'ธรรมนัส' กระชับอำนาจ 'พปชร.' เล็งเก้าอี้ 'มท.1' ขยายฐานเสียง

'ธรรมนัส' กระชับอำนาจ 'พปชร.' เล็งเก้าอี้ 'มท.1' ขยายฐานเสียง

2ขั้ว "พปชร." แบ่งอำนาจลงตัว "ธรรมนัส" เลขาธิการพรรค เล็ง มหาดไทย ขยายฐานเสียง รับเลือกตั้ง "สมศักดิ์" นั่งประธานยุทธศาสตร์

ดีเดย์วันนี้ จะได้รู้ผลการประชุมคณะกรรมการบริหาร พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ที่จัดประชุมใหญ่ประจำปีที่ .ขอนแก่น โฟกัสหลักอยู่ที่การปรับทีมกรรมการบริหารพรรค โดยเฉพาะเก้าอี้เลขาธิการพรรค ที่มีชื่อ ..ธรรมนัส พรหมเผ่ารมช.เกษตรและสหกรณ์ รองหัวหน้าพรรค จะขยับมาเสียบแทนอนุชา นาคาศัยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

โดยการประชุมจะมี ..ของพรรคเกือบทั้งหมด รวมถึง กลุ่มสามมิตรและกลุ่มดาวฤกษ์” เข้าร่วมประชุมด้วย ขณะที่สมาชิกพรรคจะมาจากนครราชสีมา 120 คน และจากขอนแก่น 250 คน

สำหรับการปรับโครงสร้างกรรมการบริหารพรรค พปชร.ครั้งนี้  “พล..ประวิตร วงษ์สุวรรณ” รองนายกรัฐมนตรี จะใช้วิธีลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค ซึ่งส่งผลให้กรรมการบริหารต้องพ้นไปทั้งคณะ จากนั้นที่ประชุมจะเลือกตั้งกรรมหารบริหารพรรคทีมใหม่ โดยกำหนดจำนวนก่อน ขั้นตอนต่อมาจะเสนอชื่อหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค เหรัญญิก และนายทะเบียน และลงคะแนนตามลำดับ

แน่นอนว่าทุกตำแหน่งล็อกเอาไว้เรียบร้อย โดยทุกกลุ่มในพรรค เคลียร์กันจบก่อนจะถึงวันประชุม โดยพล..ประวิตรจะถูกเสนอชื่อกลับมานั่งหัวหน้าพรรคตามเดิม ส่วนตำแหน่งเลขาธิการพรรคจะเสนอชื่อ..ธรรมนัสแทนอนุชาขณะที่ตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค ผู้อำนวยการพรรค เป็นอำนาจหัวหน้าพรรคแต่งตั้งในภายหลังได้

จากเดิมรองหัวหน้าพรรคมีทั้งหมด 10 คน จะลดเหลือ 4 คน ที่วางคิวเอาไว้ดังนี้ “สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจรมว.อุตสาหกรรมสันติ พร้อมพัฒน์รมช.คลังวิรัช รัตนเศรษฐประธานวิปรัฐบาลไพบูลย์ นิติตะวัน..บัญชีรายชื่อ

ส่วน “สมศักดิ์ เทพสุทิน” รมว.ยุติธรรม หนึ่งในแกนนำกลุ่มสามมิตร จะยังอยู่ในกรรมการบริหารพรรค โดยอัพเกรดจากรองหัวหน้าพรรค ขึ้นมารับตำแหน่งประธานยุทธศาสตร์พรรคซึ่งเป็นตำแหน่งเดิมของพล..ประวิตรก่อนก้าวขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรค

นอกจากนี้ ในส่วนของรายชื่อกรรมการบริหารส่วนใหญ่ สัดส่วนแทบไม่เปลี่ยนแปลง โดยมีจักรพันธ์ พรนิมิตรและประสิทธิ์ มะหะหมัด..กทม. เข้ามาแทนโควตาณัฏฐพล ทีปสุวรรณและพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ที่ต้องคดีชุมนุมกลุ่มกปปส. จนต้องพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี และส่งผลกระทบกับตำแหน่งภายในพรรค

 การปรับโครงสร้างพรรค พปชร.ครั้งนี้ สามารถสยบความเคลื่อนไหวทุกกลุ่ม-ก๊วน เรียกได้ว่าวิน-วินกันทุกขั้ว โดยพล..ประวิตรเรียกสุริยะ-สมศักดิ์ไปหารือที่มูลนิธิป่ารอยต่อฯ ในช่วงบ่ายวันที่ 17 มิ..64 พร้อมอธิบายถึงความจำเป็น ต้องปรับตำแหน่งเลขาธิการพรรค และอยากให้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด เพื่อให้เห็นความเป็นเอกภาพ

เมื่อเสร็จสิ้นการประชุมใหญ่ พปชร.มองข้ามช็อตไปที่การเดินเกมของพล..ประวิตรที่มี..ธรรมนัสและวิรัชเป็นทหารเอกของตัวเองทั้งคู่

ความถนัดของแต่ละคน ทำให้ พล..ประวิตร มองว่าเป็นประโยชน์กับพรรค เมื่อ ..ธรรมนัสเริ่มมีความเก๋าในการทำพื้นที่ ตีหัวเมืองคู่แข่ง ด้วยสรรพกำลังที่เต็มเปี่ยม ทั้งทุน อำนาจ และบริวาร เห็นได้จากการนำทัพลงเลือกตั้งซ่อมหลายสนามที่ผ่านมา

ขณะที่ วิรัช นับว่าเก๋าเกมในสภา ช่ำชอง รู้ช่องทางจัดสรรประโยชน์ ทันเกมการเมือง ดังนั้น เมื่อทั้งคนผนึกกำลัง แรงต่อรองภายในพรรคจึงสูงลิบ

แน่นอนว่า การไฟเขียวให้ ..ธรรมนัส เป็นเลขาฯ ก็เพื่อจะได้มีอำนาจเต็มที่ในการเดินเกมการเมืองกระดานต่อไป 

การจะขึ้นสู่ตำแหน่งเลขาธิการพรรคของ ..ธรรมนัส เป็นเพียงบันไดขั้นแรกเท่านั้น เพราะเป้าหมายถัดไปคือการขยับเป็นรัฐมนตรีว่าการซึ่งเจ้าตัวพลาดหวังมาแล้วหลายครั้ง เพราะพล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เลือกจะแช่แข็ง ..ธรรมนัส ไม่ให้มีอำนาจมาก จนกลายเป็นพยัคฆ์ติดปีก

จนมีเสียงสะท้อนจากกลุ่มก๊วนของ ..ธรรมนัส ให้ได้ยินทำนองไม่ค่อยพอใจ นายกฯ ที่ไม่รับฟังความต้องการของ ..ในพรรคเท่าที่ควร จนเรื่องนี้ถูกขยายความพูดต่อๆ กันไปในวงของพรรคฝ่ายค้าน

โดยเฉพาะ คนของพรรคเพื่อไทย ที่มีความสัมพันธ์อันดีกับหลายคนในกลุ่ม ..ธรรมนัส เอามาเล่ากันอย่างสนุกสนานว่า ..พลังประชารัฐ บางส่วนรู้สึกดีกับ พล..ประวิตร เพราะดูแลลูกพรรคดี ทั่วถึง และคอยช่วยแก้ปัญหาให้ตลอด ต่างกับ พล..ประยุทธ์ ที่ส..พลังประชารัฐ บางส่วนดูจะไม่ค่อยให้การยอมรับเหมือน พล..ประวิตร อาจเพราะวางตัวห่างเหิน จนเข้าไม่ถึงความผูกพันแน่นแฟ้นจึงไม่เกิดขึ้น

เช่นเดียวกับ พล..อนุพงษ์ เผ่าจินดา ที่อยู่ในตำแหน่ง รมว.มหาดไทย ยาวนาน ทั้งที่เวลานี้เป็นเวลาของฝ่ายการเมือง มีการเลือกตั้ง แต่ก็ยังได้เป็นเสนาบดีด้วยโควตานายกฯ

ทำให้คนในพลังประชารัฐ ได้แต่มองตาปริบๆ เพราะแทนที่เก้าอี้ มท.1 จะเป็นโควตาของพรรคแต่กลับไม่เป็นเช่นนั้น อีกทั้ง พล..อนุพงษ์ เอง ก็วางตัวเหนือการเมือง คนในพลังประชารัฐแทบจะไม่ได้รับการตอบสนองใดๆ ตามที่ร้องขอ

หากแต่ พล..อนุพงษ์ ที่ทำงานในสไตล์ของตัวเอง มองคนละอย่างกับนักการเมือง จึงสร้างความไม่พอใจให้คนในพลังประชารัฐจำนวนไม่น้อยมาตั้งแต่ต้น

ถ้าจำกันได้ เมื่อครั้งปรับ ครม.ที่ผ่านๆ มา มีการโยนหินถามทาง เรื่องสูตรการโยกพล..ประวิตร ไปนั่ง มท.1 คุมมหาดไทย โดยมี ..ธรรมนัส ไปเป็น มท.2 เพื่อขยายฐานทางการเมือง และไม่ต้องสงสัยว่าสูตรดังกล่าว มีที่มาที่ไปอย่างไร

เรื่องนี้เป็นความต้องการของกลุ่มก๊วนในพลังประชารัฐ ที่มองว่า ถ้าได้โมเดลในฝันพล..ประวิตร และ ..ธรรมนัส คุมกลไกมหาดไทย จะเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลกับ..ของพรรค ในการขยายฐานเสียง

ถึงตอนนี้ เก้าอี้เลขาธิการพรรคก็ได้เป็นของ ..ธรรมนัส ชนิดนอนมา จากนี้ก็น่าสนใจในจังหวะก้าวต่อไปของ ..ธรรมนัส ที่หมายตา เก้าอี้รัฐมนตรีว่าการเป็นสเต็ปต่อไป ว่ากันว่ากระทรวงมหาดไทย คือเป้าหมายหลัก แต่จะทำอย่างไรในเมื่อ พล..อนุพงษ์ ยังไม่มีทีท่าจะยอมลุกออกจากเก้าอี้นี้  

แรงกระเพื่อมต่อไปอาจได้เห็นเกมการเมืองในพลังประชารัฐ เมื่อหลายคน หลายกลุ่มได้อำนาจและอาจผนึกกันจนคุมทิศทางพรรคได้เบ็ดเสร็จ ดังนั้นการท้าทายอำนาจพี่น้อง 2 .” ที่กุมอำนาจปรับ ครม.ในมือ อาจกลายเป็นปรากฏการณ์ที่ได้เห็นในอีกไม่นานนี้