เมื่อหุ้นไทยเข้าสู่ ‘Sell in May’ หลบภัยที่หุ้นโรงพยาบาล

เมื่อหุ้นไทยเข้าสู่ ‘Sell in May’  หลบภัยที่หุ้นโรงพยาบาล

วลีเด็ดที่ว่า “Sell in May and Go Away” เป็นที่พูดถึงขึ้นมากในช่วงนี้หลังจากตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวสวนทางกับภาวะการแพร่ระบาดของโควิด -19 จนทำให้สินทรัพย์เสี่ยงหลายประเภททำผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เกิดความตื่นตะหนกในช่วงต้นปี 2563

วลีเด็ดที่ว่า “Sell in May and Go Away” เป็นที่พูดถึงขึ้นมากในช่วงนี้หลังจากตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวสวนทางกับภาวะการแพร่ระบาดของโควิด -19 จนทำให้สินทรัพย์เสี่ยงหลายประเภททำผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เกิดความตื่นตะหนกในช่วงต้นปี 2563

ดังนั้นจึงมีการประเมินว่าช่วงเดือน พ.ค. น่าจะเห็นปรากฏการณ์ดังกล่าว คือ นักลงทุนขายหุ้นทำกำไร จากนั้นจะรอให้ตลาดปรับฐานลงถึงจุดต่ำสุด ซึ่งโดยสถิติจะใช้เวลาเป็นเดือนๆ จนกระทั่งเริ่มเห็นสัญญาณตลาดฟื้นตัว จึงค่อยเริ่มซื้อหุ้นอีกครั้ง

เมื่อย้อนหลังตัวเลขผลตอบแทนรายเดือนของตลาดหุ้นไทยในช่วง 10 ปี ย้อนหลังที่ผ่านมาก็มักจะเห็นผลตอบแทนลดลงเดือน พ.ค. มากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนอื่นๆ และถัดมาในเดือน มิ.ย.-ก.ค. จะเริ่มเห็นผลตอบแทนดัชนีปรับตัวดีขึ้น และกลายเป็น “Sell in May Buy in June-July” แทน

สำหรับในปี 2564 มีการเก็บข้อมูลออกมาว่าช่วง 3 เดือนแรกของปี (ม.ค -มี.ค) ดัชนีหุ้นไทยให้ผลตอบแทนเป็นบวกต่อเนื่องท่ามกลางการระบาดโควิดระลอก 2 ซึ่งมีผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 1.2% ,2.3% และ 6.7% ตามลำดับ

หากประเมินในมุมมองของนักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กรุงศรี ประเด็นดังกล่าวในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (2553-2562) ดัชนี SET ได้รับผลกระทบจาก “sell-in-May” และทําให้ผลตอบแทนรายเดือนเฉลี่ยลดลงมากถึง 1.7% (ต่ำที่สุดใน12เดือน)

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา(ยกเว้นปี 2563 มีความผิดปกติจาก โควิด-19) ช่วง 4 เดือนแรกของปี (ม.ค. - เม.ษ.) มักจะให้ผลตอบแทนเป็นบวกเฉลี่ย 8.3% หรือ บวกเฉลี่ย 2.8% ต่อเดือน ขณะเดียวกันผลตอบแทนในพ.ค. 10 ปีเฉลี่ยอยู่ที่ติดลบ 1.7% โดย 7 จาก 10 ปี ใน 4 เดือนแรกมีผลตอบแทนที่เป็นบวกแล้วมีผลตอบแทนที่เป็นลบใน พ.ค. จากสถิตินี้สะท้อนว่ามีโอกาสสูงที่จะเกิดเหตุการณ์ “sell-in-May”

จากสถิติกลุ่มหลักบางกลุ่มมีการปรับตัวลงตามฤดูกาลในพ.ค. กลุ่มพลังงาน, สื่อสาร และ อิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่บางกลุ่มมีผลตอบแทนสะสมในช่วงม.ค. - เม.ย. ซึ่งทําให้มีโอกาสที่มีผลตอบแทนเป็นลบสูงในช่วงพ.ค. คือ กลุ่มธนาคารและพาณิชย์ แต่ข้อมูลได้แสดงว่าหลายกลุ่มสามารถต้านทานแรงขายได้ดีในพ.ค. เช่น ขนส่ง, อาหาร, วัสดุก่อสร้าง, โรงพยาบาล , ปิโตรเคมี, ไฟแนนซ์, สื่อ, ท่องเที่ยวและธุรกิจการเกษตร

ปีนี้ SET เพิ่งฟื้นจากการขายที่รุนแรงในปี 2563 และตอนนี้ยังอยู่ช่วงการระบาดระลอก 3 อย่างรวดเร็ว  ซึ่งอาจทําให้ SET ไปอยู่ในจุดที่มีปัจจัยเฉพาะ  โดยผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน (YTD) ของ SET และรายกลุ่มอยู่ในระดับที่ดี คือ บวก 8.5% จึงทำให้เดือนพ.ค. อาจเป็นเดือนที่อันตราย หากแรงขายแบบตื่นตระหนกไม่สามารถดึงหุ้นไทยให้ลงได้มากพอก่อนสิ้นเดือนเม.ย.

ผลกระทบรายกลุ่มหุ้นช่วง พ.ค. จากสถิติไม่ใช่ทุกกลุ่มที่มีผลของ “sell-in-May” จากกลุ่มแรก กลุ่มที่มักจะมี ผลตอบแทนเป็นลบในเดือน พ.ค. ไม่ว่าผลตอบแทนในช่วงม.ค.-เม.ย. จะเป็นอย่างไรก็ ตาม คือ กลุ่มพลังงาน 9 ใน 10ปี, กลุ่มสื่อสาร 7 ใน10 ปี และกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ 8ใน 10 ปี

กลุ่มที่มีผลตอบแทนแย่หากผลตอบแทนสะสมในช่วง ม.ค. - เม.ย. แข็งแกร่ง กลุ่มธนาคาร และ พาณิชย์ ทางบล.กรุงศรี วางกลยุทธ์ลงทุนในช่วงดังกล่าวเพื่อปกป้องผลตอบแทนของพอร์ตที่นักลงทุนได้สะสมตั้งแต่ต้นปี 2564 และจาก โควิด-19ในเวลาเดียวกัน มองการถือหุ้นในกลุ่มที่ไม่อ่อนไหวต่อ “sell-in-May” และได้ประโยชน์จากจํานวนผู้ติดเชื้อที่สูงขึ้นจะเป็นกลยุทธ์ที่ดี คือ หุ้นกลุ่ม โรงพยาบาลเป็นกลุ่มที่โดดเด่น

โดยมีหุ้นแนะนำคือ บริษัท บางกอก เชน ฮอสปิทอล จำกัด (มหาชน) หรือ BCH, โรงพยาบาลจุฬารัตน์ จำกัด (มหาชน) หรือ CHG และ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BDMS