ไม้มิสวาก ใช้เป็นแปรงสีฟัน ช่วยดูแลเหงือก ช่องปาก ลดคราบหินปูน

ไม้มิสวาก คืออะไร ไม้วิเศษ มีสรรพคุณ ใช้เป็นแปรงสีฟัน ทำความสะอาดฟัน ดูแลสุขภาพเหงือก ช่องปาก มีมานานแล้ว มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ควบคุมการสร้างการทำงานของคราบหินปูน
ไม้มิสวาก คืออะไร? ไม้วิเศษ มีสรรพคุณ ใช้เป็นแปรงสีฟัน ทำความสะอาดฟัน ช่วยดูแลสุขภาพเหงือก ดูแลช่องปากได้ มีมานานแล้ว ตั้งแต่ยุคสมัยประวัติศาสตร์ศาสนาอิสลาม มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ควบคุมการสร้างการทำงานของคราบพลัค คราบหินปูน
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม เผิดเผยว่า "ไม้มิสวาก" มีใช้มาตั้งแต่ยุคสมัยประวัติศาสตร์ศาสนาอิสลาม ซึ่งท่านนบีมูฮัมหมัด ซ.ล. (ศาสดาแห่งศาสนาอิสลาม) ได้เป็นแบบอย่าง และแนะนำให้ทำความสะอาดฟันด้วยไม้มิสวาก
ดังนั้นการใช้ไม้มิสวากจึงเป็นทางเลือกในการดูแลช่องปากจากธรรมชาติของชาวมุสลิม รวมถึงเป็นการปฏิบัติตามคำสอนของศาสดาในศาสนาอิสลามด้วย
มิสวาก คืออะไร?
"มิสวาก" เป็นกิ่งไม้สำหรับทำความสะอาดฟันที่ทำจาก ต้น Salvadora persica คุณสมบัติของมิสวากนอกจากจะมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ซึ่งอาจช่วยควบคุมการสร้างและการทำงานของคราบพลัค คราบหินปูนแล้ว ยังสามารถใช้เป็นแปรงสีฟันธรรมชาติในการทำความสะอาดฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ต้นแปรงสีฟัน (Salvadora persica) เป็นต้นไม้ที่ขึ้นทั่วไปในทะเลทราย รากไม้นี้ เมื่อเคี้ยวหรือทุบปลายข้างหนึ่งแล้วนำมาขัดฟัน ไยของมันจะชี้ตั้งไปตามทิศทางต่างๆ คล้ายขนแปรงสีฟันสมัยใหม่ นอกจากช่วยทำความสะอาดฟันแล้ว ยังทำให้ฟันเป็นประกายแวววาวด้วย
ความนิยมในการใช้ไม้มิสวากในการแปรงฟัน ดูแลช่องปาก
- มิซวากเป็น ที่นิยมในพื้นที่ที่ ชาวมุสลิมอาศัยอยู่ มักใช้กันในคาบสมุทรอาหรับ แอฟริกาตะวันออก แอฟริกาเหนือ บางส่วนของซาเฮล อนุทวีปอินเดีย และเอเชียกลาง
สารสกัดมิสวากเทียบกับน้ำยาฆ่าเชื้อช่องปาก
การศึกษาบ่งชี้ว่าสารสกัดจาก Salvadora persica มีฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำยาฆ่าเชื้อช่องปากและสารป้องกันคราบพลัคอื่นๆ เช่น
- ไตรโคลซาน
- คลอเฮกซิดีนกลูโคเนต
น้ำยาบ้วนปากที่ประกอบด้วยคลอร์เฮกซิดีน มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียสูงสุด ในขณะที่น้ำยาบ้วนปากเซทิลไพริดิเนียมคลอไรด์ มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียปานกลาง และสารสกัดจากมิสวากมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียต่ำ
อย่างไรก็ตาม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ได้ตัดประโยชน์ของไตรโคลซานออกไปในปี 2559
และความปลอดภัยของไตรโคลซาน ในฐานะส่วนผสมของผลิตภัณฑ์สุขอนามัยนั้นยังไม่ชัดเจน ทั้งนี้คลอร์เฮกซิดีนกลูโคเนต ยังเชื่อมโยงกับอาการแพ้รุนแรงอีกด้วย แม้ว่าจะพบได้ไม่บ่อยนักก็ตาม
อ้างอิง-ภาพ : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย , wikipedia , Siriraj Museum , พิพิธภัณฑ์ศิริราช