'120 วัน' ลุ้น 'เปิดประเทศ' ได้จริงหรือ ?

'120 วัน' ลุ้น 'เปิดประเทศ' ได้จริงหรือ ?

เมื่อนายกฯ ประกาศ'เปิดประเทศ' ใน '120 วัน' ท่ามกลางการเฝ้าระวัง 'โควิด-19' กลายพันธุ์อย่าง 'สายพันธุ์เดลต้า' ที่อัตราแพร่แรงกว่าสายพันธุ์อัลฟ่า และความพยายามปูพรม 'ฉีดวัคซีน' ขณะที่ผู้ป่วยอาการหนักและใส่ท่อหายใจยังคงตัว หลายคนลุ้นว่าจะสำเร็จหรือไม่

ระหว่างที่ไทยมีเป้าหมาย '120 วัน' ในการ 'เปิดประเทศ' พร้อมกับมีมติคลายล็อคกิจการ กิจกรรม ปูพรมกระจายวัคซีน ขณะที่ในตอนนี้ จำนวนผู้ป่วยใหม่ยังอยู่ระดับ 2-3 พันรายต่อวัน และพบการระบาดโควิด 'สายพันธุ์เดลต้า' (อินเดีย) ที่มีจุดเริ่มต้นจากแคมป์คนงานหลักสี่ และเริ่มพบมากขึ้น ภายใต้ภาวะการทำงานหนักของบุคลากรทางการแพทย์ หลายคนยังรอลุ้นว่า '120 วัน' ข้างหน้าเราจะสามารถเปิดประเทศได้จริงหรือไม่

วานนี้ (18 มิ.ย. 64) ที่ประชุม ศบค. มีมติพิจารณาปรับพื้นที่ตามสถานการณ์การแพร่ระบาด และพิจารณามาตรการผ่อนคลายกิจกรรม สถานที่ต่างๆ หรือมาตรการคลายล็อก การจัดแบ่งโซนพื้นที่ ศบค.กำหนด 4 ระดับ ดังนี้

พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด มี 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ และ ปทุมธานี

พื้นที่ควบคุมสูงสุด มี 11 จังหวัด ประกอบด้วย ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตรัง นครปฐม ปัตตานี เพชรบุรี สงขลา สมุทรสาคร สระบุรี ยะลา และนราธิวาส

พื้นที่ควบคุม มี 9 จังหวัด ประกอบด้วย จันทบุรี นครศรีธรรมราช ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา ระนอง ระยอง ราชบุรี สระแก้ว และสมุทรสงคราม

พื้นที่เฝ้าระวังสูง มี 53 จังหวัด

162403305365

  • มาตรการผ่อนคลาย

พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด

- รวมกลุ่มกิจกรรมได้ไม่เกิน 50 คน

- ร้านอาหารเปิดได้ ไม่เกิน 23.00 น. และร้านที่ติดแอร์ นั่งได้ไม่เกิน 50%

- สถานที่แข่งขันกีฬา, ที่เล่นกีฬา ยังปิด ยกเว้นการเล่นกลางแจ้ง หรือที่มีอากาศถ่ายเท

พื้นที่ควบคุมสูงสุด

- ห้ามทำกิจกรรมกลุ่มเกิน 100 คน

- ห้าง, ศูนย์การค้าเปิดได้ตามปรกติ

พื้นที่ควบคุม

- ห้ามจัดกิจกรรมที่มีรวมกลุ่มเกิน 150 คน

- สถานที่เล่นกีฬา เปิดได้ทุกประเทศ

พื้นที่เฝ้าระวังสูงสุด

- ห้ามจัดกิจกรรมรวมกลุ่ม มากกว่า 200 ราย

- ที่เหลือสามารถใช้ชีวิตได้เกือบเหมือนปรกติ

162403305324

  • '120 วัน' เดิมพัน 'เปิดประเทศ'

ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.) ประกาศโรดแมพที่จะเดินหน้าต่อไป เพื่อเริ่มการพลิกฟื้นจากวิกฤต 'โควิด-19' ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ตั้งเป้าเปิดประเทศทั้งประเทศ ให้ได้ภายใน '120 วัน' นับจากวันนี้ ส่วนเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญๆ หากพร้อมได้เร็วกว่า ก็ควรทยอยเปิดให้ได้เร็วกว่านั้น ระบุว่า ตั้งเป้า ประเทศไทยต้อง 'เปิดประเทศ' ภายใน '120 วัน' จะเริ่มนำร่องที่จังหวัดภูเก็ต ที่เตรียมผ่อนคลายบางมาตรการ และเปิดรับนักท่องเที่ยวเข้ามาแบบ Sandbox

นักท่องเที่ยวที่ 'ฉีดวัคซีน' ครบโดส เรียบร้อยแล้ว ควรเดินทางเข้าประเทศไทยได้ โดยไม่ต้องกักตัว และไม่ต้องมีเงื่อนไขข้อห้ามที่สร้างความยากลำบาก รวมทั้งคนไทยที่เดินทางไปต่างประเทศ หากเป็นคนที่ 'ฉีดวัคซีน' ครบโดสแล้ว ก็ควรที่จะสามารถเดินทางกลับเข้าประเทศของตัวเองได้ โดยไม่ต้องกักตัวเช่นเดียวกัน

ในส่วนของสถานที่ทำงาน และธุรกิจร้านค้าต่างๆ ควรต้องกลับมาเปิดทำการได้ การเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ ควรทำได้ โดยไม่มีข้อห้ามหรือข้อบังคับแบบเหมารวมทั้งจังหวัด ที่จะสร้างความยากลำบากอีก ยกเว้นหากมีสถานการณ์ร้ายแรงใหม่เกิดขึ้น หรือมีความจำเป็นจริงๆ ก็ให้พิจารณาเป็นกรณีไป

162403409385

  • ภูเก็ต 'ฉีดวัคซีน' เข็มแรก 63% ของประชากร

สำหรับ ภูเก็ต ที่พร้อมเปิด Phuket Sandbox 1 ก.ค. 64 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานผลการ 'ฉีดวัคซีน' โควิด-19 ของจังหวัดภูเก็ต เกิน 60% ของประชากรในพื้นที่ ซึ่งมีจำนวนประชากรทั้งหมด 547,584 คน โดยข้อมูล ณ วันที่ 16 มิ.ย. 64 มีผู้ที่ได้รับวัคซีน 1 เข็ม จำนวน 346,855 คน (ร้อยละ 63.3)

ผู้ที่ได้รับวัคซีน 2 เข็ม จำนวน 165,439 คน (ร้อยละ 30.2) และจำนวนประชากรที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนเหลืออีก 119,732 คน โดยแผนการฉีดวัคซีนจะต้องฉีดเข็มที่ 1 ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2564 และแผนฉีดเข็มที่ 2 ต้องให้แล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม 2564

ส่วนการเตรียมพร้อมเปิดรับนักท่องเที่ยว Phuket Sandbox ในวันที่ 1 ก.ค. 64  ขณะนี้ มีโรงแรมที่พักในจังหวัดภูเก็ตที่ผ่านการประเมินมาตรฐาน SHA และมีพนักงานของสถานประกอบการได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม ซึ่งจะได้รับสัญลักษณ์เป็น SHA+ มีจำนวนทั้งสิ้น 280 แห่งแล้ว ทั้งนี้ หากมีการระบาดของโรคโควิด-19 จนพบผู้ติดเชื้อเกิน 13 รายต่อวัน อาจจะต้องพิจารณายกเลิกแผนการดำเนินงาน Phuket Sandbox

162403305332

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

นายกฯออกแถลงการณ์ ตั้งเป้า 'ไทย' ต้องเปิดประเทศภายใน 120 วัน

นายกฯลุยแผนเปิดประเทศลงพื้นที่ภูเก็ต 24 มิ.ย.-ตรวจความพร้อมรับนักท่องเที่ยว

เปิดแผนกระจายวัคซีนโควิด-19 เดือนมิถุนายน

เปิดแผน! จัดซื้อ’วัคซีน’ ชิโนแวค ท่วม 47.5 ล้านโดส

 

