www.เราชนะ.com เจาะ 4 เมนู 'เราชนะ' ตรวจสอบสถานะ ทำหน้าที่อะไร?

www.เราชนะ.com เจาะ 4 เมนู 'เราชนะ' ตรวจสอบสถานะ ทำหน้าที่อะไร?

www.เราชนะ.com ส่อง 4 เมนูที่แสดงบนหน้าเว็บ 'เราชนะ' ตรวจสอบสถานะ ส่องแต่ละเมนูมีหน้าที่อะไรบ้าง? พร้อมเผยขั้นตอนอย่างละเอียด ทั้งเมนูลงทะเบียน การตรวจสอบสิทธิ การทบทวนสิทธิ และการสละสิทธิ

ชวนดูรายละเอียดต่างๆ บนเว็บไซต์ www.เราชนะ.com  ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของภาครัฐที่ทำขึ้นมาเพื่อรองรับมาตรการ "เยียวยาโควิด" ระลอกใหม่ ภายใต้ชื่อโครงการ "เราชนะ" โดยต้อง"ลงทะเบียน" รับสิทธิ "ตรวจสอบสถานะ" เงินเยียวยาดังกล่าว กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ชวนมาดูรายละเอียดปุ่มเมนูต่างๆ ที่ผู้อยากได้สิทธิ "เราชนะ" ต้องรู้ พร้อมอธิบายขั้นตอนการใช้งานของแต่ละปุ่มอย่างละเอียด

โดยหลักๆ บนหน้าเว็บไซต์นี้ประกอบไปด้วย 4 เมนู ได้แก่ ประชาชนลงทะเบียนใหม่, ตรวจสอบสถานะผู้ได้รับสิทธิ, ทบทวนสิทธิ, สละสิทธิ โดยแต่ละเมนูมีหน้าที่และการใช้งานเพื่อรับสิทธิเงินเยียวยา 7,000 บาท ดังนี้

1. ประชาชนลงทะเบียนใหม่ (แถบสีแดง)

เมนูนี้สำหรับประชาชนที่เข้าข่าย "กลุ่ม3" ใช้ในการลงทะเบียนเท่านั้น (กลุ่ม 1-2 ไม่ต้องลงทะเบียน) โดยประชาชน "กลุ่ม3" หมายถึง กลุ่มผู้ที่ไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และไม่เคยอยู่ในฐานระบบของ G-Wallet (แอพฯ เป๋าตัง) ในโครงการ คนละครึ่ง/เราเที่ยวด้วยกัน มาก่อน ซึ่งหากมีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ ก็สามารถมาลงทะเบียนผ่าน www.เราชนะ.com ได้ตั้งแต่วันที่ 29 ม.ค. - 12 ก.พ. 2564 

แต่เนื่องจากขณะนี้ โครงการ "เราชนะ" หมดเขตการลงทะเบียนไปแล้ว ดังนั้นหากผู้ใช้งานลองคลิกที่เมนูนี้ จะปรากฏข้อความว่า "ปิดรับลงทะเบียนประชาชนเข้าร่วมโครงการเราชนะ วันที่ 12 ก.พ.64 เวลา 23.00 น." ทั้งนี้ ปัจจุบัน เมนูนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ลงทะเบียนกลุ่มพิเศษ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับ ผู้ลงทะเบียนรับสิทธิที่ไม่มีสมาร์ทโฟน และอยู่ในกลุ่มเปราะบางในการขอรักสิทธิ เงินเยียวยาเราชนะ

161354500228

หากมีการเปิดให้ลงทะเบียน "รอบเก็บตก" จริงในอนาคต ก็สามารถเรียนรู้วิธีลงทะเบียนได้ดังนี้ เริ่มจากเข้าไปที่ www.เราชนะ.com แล้วคลิกที่ "ประชาชนลงทะเบียนใหม่" จากนั้นจะมีรายละเอียดของโครงการ รายละเอียดการรับสิทธิ และข้อตกลงต่างๆ ในโครงการเราชนะ ให้คลิก "ยืนยัน" ส่วนถัดมาต้องกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน จากนั้นระบบจะถามหารหัส OTP (จะมี sms ส่งมายังเบอร์มือถือที่กรอกไว้) ใส่เลข OTP ลงไป รอระบบประมวลผลสักครู่

