กอนช. ชี้น้ำเข้าอ่างเก็บน้ำเพิ่ม แต่ยังน้อยกว่าปีที่แล้วกว่า 7,000 ล้าน ลบ.ม.

กอนช. ชี้น้ำเข้าอ่างเก็บน้ำเพิ่ม แต่ยังน้อยกว่าปีที่แล้วกว่า 7,000 ล้าน ลบ.ม.

กอนช. ชี้ฝนตกส่งผลให้มีน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เพิ่ม แต่ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำทั่วประเทศยังน้อยกว่าเมื่อปี 65 อยู่กว่า 7,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เกษตรกรจำเป็นต้องงดทำนาปีต่อเนื่องและขอความร่วมมือประชาชนใช้น้ำอย่างประหยัด

วันนี้ (13 ก.ย. 66) นายธรรมพงศ์ เนาวบุตร ผู้อำนวยการกลุ่มวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์น้ำ รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมการประเมินสถานการณ์น้ำ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) โดยมีนายฐนโรจน์ วรรัฐประเสริฐ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ สทนช. เป็นประธานการประชุม ณ อาคารจุฑามาศ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) กรมทรัพยากรน้ำ กรมชลประทาน กรมฝนหลวงและการบินเกษตร กรมทรัพยากรธรณี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นต้น เข้าร่วมการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกมากในพื้นที่ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือบางส่วน ส่งผลให้เกิดอุทกภัยในบางพื้นที่ โดยปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายกลับคืนสู่ภาวะปกติแล้ว ยกเว้น จ.ร้อยเอ็ด ที่คาดว่าระดับน้ำในลำน้ำยัง จะกลับสู่ระดับตลิ่งภายใน 7 วันนี้ โดยจากปริมาณฝนตกส่งผลให้มีน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ในรอบสัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 6-12 ก.ย. 66 รวม 2,091 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) 

กอนช. ชี้น้ำเข้าอ่างเก็บน้ำเพิ่ม แต่ยังน้อยกว่าปีที่แล้วกว่า 7,000 ล้าน ลบ.ม.

อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำของแหล่งน้ำทั่วประเทศยังมีไม่มากนัก โดยมีปริมาณน้ำ 46,633 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 57% ของความจุ ซึ่งน้อยกว่าปริมาณน้ำในปีที่แล้วอยู่กว่า 7,000 ล้าน ลบ.ม. โดยขณะนี้ประเทศไทยยังคงอยู่ภายใต้สภาวะเอลนีโญ ส่งผลให้ปริมาณฝนตกน้อย โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีฝนตกน้อยกว่าค่าปกติ มีเพียงบางพื้นที่เท่านั้นที่มีฝนมากกว่าค่าปกติเล็กน้อย อาทิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง บริเวณ จ.อุบลราชธานี ภาคตะวันตก บริเวณ จ.กาญจนบุรี พื้นที่บางส่วนของภาคใต้ เป็นต้น ส่งผลให้ในภาพรวมยังคงมีปริมาณฝนน้อยกว่าค่าปกติอยู่ 16% และมีแหล่งน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อย 10 แห่ง ซึ่ง กอนช. มีการติดตามสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง พร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดสรรน้ำตามลำดับความสำคัญของการใช้น้ำ รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้เกษตรงดทำนาปีต่อเนื่อง และขอความร่วมมือประชาชนในการใช้น้ำอย่างประหยัด

กอนช. ชี้น้ำเข้าอ่างเก็บน้ำเพิ่ม แต่ยังน้อยกว่าปีที่แล้วกว่า 7,000 ล้าน ลบ.ม.
 

ทั้งนี้ กอนช. ได้ติดตามแผนที่อากาศผิวพื้นร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยา และ สสน. พบว่า ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ส่งผลให้มีฝนตกในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในขณะที่พายุดีเปรสชั่นซึ่งอยู่ทางฝั่งของประเทศฟิลิปปินส์ ปัจจุบันยังอยู่ห่างจากประเทศไทยจึงไม่มีผลกระทบในส่วนของปริมาณฝน

โดยจากการคาดการณ์ฝนล่วงหน้า วันที่ 13-14 ก.ย. 66 จะมีฝนตกมากในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันตก วันที่ 15 ก.ย. 66 จะมีฝนตกมากในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก วันที่ 16-18 ก.ย. 66 ปริมาณฝนจะลดลงตามลำดับ โดยจากการวิเคราะห์ข้อมูลฝนเพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย 3 วันล่วงหน้า ขณะนี้ยังไม่พบว่าอยู่ในระดับที่จะเกิดผลกระทบต่อประชาชน ทั้งนี้ คาดว่าจากปริมาณฝนตกจะช่วยให้มีน้ำไหลเข้าอ่างฯใหญ่สะสมเพิ่มอีก 2,421 ล้าน ลบ.ม. ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนที่ยังคงมีไม่มากนัก

กอนช. ชี้น้ำเข้าอ่างเก็บน้ำเพิ่ม แต่ยังน้อยกว่าปีที่แล้วกว่า 7,000 ล้าน ลบ.ม.

“ปัจจุบัน สทนช. ได้เร่งเตรียมการล่วงหน้าเพื่อรับมือสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากปัจจุบันใกล้สิ้นสุดฤดูฝนแล้ว โดยประเทศไทยจะเข้าสู่ฤดูแล้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พ.ย. 66 โดยได้มีการเตรียมมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 66/67 จากการทบทวนมาตรการเดิมและเพิ่มเติมมาตรการใหม่ โดยเป็นมาตรการที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อให้สามารถบริหารจัดการน้ำรองรับสถานการณ์ฝนตกน้อยจากสภาวะเอลนีโญได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด” นายธรรมพงศ์ กล่าว