  • 'โควิด-19'กทม. เฝ้าระวัง 83 คลัสเตอร์

ทั้งนี้ เมื่อมาดูที่การระบาด โดยเฉพาะใน พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด มี 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทหมานคร นนทบุรี สมุทรปราการ และ ปทุมธานี ล่าสุดวันนี้ กทม. พบผู้ป่วยรายใหม่ 867 ราย สะสม 57,688 ราย นนทบุรี 138 ราย สะสม 9,386 ราย สมุทรปราการ 239 ราย สะสม 11,754 ราย และ ปทุมธานี 93 ราย สะสม 5,956 ราย

162403337614

สำหรับสถานการณ์ 17 มิ.ย. 64 กรุงเทพมหานคร พบคลัสเตอร์ 'โควิด -19' ใหม่ 1 คลัสเตอร์ ในพื้นที่เขตบางนา โรงเรียนพลาธิการทหารเรือ โดยพบผู้ติดเชื้อจำนวน 37 ราย ซึ่งเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันดำเนินมาตรการเพื่อควบคุม และเฝ้าระวังการแพร่ระบาดจากคลัตเตอร์ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลล่าสุด กรุงเทพมหานคร มีคลัสเตอร์โควิด-19 ที่เฝ้าระวังทั้งหมด 83 คลัสเตอร์

  • ผู้ป่วยหนัก ใส่เครื่องช่วยหายใจ

หากย้อนกลับไปดูที่ข้อมูลผู้ป่วยอาการหนัก และ ใส่เครื่องช่วยหายใจ ตั้งแต่ต้นเดือน มิถุนายน ที่ผ่านมาจะพบว่า ระดับของผู้ป่วยรายใหม่ ซึ่งแตะที่ 2 – 3 พันรายต่อวัน เสียชีวิตอยู่ในระดับ 30-40 ราย และมีอัตราผู้ป่วยอาการหนัก ใส่เครื่องช่วยหายใจ เกือบจะคงที่ต่อเนื่องมากว่าครึ่งเดือน

1 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,230 ราย
  • ผู้เสียชีวิต 38 ราย
  • อาการหนัก 1,236ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 378 ราย

2 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,440 ราย
  • เสียชีวิต 38 ราย
  • อาการหนัก 1,247 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 381 ราย

3 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,886 ราย
  • เสียชีวิต 39 ราย
  • อาการหนัก 1,208 ราย
  • ส่เครื่องช่วยหายใจ 373 ราย

4 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,631 ราย
  • เสียชีวิต 31 ราย
  • อาการหนัก 1,182 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 376 ราย

5 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,817 ราย
  • เสียชีวิต 36 ราย
  • อาการหนัก 1,195 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 361 ราย

6 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,671 ราย
  • เสียชีวิต 23 ราย
  • อาการหนัก 1,209 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 361 ราย

7 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,419 ราย
  • เสียชีวิต 33 ราย
  • อาการหนัก 1,233 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 355 ราย

8 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,662 ราย
  • เสียชีวิต 28 ราย
  • อาการหนัก 1,281 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 359 ราย

9 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,680 ราย
  • เสียชีวิต 35 ราย
  • อาการหนัก 1,286 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 355 ราย

10 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,310 ราย
  • เสียชีวิต 43 คน
  • อาการหนัก 1,295 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 359 ราย

11 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,290 ราย
  • เสียชีวิต 27 ราย
  • อาการหนัก 1,287 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 352 ราย

12 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,277 ราย
  • เสียชีวิต 29 ราย
  • อาการหนัก 1,242 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 362 ราย

13 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,804 ราย
  • เสียชีวิต 18 ราย
  • อาการหนัก 1,215 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 351 ราย  

14 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,355 ราย
  • เสียชีวิต 17 ราย
  • อาการหนัก 1,261 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 360 ราย

15 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,000 ราย
  • เสียชีวิต 19 ราย
  • อาการหนัก 1,249 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 365 ราย

16 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,331 ราย
  • เสียชีวิต 40 ราย
  • อาการหนัก 1,306 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 364 ราย

17 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,129 ราย
  • เสียชีวิต 30 ราย
  • อาการหนัก 1,313 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 376 ราย

