คณะวิทย์ ม.อุบลฯ 'วิจัยนวัตกรรม' สร้างอาชีพรายได้ช่วงวิกฤติโควิด

คณะวิทย์ ม.อุบลฯ 'วิจัยนวัตกรรม' สร้างอาชีพรายได้ช่วงวิกฤติโควิด

คณะวิทยาศาสตร์ ม.อุบลฯ ผุด 'วิจัยนวัตกรรม' ใช้ได้จริงมุ่งตอบโจทย์ความต้องการของตลาดและชุมชนเพื่อยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของคนในชุมชนในภาวะวิกฤติโควิด-19

ศ.ดร.ศิริพร จึงสุทธิวงษ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เปิดเผยว่า ในภาวะวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมในชุมชนและระดับประเทศอย่างมากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลฯ จึงได้ทำวิจัยและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด ชุมชนหรือท้องถิ่นเพื่อเป็นการยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของคนในชุมชนในภาวะวิกฤติโควิด-19 ในปัจจุบัน

โดยแต่ละโครงการจะเน้นการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ เพิ่มรายได้ให้กับชุมชนซึ่งนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีและความยั่งยืนของคนในชุมชนควบคู่กับการเร่งปรับปรุง พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้ทันสมัยสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมและเศรษฐกิจ

162919558767

  • 'วิจัยเชิงนวัตกรรม' สู่เชิงพาณิชย์  พัฒนาชีวิตในช่วงโควิด-19

ผลงานที่ได้รับการส่งเสริมการขายผลงานวิจัยไปสู่ เชิงพาณิชย์ เช่น 1)ชุดตรวจแมกนีเซียมในน้ำยางพารา 2) ที่ครอบสวิตช์ไฟเรืองแสงจากยางพารา 3) การใช้สมุนไพรไทยควบคู่กับถ่านขาวในยาฆ่าเชื้ออาหารเป็นพิษ และ 4) การเพิ่มปริมาณแกมมาอะมิโนบิวทิริกและสารประกอบฟีนอลิกในข้าวกล้องงอกด้วยกระบวนการทางชีวภาพเป็นต้น

“ผลงานวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์การแก้ปัญหาและพัฒนาร่วมกับชุมชน เพื่อเพิ่มรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในภาวะวิกฤติโควิด-19 เราจึงสร้างผลงานวิจัยที่นำไปใช้ได้จริง และให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนคณะวิทยาศาสตร์ ให้เป็นที่พึ่งของชุมชนทั้งในภาวะวิกฤติและภาวะปกติ”ศ.ดร.ศิริพร กล่าว

162919560889

  • พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

รวมทั้งผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะสูง และการบริการวิชาการเพื่อสร้างความยั่งยืนให้แก่ชุมชน มีความโดดเด่นด้านเคมีอันดับ 1 ของประเทศไทย และอันดับ 7 ด้านภาพรวมด้านการวิจัย นวัตกรรม โดยเน้นนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่นำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภูมิภาคลุ่มน้ำโขงสู่ความมั่นคงและยั่งยืน
162919565229

162919562823