'สหรัฐ’หนุน'ไทย'ประเทศแนวหน้าพลังงานอัจฉริยะอาเซียน

'สหรัฐ’หนุน'ไทย'ประเทศแนวหน้าพลังงานอัจฉริยะอาเซียน

'สหรัฐ’หนุน'ไทย'ประเทศแนวหน้าพลังงานอัจฉริยะอาเซียน

“โครงการพลังงานอัจฉริยะแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ต่อยอดจากโครงการพลังงานสะอาดเอเชียที่องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (ยูเสด) ให้การสนับสุนน และเป็นโครงการใหม่เพิ่งประกาศเปิดตัว มุ่งส่งเสริมการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค ยกระดับเทคโนโลยีด้านพลังงานที่ลํ้ำสมัย รวมถึงการซื้อขายพลังงานในภูมิภาค ช่วยปรับปรุงคุณภาพอากาศ และบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

‘ไมเคิล ฮีธ’ อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐ ประจำประเทศไทย กล่าวถึงการใช้พลังงานทดแทนและความท้าทายปัจจุบันว่า โครงการนี้สนับสนุนให้ไทยเป็นประเทศชั้นแนวหน้าของแหล่งพลังงานอัจฉริยะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการการใช้พลังงานสะอาดในระดับภูมิภาค ตามที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และกำหนดเป็นแกนหลักของนโยบายต่างประเทศของสหรัฐ

โครงการพลังงานสะอาดเอเชียของยูเสด ได้ลงทุนมหาศาลให้เกิดการใช้พลังงานสะอาดแบบรอบด้าน และคาดวาจะช่วยให้อาเซียนลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 30 ล้านตันภายใน 15 ปี ข้างหน้า

“ขณะที่เราเฉลิมฉลองความสําเร็จของยูเสด ด้านพลังงานสะอาดในประเทศไทยและอาเซียน เรายังมองเห็นถึงอนาคตและความ

ร่วมมือที่จะสานต่อการลงทุนด้านพลังงานในภูมิภาคนี้ต่อไป เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดในอนาคต แบบเต็มรูปแบบ และเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานระดับภูมิภาค” อุปทูตฮีธกล่าว

โครงการพลังงานสะอาดเอเชีย เริ่มต้นเมื่อปี 2559 ซึ่งทํางานร่วมกับรัฐบาลประเทศต่างๆ และภาคเอกชนในอาเซียน เพื่อส่งเสริมการลงทุนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้า และเพื่อต่อยอดความพยายามและความสําเร็จ

สหรัฐหวังช่วยให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มการใช้พลังงานสะอาด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยการขับเคลื่อนให้เกิดการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนกว่า 7 พันล้านดอลลาร์ และเกิดการใช้พลังงานหมุนเวียนเกือบ 10,000 เมกะวัตต์ หรือเทียบเท่ากับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่เพียงพอสําหรับที่อยู่อาศัยประมาณ 8 ล้านหลังคาเรือน

'เดน่า เคนนีย์' หัวหน้าโครงการพลังงานสะอาดเอเชียของยูเสด กล่าวว่า แม้ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ทั่วโลก แต่โครงการของเราได้บรรลุเป้าหมายทั้ง 4 ด้านคือ การปรับปรุงวางแผนการผลิตไฟฟ้า การสนับสนุนการกำหนดโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน ส่งเสริมการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียน และส่งเสริมการทํางานร่วมกนในระดับภูมิภาค โดยระหว่างปี 2559 - 2564 โครงการนี้มีความสำเร็จ คิดเป็นมูลค่า 16.3 ล้านดอลลาร์

"ยูเสดได้ร่วมมือกับสํานักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานประเทศไทย ในการพัฒนาระเบียบและมาตรฐานทางเทคนิคเพื่อรับรองความปลอดภัยและประสิทธิภาพของระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ จะเป็นก้าวสําคัญนําไปสู่การการใช้งานแบตเตอรี่ใช้ในรถยนต์อีวี ส่งผลให้เกิดการใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น ช่วยลดมลพิษจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนผานของประเทศไทยไปสู่ประเทศที่มีความเป็นกลาง ทางคาร์บอน (Carbon-neutral country)" เคนนีย์ ระบุ

เคนนีย์ กล่าวในตอนท้ายว่า ยูเสดยังได้จัดทําและเผยแพร่แบบจําลองทางการเงินสําหรับโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่

โครงการพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา โครงการพลังงานลม และโครงการพลังงานชีวมวล ซึ่งมีการดาวน์โหลดมากกวา ่ 3,000 ครั้ง

เพื่อช่วยให้ผู้พัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนสามารถระบุปัจจัยสําคัญที่ส่งผลต่อการทํากำไร และการเป็นที่ยอมรับของแหล่งเงินทุนในการดําเนินโครงการพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย