อีอีซีเปิดตัว"สมาร์ทซิตี้บ้านฉาง" เมืองอัจฉริยะ5จี แห่งแรกของอาเซียน

อีอีซีเปิดตัว"สมาร์ทซิตี้บ้านฉาง" เมืองอัจฉริยะ5จี แห่งแรกของอาเซียน

อีอีซี เปิดตัว บ้านฉาง สมาร์ทซิตี้ 5จี แห่งแรกของไทยและอาเซียน เตรียมขยายผลครอบคลุมพื้นที่ อีอีซี คาดในปี 2569 จะสร้างเม็ดเงินจากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ 5จี ได้กว่า 5 แสนล้านบาทต่อปี

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เปิดเผยว่า หลังกจาที่รัฐบาลได้เปิดประมูลคลื่นความถี่ 5 จี ไปแล้วเมือเดือนก.พ.ปีที่ผ่านมา หลังจากนั้น กพอ. ก็ได้ลงนามความร่วมมือในการวางเครือข่ายระบบ 5จี ในพื้นที่ อีอีซี กับ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จํากัด (มหาชน) หรือ เอ็นที ในช่วงเดือน พ.ย. 2563 และล่าสุดในวันนี้เขตพัฒนาพิเศาภาคตะวันออก (อีอีซี) ก็ได้นำระบบ 5จี มาใช้ในอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว โดยได้นำร่องเมืองสมาร์ทซิตี้บ้านฉางด้ายระบบ 5 จี เป็นแห่งแรกของไทย และของอาเซียน ซึ่งสมาร์ทซิตี้แห่งอื่นๆ เป็นเพียงสมาร์ทซิตี้ 4จี โดยได้เริ่มวางเสาสัญญาณ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ไปแล้ว 5 ตัน และจะทยอยให้ครบ 160 ต้น ภายใน 3 เดือน ซึ่งจะครองคลุมพื้นที่เมืองบ้านฉางทั้งหมด ส่วนงบประมาณที่ใช้ในโครงการนี้ประมาณ 300 ล้านบาท  โดยสัดส่วนการลงทุนจะแบ่งเป็น 3 ฝ่าย คือ เทศบางเมืองบ้านฉางประมาณ 30% เอ็นที 30% และจากรัฐบาล 40%

ทั้งนี้ มองว่าการที่ไทยเป็นผู้นำในเรื่องระบบ 5จี ของอาเซียน และหากเดินหน้าวางระบบได้ตามเป้าหมาย ก็คาดว่าจะทำให้เกิดเม็ดเงินลงทุนในการใช้อุปกรณ์ 5 จี และธุรกิจใหม่ๆ อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งตัวเลขที่ผู้เชี่ยวชาญต่างชาติได้ประเมิณว่าในเอเชียจะมีมูลค่าในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ 5จี กว่า 330,000 ล้านดอลลาร์ หรือ 10.5 ล้านล้านบาท ภายในปี 2569 ซึ่งคาดว่าในจำนวนนี้จะเป็นเม็ดเงินที่อยู่ในประเทศเทศไทยไม่ต่ำกว่า 5% หรือกว่า 5 แสนล้านบาทต่อปี

โดย เม็ดเงินหลัก ๆ จะมาจากการใช้ 5จี ในภาคอุตสาหกรรม ในการลงทุนระบบหุ่นยนต์ เครื่องจักรอัตโนมัติ เซ็นเซอร์ต่างๆ จะทำให้โรงงานประยหัดต้นทุนได้มากกว่า 30% หากโรงงานใน อีอีซี ที่มีกว่า 1 หมื่นโรงงาน จะเกิดการลดต้นทุนได้อย่างมหาศาล เกิดการลงทุนในระบบ 5 จีน และเกิดประสิทธิภาพการผลิตที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งยังจะเกิดธุรกิจใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ 5จี เช่น การนำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ หรือบิ๊กดาต้า ที่เก็บรวบรวมผ่านระบบ 5จี และระบบปัญญาประดิษญ์ (เอไอ) ไปให้บริการด้านการตลาด การดำเนินธุรกิจ การให้บริการ ทั้งด้านสุขภาพ ความปลอดภัย ระบบรถยนต์อัตโนมัติ และบันเทิง ซึ่งทั้งหมดนี้จะทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดด

“ที่ผ่านมาระบบเอไอ และเทคโนโลยีอัจฉริยะต่าง ๆ ได้มีมานานแล้ว แต่ทำได้แค่ระดับในห้องทดลอง หรือในพื้นที่ที่จำกัด ไม่สามารถไปใช้ในวงกว้างระดับเมืองได้ เพราะระบบ 4จี แบบเดิมมีความหน่วงสูง แต่ 5จี มีความหน่องต่ำมาก และความเร็วในการเชื่อมต่อที่แรงกว่า 4จี ถึง 100 เท่า ทำให้เทคโนโลยีเหล่านี้นำมาใช้ในชีวิตจริงได้”

ทั้งนี้ สาเหตุที่เลือก อ.บ้านฉางเป็นพื้นที่นำร่องสมาร์ทซิตี้ 5จี แห่งแรก ก็เพราะว่าเทศบาลเมืองบ้านฉาง และคนในพื้นที่มีความตื่ตตัวและความพร้อมสูงมาก โดย 3-4 ก่อนหน้านี้ บ้านฉางได้รวมตัวกันทำแผนเมืองอัจฉริยะไว้แล้ว และเมื่อ เอ็นที ได้วางโครงข่ายระบบ 5 จี เสร็จแล้ว ทำให้เดินหน้าวางเสาสัญญาณ และระบบบริหารจัดการสมาร์ทซิตี้ 5จี ได้ทันที ซึ่งจะช่วยเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่กว่า 1 หมื่นคนให้ดีขึ้น ด้วยการสร้างชุมชนปลอดภัย สิ่งแวดล้อมชุมชนยั่งยืน บริการด้านสาธารณสุขและระบบสาธารณะเพื่อการท่องเที่ยวในชุมชนด้วยเทคโนโลยี 5จี

อย่างไรก็ตาม ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ 5จี เป็นเรื่องที่ใหม่ ดังนั้น กพอ. จะต้องพิจารณาในรายละเอียด เพื่อแก้ไขปัญหาข้อกฎหมายต่าง ๆ เช่น การนำข้อมูลบิ๊กดาต้าที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงธุรกิจ และการให้บริการประชาชน ที่จะต้องไม่กระทบต่อสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งหากเป็นข้อมูลธรรมดาก็จะระบบเพียงเพศ อายุ จำนวนครั้ง โดยไม่ระบบตัวบุคคล แต่ถ้าเป็นเรื่องข้อมูลทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับโรคต่าง ๆ ก็จะต้องระบบตัวบุคคลที่ชัดเจน เพื่อเข้าไปช่วยเหลือได้รวดเร็ว แต่จะต้องมีระเบียบการดำเนินงานที่ต้องเป็นความลับสูงสุดไม่กระทบต่อสิทธิส่วนบุคคลของประชาชน รวมทั้งการวางแนวทางในการนำข้อมูบลไปดำเนินธุรกิจ

โดยบิ๊กดาต้าที่ได้ในบ้ายฉางระยะแรก เทศบางบ้านฉางจะเป็นผู้ดูแล แต่ในอนาคตข้อมูลบิ๊กดาต้าต่าง ๆ ในอีอีซี สำนักงานอีอีซี จะเป็นผู้ดูแลบริหารจัดการในรูปแบบ Data Lake  เพื่อให้ภาคเอกชนทุกฝ่ายใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อพัฒนาธุรกิจ สร้างธุรกิจ และพัฒนาแอพลิเคชั่นใหม่ ๆ ขึ้นมาได้ อย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งบิ๊กดาต้าจะเป็นเหมือนโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในโลกอนาคต ที่ภาครัฐจะต้องเข้ามาลงทุนบริหารจัดการ แต่เอกชนที่เข้ามาใช้งานอาจจะมีค่าใช้จ่างบ้างเล็กน้อย เพื่อให้ระบบขับเคลื่อนไปได้ รวมทั้งในการส่งเสริมให้เกิดธุรกิจ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ 5จี อาจจะต้องพิจารณาลดภาษีในบางส่วน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนที่รวดเร็ว