18 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,058 ราย
  • เสียชีวิต 22 ราย
  • อาการหนัก 1,360 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 378 ราย

  • เตียงรองรับผู้ป่วยโควิด-19 มีเท่าไหร่

ทั้งนี้ ข้อมูล จากกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ประเทศไทยมีไอซียูรวมทั้งหมดประมาณ 6,000 เตียง และมีเครื่องช่วยหายใจที่สามารถใช้ในห้องไอซียู ประมาณ 10,000 เครื่อง แบ่งเป็นชนิดมีศักยภาพสูงสุดช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของแพทย์ ใช้งานในระดับวิกฤตสูงสุด 4,000 เครื่อง และกลุ่มขีดความสามารถสูง มีความซับซ้อนขึ้น มีระบบการวัดผลมากขึ้นแสดงผลใช้งานหลากหลายอีกประมาณ 6,000 เครื่อง

ภาพรวมของเตียง เดือนเมษายน 2564 ทุกชนิดทั่วประเทศ ทั้งหมด 40,524 เตียง

  • ห้องความดันลบ (AIIR) 704 ห้อง
  • ห้องเตียงรวมความดันลบ (Modified AIIR) 1,688 เตียง
  • ห้องแยก (Isolated room) 9,206 ห้อง
  • หอผู้ป่วยรับเฉพาะกลุ่มโควิด (Cohort ward) 22,435 เตียง
  • ฮอสพิเทล (Hospital) 158 เตียง
  • ไอซียู (Cohort ICU) 6,333 เตียง

สำหรับใน กทม. และปริมณฑล แยกตามสังกัด รพ. พบว่า มีทั้งหมด 16,422 เตียง ได้แก่

  • กรมการแพทย์ เตียงทั้งหมด 413 เตียง
  • กรมควบคุมโรค เตียงทั้งหมด 157 เตียง
  • กรมสุขภาพจิต เตียงทั้งหมด 69 เตียง
  • กระทรวงกลาโหม เตียงทั้งหมด 354 เตียง
  • กรุงเทพมหานคร เตียงทั้งหมด 166 เตียง
  • โรงพยาบาลตำรวจ เตียงทั้งหมด 167 เตียง
  • โรงพยาบาลสนาม เตียงทั้งหมด 8,742 เตียง
  • โรงเรียนแพทย์ เตียงทั้งหมด 862 เตียง
  • เอกชน เตียงทั้งหมด 5,492 เตียง

สถานการณ์ รพ.สนาม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

(ข้อมูล 17 มิถุนายน 64)

  • มีเตียงพร้อมรับ 12,237 เตียง
  • ใช้อยู่ 2,917 เตียง
  • คงเหลือ 9,320 เตียง

162403361345

 

  • เตียงผู้ป่วยไอซียูแน่น

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha) โดยมีข้อความว่า ถ้ารอด …ต้องรอดทุกคนไปด้วยกัน ถ้าเราไม่โจมตีวายร้ายโควิด ด้วยการฉีดวัคซีนครอบคลุมทั้งประเทศ 70 ถึง 90% ในสองสามเดือนนี้ ทั้ง 2 เข็ม เตียงไอซียูแน่น อาการหนักที่จะรอเข้า เข้าไม่ได้

คนป่วยอาการไม่หนักมากอย่างน้อยใช้เวลา 14 วันอยู่ใน โรงพยาบาลที่ไม่ใช่เอกชน  ประเมินค่ารักษา ยา อุปกรณ์ อย่างน้อย 200,000 บาท คนป่วยที่ต้องเริ่มใช้ออกซิเจนไฮโฟล เพื่อพยุงไม่ให้ถุงลมแฟบ การรักษาเริ่มยุ่งยากขึ้น ประเมินจะสูงขึ้นเป็นเงาตามตัวและเริ่มใช้เวลาในโรงพยาบาลนานขึ้น