เมื่อปรากฏข้อความว่า "ระบบได้รับข้อมูลของท่านแล้ว" ถือว่าลงทะเบียนสำเร็จ อ่านเพิ่ม : มาแล้ว! วิธีลงทะเบียน 'เราชนะ' ใครอยู่กลุ่ม 3 ต้องทำแบบนี้! หลังจากนั้นให้ทำตามขั้นตอนต่อไปคือการ "ตรวจสอบสิทธิ" โดยให้คลิกที่ปุ่มในข้อต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :  

2. ตรวจสอบสถานะผู้ได้รับสิทธิ (แถบสีน้ำเงิน)

ปุ่มถัดมา "ตรวจสอบสถานะผู้ได้รับสิทธิ" ใช้สำหรับผู้ที่เข้าข่าย "กลุ่ม3" ที่ลงทะเบียน "เราชนะ" สำเร็จแล้ว และผู้ที่เข้าข่าย "กลุ่ม2" คือกลุ่มที่เคยมีชื่อในฐานข้อมูลโครงการคนละครึ่ง/เราเที่ยวด้วยกัน ให้เข้ามากดเช็คสิทธิเราชนะ เพื่อดูว่าคุณ "ได้รับสิทธิเราชนะ" หรือ "ไม่ได้รับสิทธิเราชนะ"  ซึ่งมีวิธีการตรวจสอบสิทธิดังนี้ 

1. เข้าไปที่เว็บไซต์ www.เราชนะ.com

2. เลือกเมนู "ตรวจสอบสถานะผู้รับสิทธิ"

3. กรอกข้อมูลเพื่อ "เช็คสิทธิเราชนะ" ได้แก่ เลขบัตรประชาชน ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด

4. คลิกที่ "ตรวจสอบสถานะ"

อ่านเพิ่ม : www.เราชนะ.com เช็คสิทธิ 'เราชนะ' ลงทะเบียน กลุ่ม 3 เริ่ม 8 ก.พ.นี้

161354500228_1

หาก ตรวจสอบสถานะ เราชนะ แล้วพบว่าคุณ "ได้รับสิทธิเราชนะ" ขั้นตอนต่อไปคือ ต้องไปกด "ยืนยันตัวตน" ยืนยันสิทธิ์ ในแอพฯ เป๋าตัง อีกครั้ง โดยมีวิธีและขั้นตอนการยืนยันตัวตน ดังนี้ 

- เปิดแอพฯ "เป๋าตัง" ใส่รหัส PIN 6 หลัก แล้วกดไปที่ G-Wallet จะเห็นแถบเมนู "เราชนะ" และให้กดไปที่คำว่า "ใช้สิทธิ"

- ถัดมาเป็นรายละเอียดข้อตกลงและเงื่อนไข ให้กดคลิกหน้าข้อความ "ยอมรับเงื่อนไขการใช้บริการ" 

- จากนั้นให้ระบุ "จังหวัด" ที่ท่านพักอาศัยในปัจจุบัน พร้อมกด "ยืนยัน" จังหวัดที่เลือกไปอีกครั้ง แค่นี้ก็เสร็จสิ้น พร้อมใช้งาน "เราชนะ"

อ่านเพิ่ม : 'เราชนะ' ยืนยันสิทธิ ผ่าน 'เป๋าตัง' ก่อนรับ 7,000 เช็ควิธีที่นี่

161354789231

3. ทบทวนสิทธิ (แถบสีส้ม)

ส่วนปุ่มเมนูนี้ ใช้สำหรับประชาชน "กลุ่ม3" และ "กลุ่ม2" ที่เมื่อตรวจสอบสิทธิแล้วพบว่าตนเอง "ไม่ได้รับสิทธิเราชนะ" เนื่องจากเหตุผลว่า "ไม่ผ่านเกณฑ์รายได้พึงประเมิน" ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการใช้ข้อมูลรายได้พึงประเมิน ตามปีภาษี 2562 มาพิจารณา โดยเรื่องนี้ภาครัฐได้รับพิจารณาและแก้ไขให้แล้ว โดยให้ประชาชนสามารถยื่นขอ "ทบทวนสิทธิ" ได้ 2 รอบ พร้อมกำหนดให้ผู้ที่ต้องการทบทวนสิทธิใหม่ ให้ยื่นแบบภาษีปี 2563 ให้สรรพากรไม่เกินวันที่ 8 มี.ค.64

