'มะเร็งโพรงจมูก' เกิดจากอะไร? ระวัง! อาการเริ่มต้นคลายไข้หวัด

'มะเร็งโพรงจมูก' เกิดจากอะไร? ระวัง! อาการเริ่มต้นคลายไข้หวัด

จากเคส "ไกรเสริม โตทับเที่ยง" ที่เสียชีวิตด้วยโรค "มะเร็งโพรงจมูก" ชวนรู้สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคร้ายดังกล่าว และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องว่าสิ่งแวดล้อมแบบใด? อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งโพรงจมูกได้

เศร้าโศกสะเทือนวงการธุรกิจ เมื่อ "ไกรเสริม โตทับเที่ยง" ทายาทรุ่นที่ 2 ของบริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (ปลากระป๋องปุ้มปุ้ย) และเคยทำงานในถนนนักการเมือง ไกรเสริมได้จากไปเมื่อช่วงคืนวันที่ 5 ..ที่ผ่านมา ในวัย 42 ปี ด้วยโรค "มะเร็งโพรงจมูก" หลังเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช นานกว่า ปี

หลายคนอาจจะไม่คุ้นเคยกับ "มะเร็งโพรงจมูก" มากนัก ส่วนใหญ่มักจะรู้จักมะเร็งตับ มะเร้งลำไส้ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งต่อมลูกหมาก ฯลฯ น่าตกใจว่า "โพรงจมูก" ของคนเราก็สามารถเกิดมะเร็งร้ายและคร่าชีวิตได้เช่นกัน กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนไปรู้จักสาเหตุ อาการ และการรักษาโรคนี้กันให้มากขึ้น

1. "มะเร็งโพรงจมูก" อาการเบื้องต้นคล้ายไข้หวัด

มีข้อมูลจาก ศ.คลินิก นพ.ครรชิตเทพ ตั่นเผ่าพงษ์ ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ รามาฯ มหาวิทยาลัยมหิดล เคยอธิบายไว้ในบทความวิชาการว่า "มะเร็งโพรงจมูก" จะเกิดบริเวณหลังโพรงจมูก โดยโพรงจมูกจะมีลักษณะเป็นโพรงกว้าง อยู่ทางด้านหลังของจมูก เป็นทางผ่านของอากาศไปยังผนังคอ

ตำแหน่งนี้จะมีสารบางอย่างไหลผ่านเข้าไปได้ง่าย เช่น ควันบุหรี่ ควันพิษต่างๆ หรือสารที่เกิดจากการเผาไหม้และอาจเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้เกิดการระคายเคืองบริเวณดังกล่าวได้ง่าย อาการเบื้องต้นคล้ายไข้หวัด มักมีอาการไอ เจ็บคอ และน้ำมูกไหล ทำให้เข้าใจผิดบ่อยครั้ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

2. "มะเร็งโพรงจมูก" เกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง

อ.นพ.วรวรรธน์ ระหว่างบ้าน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้เผยแพร่ข้อมูลวิชาการ ระบุถึงสาเหตุการเกิดโรคดังกล่าวไว้ว่า เป็นหนึ่งในมะเร็งบริเวณศีรษะและคอที่พบบ่อยในประเทศไทย ช่วงอายุที่พบบ่อยคือ
30-60 ปี และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 3 เท่า โดยสาเหตุและความเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งโพรงจมูก ได้แก่ 

  • การติดเชื้อเรื้อรังของไวรัส EBV (Epstein-Barr Virus)
  • ความเสี่ยงทางพันธุกรรม
  • พฤติกรรมและสารก่อมะเร็ง เช่น การรับประทานเนื้อสัตว์หมักดองเป็นเวลานาน ซึ่งมีสารก่อมะเร็งที่ชื่อว่า ไนโตรซามีน (Nitrosamines)
  • การสูบบุหรี่

นอกจากนี้ยังพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อีก ที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งโพรงจมูกได้มีหลายประการ เช่น การสัมผัสหรือสูดดมสารเคมีที่ส่งผลให้เซลล์พัฒนาเป็นมะเร็งได้ ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ได้รับการยืนยันทางข้อมูลว่ามีความเกี่ยวข้องกับโรค ได้แก่ 