สำหรับ เมืองอัจฉริยะ คือ รูปแบบของเมืองแห่งอนาคต ที่ใช้เทคโนโลยีในการเชื่อมต่อระหว่างประชาชน ชุมชน กับระบบงานบริการของทางภาครัฐ และภาคเอกชนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด หัวใจของการเป็นเมืองอัจฉริยะที่สมบูรณ์แบบนั้น ประกอบไปด้วยการรวบรวมข้อมูลเทคโนโลยี (Internet of Things-IoT) ที่ทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกันได้อย่างง่ายดายและรวบรวมข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มาใช้ควบคู่กับการเก็บฐานข้อมูลโครงสร้างประชากรและข้อมูลทางภูมิศาสตร์จำนวนมหาศาล และนำมาวิเคราะห์แบบบูรณาการ ต่อยอดในการพัฒนานโยบายต่างๆของทางภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องนำเทคโนโลยี 5G ที่มีระบบการประมวลผล และความเร็วในการเชื่อมต่อที่แรงกว่า 4จี ถึง 100 เท่า ทั้งยังสามารถสร้างศูนย์รวมข้อมูล (Data center) เพื่อจัดเก็บข้อมูลที่มีความปลอดภัยสูงสุด และสร้างแพลตฟอร์มแสดงผล ให้หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน รวมถึงประชาชนสามารถเข้าถึงและนำข้อมูลไปใช้งานได้อย่างง่ายดายและมีประสิทธิภาพ

โดย เทศบาลตำบลบ้านฉาง จังหวัดระยอง ตั้งอยู่ระหว่างพื้นที่สนามบินอู่ตะเภา และนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเชื่อมต่อทางหลวงหมายเลข 7 หรือ มอเตอร์เวย์ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 10 ตารางกิโลเมตร ถือเป็นเมืองที่มีความสำคัญอย่างมากในการพัฒนาให้เป็นเมืองแห่งอนาคตที่อยู่ในพื้นที่ อีอีซี ยกระดับให้เป็นเมืองอุตสาหกรรมแห่งอนาคต คือ หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม ชีวภาพและเคมีชีวภาพ ดิจิทัลและการแพทย์ การบิน และโลจิสติกส์ โดยใช้ระบบอัจฉริยะครบวงจรด้วยเทคโนโลยี 5จี

ที่ผ่านมา สกพอ. และเอ็นที ได้ติดตั้งอุปกรณ์เพื่อทดสอบระบบเสาอัจฉริยะ 5จี สามารถใช้งานได้มากกว่า 10 ฟังก์ชั่น เช่น ระบบการตรวจจับระดับสารพิษในอากาศและค่าฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านฉาง ตลอด 24 ชั่วโมง และส่งข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐและเอกชน เพื่อเฝ้าระวังและสามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ทันที

ในด้านความปลอดภัย หากประชาชนที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ที่มีเสาสมาร์ทโพล 5จี เกิดอุบัติเหตุหรือประสบอันตรายรวมถึงภัยที่เกิดจากรถชน ประชาชนสามารถกดปุ่มขอความช่วยเหลือ ( SOS ) จากเสาสมาร์ทโพล 5จี ใกล้ตัวหรือแจ้งผ่านแอปพลิเคชั่นเมืองได้ด้วยตัวเอง นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ก็สามารถตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวได้จากกล้องวงจรปิดที่มีระบบปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ ) สามารถสังเกตการณ์รวมถึงการวิเคราะห์ตรวจจับใบหน้าอาชญากรหรือตรวจสอบคนหาย โดยโครงการนำสัญญาณ 5จี มาประยุกต์ใช้ในการโอนถ่ายและเชื่อมข้อมูลกับภาครัฐ เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าถึงข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ (RealTime) และช่วยเหลือได้ทันเวลา

นอกจากนี้ยังสามารถดูแลและรักษาความปลอดภัย โดยการนำโดรน 5จี ไร้คนขับทำหน้าที่บินสำรวจบริเวณ หาดและท่าเรือ หาเรือจอดซ้อน เพื่อตรวจสอบคนลอบเข้าเมือง และการเดินเรือที่ผิดกฎหมาย หรือแม้แต่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในทะเล

นายณัฐวุฒิ ศาสตราวาหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานสื่อสารไร้สาย 2 บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด ( มหาชน ) กล่าวว่า หลังจากที่บริษัทได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (เอ็มโอยู) การให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม เพื่อรองรับ ระบบสื่อสารต่างๆ และเทคโนโลยี 5จี ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ระหว่าง สกพอ. เพื่อพัฒนาการใช้โครงสร้างพื้นฐานระบบโทรคมนาคมและดิจิทัลในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ทั้งหมด รองรับระบบการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยี 5จี ที่จะช่วยภาครัฐสามารถบริหารจัดการเทศบาลตำบลบ้านฉาง จังหวัดระยองให้ไปเป็นเมืองต้นแบบ 5จี สมาร์ทซิตี้ ในอนาคต ขณะนี้ทางบริษัทโดยวางท่อ เสา สายส่งสัญญาณ ระบบไฟเบอร์ออพติกสำหรับโครงข่าย 5จี โดยเฉพาะเพื่อรองรับการให้บริการผ่านคลื่นสัญญาณย่าน High Band ความถี่ 26 GHz ที่ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ล่าสุดจาก กสทช. ซึ่งทั้งหมดถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานของบริการโทรคมนาคมที่ภาคเอกชนสามารถใช้งานได้ร่วมกัน เพื่อลดการลงทุนซ้ำซ้อนระหว่างภาครัฐกับเอกชนใช้ทรัพย์สินของรัฐให้เกิดประโยชน์สูงสุด และไม่เป็นการผูกขาดทางธุรกิจ

เทศบาลตำบลบ้านฉางถือเป็นการนำร่องเมืองอัจฉริยะแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งใช้ประโยชน์จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 5จี ให้ครอบคลุมพื้นที่ในการให้บริการมากที่สุด เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงระดับความเร็วและแรงกว่าระบบ 4จี เดิมมากกว่า 100 เท่า ทำให้ภาครัฐและภาคเอกชนและประชาชนสามารถเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างกันได้อย่างสูงสุด โดยได้นำเทคโนโลยี 5จี คอร์ ของ Mavenir Systems (Thailand) ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์เครือข่ายคลาวด์เนทีฟแบบครบวงจร (end-to-end) รายเดียวในอุตสาหกรรม การมุ่งเน้นไปที่การเร่งการเปลี่ยนแปลงเครือข่ายซอฟต์แวร์และการกำหนดนิยามใหม่ของระบบเครือข่ายสำหรับผู้ให้บริการการสื่อสาร ด้วยมาตรฐานเทคโนโลยี Open-RAN และ Open API ทำงานผ่านระบบ Cloud ที่มีความปลอดภัยสูงเพื่อควบคุมโครงสร้างพื้นฐาน 5G ให้สามารถเชื่อมต่อระบบ VoLTE, VoWiFi, Advanced Messaging (RCS), Multi-ID, vEPC และ Virtualized RAN ได้ครบถ้วน

นอกจากนี้ เอ็นที ยังได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน คือ บริษัท 5จี แคททะลิซท์ เทคโนโลยีส์ จำกัด  บริษัท แพลนเน็ต คอมมิวนิเคชั่น เอเชีย จำกัด (มหาชน) บริษัท ซิสโก้ ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จํากัด ร่วมกันจัดหาเทคโนโลยีชั้นนำจากทั่วโลกและหลากหลายเพื่อออกแบบ 5จี โซลูชั่นส์ที่ตอบโจทย์ระบบการบริหารจัดการเมืองใช้งานของเมือง เช่น การให้ข้อมูลกิจกรรมต่างๆ ในเมือง การจัดระเบียบการขนส่งและการจราจร ข้อมูลรถโดยสารสาธารณะ พื้นที่สาธารณะที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและระบบไฟทางอัตโนมัติ ระบบกำจัดน้ำเสีย เป็นต้น เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 5จี นำร่องเมืองอัจฉริยะและเตรียมพร้อมให้บ้านฉางเป็นเมืองต้นแบบ 5จี แห่งแรกของประเทศไทย ที่จะมีการพัฒนาให้ไปเป็นเมืองต้นแบบ 5จี สมาร์ทซิตี้ ในอนาคต โดยเทศบาลตำบลบ้านฉาง จังหวัดระยอง ถือเป็นเมืองนำร่องทดสอบระบบสมาร์ทซิตี้ที่ใช้เทคโนโลยี 5จี อย่างในการบริหารจัดการให้เป็นเมืองที่มีความน่าอยู่ สามารถรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เป็นที่อยู่อาศัย ลดความเหลื่อมล้ำ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกกลุ่มในพื้นที่ ลดค่าใช้จ่ายของประชาชนและเกิดการใช้ทรัพยากรของเมืองที่คุ้มค่าที่สุด

โครงการบ้านฉาง จะเป็นเมืองต้นแบบ 5จี ที่สำคัญเพื่อขยายผลเป็นการบริหารเมืองอัจฉริยะแห่งแรกของประเทศไทย ตามหลักการ 7 สมาร์ทของสำนักงานดิจิตัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ( DEPA ) ในอนาคตอันใกล้นี้