คนป่วยที่อาการหนักในห้องกึ่งไอซียูหรือไอซียู จะอยู่เป็นอาทิตย์ อุปกรณ์ช่วยชีวิตมหาศาล เครื่องช่วยหายใจสอดท่อและอวัยวะอื่นล้มเหลวตามมา ไต หัวใจ สมอง และอื่นๆ ใช้เวลาในโรงพยาบาลหลายอาทิตย์ถึงเป็นเดือนแน่นอนเป็นล้าน กระทบตามมาเป็นลูกโซ่คนป่วยที่ยกระดับขึ้นเป็นอาการหนักมากไม่มีที่ในไอซียูให้เข้า จริงอยู่รัฐช่วยแบ่งเบาภาระในการรักษาพยาบาล แต่เป็นเงินของคนไทยทั้งประเทศ

"น้องๆ พยาบาล หมอ เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายทำงานหนัก มาก ในโรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์อาจยังดีกว่าโรงพยาบาลในพื้นที่ ในจังหวัดที่รับภาระหนักขึ้นอีกหลายเท่า วัคซีน ความระมัดระวังตัวมีวินัยของคนไทยทุกคน ถึงจะ'ฉีดวัคซีน' แล้วก็ตาม สงครามครั้งนี้ยังไม่จบ ถ้ารอดต้องรอดทุกคนไปด้วยกัน"

  • ไทย 'ฉีดวัคซีน' 7.2 ล้านโดส

กลับมาดูที่สถานการณ์การ 'ฉีดวัคซีน' โควิด-19 ในประเทศไทยล่าสุด 18 มิ.ย. 64 

จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม ตั้งแต่ 28 ก.พ. - 17 มิ.ย. 2564

จัดสรรทั้งหมด 8.5 ล้านโดส

ผู้ได้รับวัคซีนสะสม 7,219,668 โดส

เข็มที่ 1 จำนวน 5,252,531 ราย

เข็มที่ 2 จำนวน 1,967,137 ราย

162403337772

 

  • จับตา 'สายพันธุ์เดลต้า' (อินเดีย)

ขณะที่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  เปิดเผยความคืบหน้าการตรวจหาสายพันธุ์'โควิด-19' ในไทย เมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 64 โดยระบุว่า อัตราการพบผู้ติดเชื้อ'โควิด-19' 'สายพันธุ์เดลต้า' (อินเดีย) เพิ่มขึ้นในหลายจังหวัด แต่ทั้งหมดยังเชื่อมโยงกับพื้นที่แรกที่พบคือจากกลุ่มคนงานที่แคมป์คนงานหลักสี่ กทม.

โดยข้อมูลจากการตรวจแยกสายพันธุ์ ในรอบการระบาดเดือน เมษายน ที่มีการสุ่มตรวจจากกลุ่มตัวอย่าง 5,500 ราย พบ 4,528 ราย เป็นสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) คิดเป็นร้อยละ 89.6 ส่วน 'สายพันธุ์เดลต้า' (อินเดีย)  496 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.6 และ สายพันธุ์เบต้า (แอฟริกาใต้) 31 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.6

ยังมีการพบคลัสเตอร์ใหม่ 'สายพันธุ์เดลต้า' (อินเดีย) ในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยข้อมูลพบมีกลุ่มผู้ติดเชื้อ แล้วกว่า 10 ราย เป็นกลุ่มคนไข้ ที่เข้ารับการรักษาตัว  แต่ยังต้องรอข้อมูลการสอบสวนโรคอีกครั้งว่ามีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับคลัสเตอร์แคมป์คนงานหลักสี่ หรือไม่

มีการคาดการณ์ ว่าประเทศไทย'สายพันธุ์เดลต้า' (อินเดีย) จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเหมือนสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) คาดการณ์อีก2-3 เดือนข้างหน้า 'สายพันธุ์เดลต้า' (อินเดีย) และสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) จะมีความใกล้เคียงกัน ต้องจับตาว่าจะมีผลต่อเรื่องการเสียชีวิต และมีผลต่อวัคซีนมากน้อยขนาดไหน ขณะนี้ 'สายพันธุ์เดลต้า' (อินเดีย) มีความไวในการแพร่ระบาดมากกว่าสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ)  40%