  •  ทบทวนสิทธิเราชนะ รอบ 1 

1. ขอทบทวนสิทธิเราชนะ วันที่ 8 ก.พ.-21 ก.พ.64 
2. ประกาศผล วันที่ 4 มี.ค.64
3. ได้เงินเข้าแอพฯ เป๋าตัง วันที่ 11 มี.ค.64

161354500287

   

  •  ทบทวนสิทธิเราชนะ รอบ 2 

1. ขอทบทวนสิทธิเราชนะ วันที่ 22 ก.พ. - 8 มี.ค.64
2. ประกาศผล วันที่ 19 มี.ค.64
3. ได้เงินเข้าแอพฯ เป๋าตัง ในวันที่ 25 มี.ค.64

   

  •  การทบทวนสิทธิสำหรับกลุ่มที่ "ไม่ผ่านเกณฑ์รายได้พึงประเมิน" 

กลุ่มที่ "เช็คสิทธิเราชนะ" แล้วระบบแจ้งเหตุผลว่า "ไม่ได้สิทธิเราชนะ เนื่องจากมีรายได้พึงประเมินเกิน 300,000 บาท ปีภาษี 2562" จะต้องทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

1. กดยื่นทบทวนสิทธิผ่าน www.เราชนะ.com ภายในวันที่ 8 ก.พ. - 8 มี.ค.64
2. ยื่นแบบแสดงรายได้ภาษีปี 2563 ทางออนไลน์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ขอยื่นทบทวนสิทธิ แต่ไม่เกิน 8 มี.ค.64

อ่านเพิ่ม : 'เราชนะ' ตรวจสอบสถานะ ยืนยันตัวตน ขอทบทวนสิทธิ์ เช็คที่นี่วันประกาศผลฯ

             ลงทะเบียน-ทบทวนสิทธิ์ ‘เราชนะ’ สองวันแรก 218,344 คน

             ทบทวนสิทธิ 'เราชนะ' ยื่นได้ตั้งแต่วันไหน แล้วจะได้เงินเมื่อไหร่?

4. สละสิทธิ (แถบสีชมพู)

ปุ่มเมนูสุดท้ายเป็นเมนูสำหรับกลุ่มข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ที่เป็นผู้ไม่มีสิทธิในโครงการ "เราชนะ" แต่เกิดความผิดพลาดของระบบ และพบว่ามีการโอนเงินเยียวยาก้อนนี้ไปยังกลุ่มข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจดังกล่าว ซึ่งเรื่องนี้ภาครัฐได้ออกมาแก้ไขปัญหาด้วยการเพิ่มปุ่มเมนู "สละสิทธิ" บนเว็บไซต์ โดยมีวิธีและขั้นตอน ดังนี้

1. เข้าไปที่เว็บไซต์ www.เราชนะ.com คลิกเลือกปุ่ม "สละสิทธิ"

2. หน้าถัดมาเข้าสู่การยื่นขอสละสิทธิ กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ได้แก่ เลขบัตรประจำตัวประชาชน, ชื่อ นามสกุล, วันเดือนปีเกิด

3. แล้วกด "ขอสละสิทธิการเข้าร่วมโครงการเราชนะ"

161354500214

หลังจากนั้น พนักงานรัฐวิสาหกิจหรือข้าราชการที่บังเอิญได้สิทธินี้ (จากความผิดพลาดของระบบ) จะต้องไปกดยกเลิกสิทธิในแอพฯ "เป๋าตัง" ในวันที่ 18 ก.พ.2564 นี้ด้วย โดยมีวิธีการคือ ในวันดังกล่าว แอพฯ เป๋าตัง จะมีแถบข้อความขึ้นมาถามว่า "ท่านยืนยันจะเข้าร่วมโครงการหรือไม่" ให้ผู้ที่เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ/ข้าราชการ ที่เข้าเกณฑ์ไม่ได้รับเงินในโครงการนี้ ต้องกด "ไม่เข้าร่วมมาตรการเราชนะ" ด้วยตนเอง ไม่เช่นนั้นจะถูกเรียกเงินคืนในภายหลัง 

อ่านเพิ่ม : 'เราชนะ' เปิดปุ่ม 'สละสิทธิ' แล้ว ข้าราชการ-รัฐวิสาหกิจ รีบกด ก่อนผิดวินัย

----------------------

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลังเราชนะ , กระทรวงการคลัง