ส่องอนาคต1-3ปี  ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นงานก่อสร้างในประเทศ แบ่งเป็นงานภาครัฐและเอกชน งานก่อสร้างภาครัฐส่วนใหญ่เป็นโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน คิดเป็นสัดส่วน 82% ของมูลค่าก่อสร้างภาครัฐทั้งหมด

ทั้งนี้ ผู้รับเหมาก่อสร้างรายใหญ่มักได้เปรียบในการรับงานภาครัฐ โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ส่วนผู้รับเหมา SMEs จะมีโอกาสรับงานภาครัฐในลักษณะของผู้รับเหมาช่วง (Sub-contractors) ส่วนงานก่อสร้างภาคเอกชนกระจุกตัวในงานก่อสร้างที่อยู่อาศัย คิดเป็นสัดส่วน 54% ของมูลค่าก่อสร้างภาคเอกชนทั้งหมด

วิจัยกรุงศรีคาดว่าธุรกิจรับเหมาก่อสร้างจะเติบโตเร่งขึ้นสอดคล้องกับมูลค่าการลงทุนก่อสร้างโดยรวมที่คาดว่าจะขยายตัว 4.5-5.0% ในปี 2564 และ 5.0-5.5% ในปี 2565-2566 ปัจจัยหนุนจากการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridors: EEC) ซึ่งจะเหนี่ยวนำการลงทุนก่อสร้างภาคเอกชนให้ขยายตัวตาม อาทิ นิคมอุตสาหกรรม รวมถึงภาวะเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัวจะหนุนการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและอาคารเพื่อการพาณิชย์

มูลค่าการลงทุนก่อสร้างภาครัฐคาดว่าจะขยายตัว 6.0-6.5% ในปี 2564 และ 6.5-7.0% ในปี 2565-2566 ปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญจากการเร่งโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ต่อเนื่องตามแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่งระยะเร่งด่วนฉบับล่าสุด พ.ศ. 2561 ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานโดยรวมทั้งสิ้น 1.8 ล้านล้านบาท

 โดยโครงการสำคัญได้แก่ โครงการก่อสร้างที่เชื่อมโยงกับพื้นที่ EEC มีมูลค่าการลงทุนสูงที่สุด คิดเป็นสัดส่วน 38.6% ของมูลค่าการลงทุนก่อสร้างภาครัฐทั้งหมด ประกอบด้วย (1) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยเฟสแรกจะเริ่มในช่วง สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา (2) โครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดและแหลมฉบังเฟส 3 โดยเริ่มก่อสร้างท่าเทียบเรือและส่วนต่อขยายหลังจากถมทะเล และ (3) โครงการสนามบินอู่ตะเภา จะเริ่มก่อสร้างอาคารผู้โดยสารแห่งใหม่ อีกทั้งรัฐบาลยังเห็นชอบแผนยกระดับบางโครงการ เช่น การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเพื่อเชื่อมโยง EEC ไปสู่ภาคใต้และประเทศเพื่อนบ้าน และโครงการก่อสร้างในพื้นที่อื่นๆ ได้แก่ โครงการรถไฟทางคู่และโครงการรถไฟความเร็วสูง

มูลค่าการลงทุนก่อสร้างภาคเอกชนมีแนวโน้มทยอยฟื้นตัว โดยจะขยายตัว 1.0-1.5% ในปี 2564 แล้วเพิ่มขึ้นเป็น 1.5-2.0% ในปี 2565 และ 2.0-2.5% ในปี 2566 

ปัจจัยหนุนจาก (1) การเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นสร้างภาครัฐจะเหนี่ยวนำงานก่อสร้างภาคเอกชนให้ขยายตัวตาม (2) การก่อสร้างที่อยู่อาศัยคาดว่าผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์จะมีการเปิดโครงการใหม่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 3.0-4.0% หรือประมาณ 6.1-6.3 หมื่นยูนิตต่อปี ในช่วงปี 2564-2566 ทและ (3) โครงการ EEC จะหนุนให้เกิดการก่อสร้างโรงงานและนิคมอุตสาหกรรม โดยมีนิคมอุตสาหกรรมใหม่จำนวน 2 แห่งที่จะก่อสร้างในปี 2564 ได้แก่ นิคมฯ โรจนะหนองใหญ่ จ.ชลบุรี และนิคมฯ เอ็กโก จ.ระยอง นอกจากนี้ นิคมอุตสาหกรรมเดิมมีแผนขยายการลงทุน อาทิ นิคมฯ อมตะซิตี้ จ.ระยอง เตรียมขยายพื้นที่อีก 1,000 ไร่ เพื่อรองรับแนวโน้มการย้ายฐานการผลิตมาไทยมากขึ้น

แผนขยายการลงทุน อาทิ นิคมฯ อมตะซิตี้ จ.ระยอง เตรียมขยายพื้นที่อีก 1,000 ไร่ เพื่อรองรับแนวโน้มการย้ายฐานการผลิตมาไทยมากขึ้น โอกาสการทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในตลาดต่างประเทศ ผู้รับเหมาของไทยมีโอกาสรับงานเพิ่มขึ้นในประเทศกลุ่ม CLMV ซึ่งมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่องรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและการขยายตัวของความเป็นเมือง รวมถึงโรงงานอุตสาหกรรม อาคารสำนักงาน และที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะในประเทศเวียดนามซึ่งมีการขยายการลงทุนทั้งโครงสร้างพื้นฐานและนิคมอุตสาหกรรมจำนวนมาก รองรับกระแสการลงทุนทางตรงที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง