จุรินทร์”เร่งแผนผลไม้ปี64 จากสวนสู่เส้นทาง“การส่งออก”

จุรินทร์”เร่งแผนผลไม้ปี64  จากสวนสู่เส้นทาง“การส่งออก”

ปฎิทินว่าด้วยช่วงเวลา“ผลไม้”ที่สำคัญออกสู่ตลาด ในปี 2564 กำลังส่งสัญญาณว่า ช่วง เม.ย.และอีก 2-3 เดือนจากนี้ เป็นช่วงพีคของผลผลิตที่จะออกสู่ตลาด หากเป็นสินค้าอื่นก็แค่เอาของที่ยังขายไม่ได้นำไปเก็บไว้ในโกดัง แต่ “ผลไม้” เป็นสินค้าที่มีอายุสั้น

ปฎิทินว่าด้วยช่วงเวล“ผลไม้”ที่สำคัญออกสู่ตลาด ในปี 2564 กำลังส่งสัญญาณว่า ช่วง เม.ย.และอีก 2-3 เดือนจากนี้ เป็นช่วงพีคของผลผลิตที่จะออกสู่ตลาด  หากเป็นสินค้าอื่นก็แค่เอาของที่ยังขายไม่ได้นำไปเก็บไว้ในโกดัง แต่ “ผลไม้” เป็นสินค้าที่มีอายุสั้น หากจัดการไม่ดี ความพยายามทั้งปีของชาวสวนอาจมีค่าเท่ากับความ“สูญ-เสีย”

กระทรวงพาณิชย์โดยจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้วางแผนดูแลผลไม้ของปี 2564 เพื่อทำให้สิ่งที่อาจจะสูญเสียพลิกกลับเป็นรายได้มหาศาล โดยเฉพาะจากการส่งออกผลไม้ซึ่งในปี 2563 ที่ผ่านมา ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19  การส่งออกผลไม้สดไทยไปยังตลาดโลก มีมูลค่า 104,257 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.44%

     จุรินทร์ กล่าวว่า ปี 2564 ผลผลิตโดยรวมของผลไม้คาดการณ์ว่าจะมีประมาณ 5.4 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 23% จากปี 2563 จึงต้องร่วมมือกันทำงานหนักเพราะผลผลิตจะออกมาก ได้มีมาตรการเชิงรุก 16 มาตรการ ในการช่วยเหลือผลไม้ไทยปี 2564 ประกอบด้วย1.เร่งรัดการตรวจรับรอง GAP ที่เป็นเอกสารสำคัญในการส่งออกผลไม้ไทย  2.จะผ่อนปรนกฎระเบียบการเคลื่อนย้ายแรงงาน เก็บผลไม้จากภาคตะวันออกไปสู่ภาคใต้ได้ด้วย

3.กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร(กอ.รมน. )จะสนับสนุนกำลังพลช่วยเก็บเกี่ยวและขนย้าย 4.ส่งเสริมการรับซื้อผลไม้ของผู้ประกอบการที่รวบรวมผลไม้ กิโลกรัม(กก.)ละ 3 บาท 

5.สนับสนุนให้มีรถเร่ไปซื้อผลไม้เพื่อนำไปขายปลีกให้กับผู้บริโภค6.สำหรับผลไม้ที่จะส่งไปขายผ่านไปรษณีย์ไทยจะช่วยสนับสนุนลดค่าใช้จ่ายให้ชาวสวน7.เปิดพื้นที่ให้เกษตรกรจำหน่ายผลไม้โดยตรงได้ที่ตลาดกลาง ตลาดสด สนามบิน ห้างค้า

8.กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องจะบังคับใช้มาตรการทางกฏหมายโดยเคร่งครัดทั้ง พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ 9.ช่วยเร่งรัดผลักดันการส่งออกผลไม้ช่วยสนับสนุนผู้ส่งออกผลไม้กก.ละ 2.50 บาท มีเป้าหมาย 60,000 ตัน10.อมก๋อยโมเดล"เกษตรพันธสัญญาซืื้อขายผลไม้ล่วงหน้า   11.การนำผลไม้ขึ้นเครื่องบิน 25 กก.ฟรี 