ขณะนี้ 'สายพันธุ์เดลต้า' (อินเดีย) ในไทยขณะนี้ ถือว่า ยังทรงตัว แต่ก็ได้เฝ้าระวัง หากพบว่ามีอัตราการแพร่ระบาดสูง เช่น จากสัปดาห์ละ 9% เป็น 12-15% อาจต้องมีการพิจารณาแนวทางการขยับระยะห่างการรับวัคซีนเข็ม 1 และเข็ม 2 แต่ขณะนี้วัคซีนช่วยได้ในระดับหนึ่ง การฉีดมากตอนนี้ยังเป็นสิ่งจำเป็น

  • หวั่นเชื้อกลายพันธุ์ ซ้ำเติมเศรษฐกิจ

ที่ผ่านมา  “ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา” คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวภายหลังการ แถลงสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เรื่องควรรู้เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ผ่านระบบ Zoom โดยระบุว่า การเดินหน้า โมเดล ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ที่จะเปิดในวันที่ 1 ก.ค. 64 นี้ โดยส่วนตัวเห็นว่ายังเร็วไป แต่คนที่มีอำนาจในการตัดสินใจก็คงพิจารณาในส่วนตรงนั้น ตอนนี้มีการเตรียมการเพื่อเปิด 'ภูเก็ต' เพื่อดึงเศรษฐกิจกลับมา โดยมีการนำวัคซีนเข้าไปฉีดให้เยอะเพื่อให้มีภูมิคุ้มกัน และเปิดให้ต่างประเทศเข้ามา เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ

แต่ที่ห่วงไม่ได้เฉพาะคนที่'ฉีดวัคซีน' แต่ความพร้อมของจังหวัดในการรองรับระบบต่างๆ โดยเฉพาะหากมีคนนอกพื้นที่เข้ามาและมีสายพันธุ์ใหม่ๆ เข้ามา ขอย้ำว่า วัคซีนไม่ได้ครอบคลุมทุกสายพันธุ์ทั้งหมด แม้ว่าส่วนใหญ่ยังครอบคลุม แต่หาก เชื้อกลายพันธุ์ เข้ามา แล้วคุมไม่ได้ กลไกการจำกัดพื้นที่หรือการควบคุมไม่ได้คู่ขนานกัน และยิ่งหากมองแค่ 'ฉีดวัคซีน' ครบก็ปล่อย ยิ่งเป็นสิ่งที่น่ากลัว

162403385820

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวต่อไปว่า หากเกิดการระบาดใหม่ในภูเก็ตอีก จะเป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจในภูเก็ต เพราะขณะนี้ คงเตรียมการแล้วที่จะเปิด และคงต้องมีการหาแหล่งเงินที่จะเตรียมการรองรับการเปิด หากระบาดอีกเท่ากับเงินที่ลงไปกับการหาวัตถุดิบก็จะเป็นการสูญเสีย ขณะนี้ ก็ต้องเฝ้าดูถึงระบบความเข้มงวดในการป้องกันโดยเฉพาะคนนอกพื้นที่ที่หลุดเข้ามาทำงาน ขอให้ระวังสิ่งเหล่านี้ให้ดี ยกตัวอย่าง ประเทศอังกฤษ ที่มีการเปิดประเทศพบตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น และพบเชื้อกลายพันธุ์ แทบจะทุกสายพันธุ์

นอกจากนี้ โดยปกติการเดินทางเข้ามาประเทศไทยต้องมีการกักตัว 14 วัน แต่หากมองว่าต้องการให้เป็นพื้นที่กระตุ้นเศรษฐกิจ อาจมีการปรับให้ไม่ต้องถึง 14 วัน หากเป็นเช่นนั้นถ้าเป็นบางสายพันธุ์ที่ 14 วันก็อาจไม่พอ อย่างจีนก็กำหนด 21 วันด้วยซ้ำ คงเป็นสิ่งหนึ่งที่ถ้าไม่ลองไม่รู้ แต่ถ้าลองแล้วเกิดบทเรียนก็ขอให้เป็นบทเรียน แต่ก็ยังห่วง แน่นอนในแง่วิชาการทางแพทย์ อยากให้กักตัว 14 วัน แต่หากในมองเศรษฐกิจก็จะมองว่านักท่องเที่ยวคงไม่มา