หรือโปรยในท่ีสาธารณะ

2.แจกเอกสารหรือวีดิทัศน์เก่ียวกับการหาเสียงเลือกตั้งที่ไม่ได้ระบุช่ือตัว ชื่อสกุล ที่อยู่ของผู้ว่าจ้าง ผู้ผลิต จำนวน และวันเดือนปีที่ผลิตอย่างชัดเจน

3.ใช้พาหนะต่างๆ ในการหาเสียงเลือกตั้ง หรือจัดสถานที่หรือเวทีเพื่อโฆษณาหาเสียงเลือกตั้ง ที่ไม่ได้แจ้งรายละเอียดให้ ผอ.เลือกต้ังประจำจังหวัดทราบ

4.หาเสียงเลือกต้ังโดยใช้ถ้อยคำรุนแรง หรือปลุกระดมก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นในพื้นท่ี

5.ช่วยเหลือเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ให้แก่ผู้ใดตามปกติ ประเพณีต่าง ๆ

6.หาเสียงเลือกตั้งโดยนำชื่อของพรรคการเมือง สัญลักษณ์ของพรรคการเมือง คติพจน์ คาขวัญ หรือภาพบุคคล โดย "ไม่ได้" มีหนังสือให้ความยินยอมจากบุคคลหรือพรรคการเมืองน้ัน

ขณะที่แนวปฏิบัติการ "หาเสียงเลือกตั้ง" บัญญัติไว้ที่ พรบ.เลือกตั้งท้องถิ่น 2562 มาตรา 66 ซึ่งกำหนดให้การหาเสียงเลือกตั้งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สุจริต และเท่ียงธรรม โดย กกต.ได้กำหนด "ลักษณะต้องห้าม" ในการหาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัคร หากฝ่าฝืนตามมาตรา 66 ผู้สมัครต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือท้ังจำทั้งปรับ

ที่สำคัญความผิด "ซื้อสิทธิขายเสียง" จะมีความผิดทั้ง "ผู้ให้-ผู้รับ" โดย "ผู้ซื้อเสียง" มีโทษจำคุก 1-10 ปี ปรับ 20,000-200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมากถึง 20 ปี และ "ผู้ขายเสียง" มีโทษจำคุก 1-5 ปี ปรับ 20,000-100,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 10 ปี

เช็ค \"กฎเหล็ก\" หาเสียงเลือกตั้ง ส.ก.-ผู้ว่าฯกทม. โทษหนักปรับ-จำคุก!