  • ฝุ่นไม้หรือขี้เลื่อย/ฝุ่นหนัง/ฝุ่นจากสิ่งทอ
  • สารไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์
  • สารประกอบนิกเกิล
  • ฟอร์มาดีไฮด์
  • โครเมียม

162556613513

3. อาการของโรค "มะเร็งโพรงจมูก"

ระยะแรกจะมีอาการไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล มีอาการหูอื้อข้างเดียว ชาที่บริเวณใบหน้าบางส่วน และมีก้อนนูนอยู่ตรงต้นคอใต้ติ่งหู เรียกส่วนนี้ว่าลำคอด้านนอกส่วนบน ส่วนอาการในระยะต่อมาที่อาจชี้ชัดได้ว่าเป็นอาการมะเร็งโพรงจมูก ซึ่งแตกต่างจากไข้หวัดทั่วไป ได้แก่

  • มีเลือดกำเดาไหลและคัดแน่นจมูกข้างเดียว เลือดกำเดาไหลมากขึ้น
  • มีก้อนที่คอโตขึ้น
  • มีอาการหูอื้อมากขึ้น ปวดหู เนื่องจากหูติดเชื้อ
  • มีอาการทางระบบประสาท เช่น หน้าชา มองเห็นภาพซ้อน

4. วิธีการรักษา และวิธีดูแลตัวเองของผู้ป่วย

แพทย์จะทำการส่องดูภายในจมูก โดยใช้กระจกหรือกล้องบางชนิด เพื่อดูที่หลังโพรงจมูกว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ หากพบเนื้องอกบางอย่างที่มีลักษณะเนื้อนูน ผิวขรุขระ อาจมีเลือดซึมหรือไม่มีเลือด แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อนั้นออกมาตรวจ และดูว่ามีการกระจายไปยังส่วนอื่นๆ หรือไม่

เมื่อตรวจยืนยันแล้วพบว่าเป็นมะเร็ง ก็จะเริ่มการรักษาด้วยวิธีฉายแสง และอาจใช้มีวิธีรักษาแบบอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น

  • การรักษาโดยการให้ยา ซึ่งอาจเป็นยาเคมีบำบัด ยามะเร็งแบบมุ่งเป้า
  • ภูมิคุ้มกันบำบัด โดยการรักษาวิธีนี้จะเป็นการรักษาที่ให้ร่วมกับการฉายรังสี
  • การผ่าตัด เป็นการรักษาในกรณีที่มะเร็งไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยการฉายรังสี
  • หลังจากการฉายแสง ผู้ป่วยจะเจ็บคอค่อนข้างมาก จึงมักให้อาหารทางกระเพาะอาหาร
  • ก่อนทำการฉายแสง แพทย์จะให้ผู้ป่วยทำฟันก่อน เพราะหลังฉายแสงแล้วจะไม่รักษาฟันทุกกรณีเด็ดขาด เนื่องจากจะทำให้ติดเชื้อและเกิดการอักเสบที่กระดูกกราม
  • มะเร็งในโพรงจมูกหากได้รับการรักษาในระยะแรกจะได้ผลดีกว่าระยะลุกลาม
  • บางรายสามารถรักษาให้หายได้ภายใน 3-5 ปี

5. วิธีป้องกันตัวเองให้ห่างไกล "มะเร็งโพรงจมูก"

ผู้ป่วยมะเร็งโพรงจมูกส่วนใหญ่ไม่ทราบถึงปัจจัยเสี่ยง ทำให้ในปัจจุบันยังไม่สามารถป้องกันมะเร็งโพรงจมูกได้ทั้งหมด แต่มีวิธีป้องกันเบื้องต้น คือ

  • พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น งดสูบบุหรี่ เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงสถานที่ความเสี่ยงสูง เช่น โรงงานอุตสาหกรรมเกี่ยวกับไม้แปรรูป/เฟอร์นิเจอร์ไม้
  • หากต้องทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมทำเฟอร์นิเจอร์หรือตู้ไม้ ควรหาแนวทางป้องกันตัวเอง ลดโอกาสการสูดดมฝุ่นควันอันตรายให้มากที่สุด เช่น สวมหน้ากาก N95, สวมชุดป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก

----------------------------

อ้างอิง : 

rama.mahidol

chulalongkornhospital

pobpad