12.ส่งเสริมการค้าออนไลน์บนแพลตฟอร์มปีนี้ เพิ่มเป็น 11 แพลตฟอร์ม13.ส่งเสริมการขายผลไม้ในตลาดต่างประเทศอย่างเข้มข้น จัดงาน THAIFEX-ANUGA ASIA 2021 วันที่ 29 ก.ย.-3 ต.ค. และกิจกรรม Thai Fruit Golden Months ปีที่แล้วจัด 9 เมือง ปีนี้จัด 14 เมืองของจีนที่เป็นตลาดใหญ่สุดของประเทศไทย และนำผู้ประกอบการผลไม้เข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติในต่างประเทศ

14.ส่งเสริมการส่งออกออนไลน์ผลไม้ไทย จัดให้ทูตพาณิชย์ทั่วโลกจะจับคู่ธุรกิจออนไลน์ โดยทีมเซลล์แมนประเทศเป็นผู้ดำเนินการตั้งแต่เดือนมี.ค.-พ.ย.2564  เช่น จัดงาน In-Store Promotion หรือจัดตามห้างสรรพสินค้าประเทศต่างๆ เช่นอินเดียจัดในเดือนมิ.ย. และเจรจาจับคู่ธุรกิจด้วยระบบออนไลน์ 40 บริษัทส่งออกผลไม้ไทย และผู้นำเข้า 170 บริษัทจากทั่วโลกวันที่ 25 มี.ค. 2564

15.ส่งเสริมการส่งออกผลไม้ไทยในต่างประเทศในรูปแบบผสมผสานที่เรียกว่าไฮบริด ปีนี้จัด 7 ครั้งกระจายทั้งปี เพื่อส่งเสริมการส่งออกผลไม้ไทย จับคู่ซื้อผลไม้จริงด้วยระบบไฮบริดในประเทศต่างๆเช่น จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม กัมพูชา เมียนมา เอเชียใต้ อินเดียบังกลาเทศ ปากีสถาน เป็นต้น 16.เร่งการประชาสัมพันธ์ สร้างความเชื่อมั่นให้ผลไม้ไทยทำสื่อ 5 ภาษา อังกฤษ ไทย จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี 1

161869856768

“ ขอให้ทุกหน่วยงานราชการภาคเอกชนและเกษตรกรที่เกี่ยวข้องรับไปปฏิบัติโดยเคร่งครัดและทีมเซลล์แมนจังหวัด และทีมเซลล์แมนประเทศในการขับเคลื่อนผลไม้ไทยปี 2564”

ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ได้จัดทำแผนกระจายผลไม้ไทยในต่างประเทศ ทั้งออฟไลน์ ออนไลน์ และไฮบริดไลน์ (Hybrid Line) ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ “ตลาดนำการผลิต” รวม 38 กิจกรรม

161855065014

สมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP)  กล่าวว่า ล่าสุดกรมได้จัดโครงการจับคู่ธุรกิจออนไลน์ (Online Business Matching : OBM) กลุ่มสินค้าผลไม้สด แปรรูป และผลิตภัณฑ์เกษตรอื่นๆ เมื่อเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา เพื่อรองรับมาตรการกีดกันทางการค้า เร่งระบายสินค้าผลไม้สด แปรรูป และผลิตภัณฑ์เกษตรอื่นๆ สู่ตลาดโลก พร้อมเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และเพิ่มโอกาสทางการค้าระหว่างประเทศ 

โดยมีผู้ส่งออกไทย 39 บริษัท และผู้ซื้อ ผู้นำเข้า ตัวแทนจำหน่ายสินค้าเป้าหมายจากต่างประเทศ 179 บริษัท จาก 37 ประเทศ ทั่วโลกตอบรับเข้าร่วมงาน สรุปผลมีจำนวนนัดหมายจำนวน 438 คู่นัดหมาย และมีการเจรจาเป็นผลสำเร็จมากถึง 392 นัดหมาย มีมูลค่าการเจรจาการค้ามากถึง 989.61 ล้านบาท

โดยประเทศที่มีความสนใจขอเข้าร่วมเจรจาการค้ามากที่สุด ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ฮังการี อินเดีย รัสเซีย และสหรัฐ และสินค้าที่ได้รับความสนใจจากตลาดต่างประเทศสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ ทุเรียน มะม่วง มะพร้าว สัปปะรด และมังคุด ตามลำดับ

นอกจากนี้ กรมได้ทำหน้าที่สนับสนุนแผนปฎิบัติการด้านการพัฒนาผลไม้ไทย พ.ศ. 2565-2570 ว่าด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 เพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการ ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการตลาดและยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาเครือข่ายการส่งออกและระบบโลจิสติกส์