'ประกันสังคม มาตรา 33' อดเงิน 'เราชนะ' ตกลงได้เยียวยา อะไรบ้าง?

'ประกันสังคม มาตรา 33' อดเงิน 'เราชนะ' ตกลงได้เยียวยา อะไรบ้าง?

เช็ค! "ประกันสังคม มาตรา 33" อดได้เงิน "เราชนะ" เนื่องจากไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ของโครงการ แล้วตกลงได้รับการ "เยียวยา" อะไรบ้าง?

ดราม่า "ประกันสังคม มาตรา33" ไม่ได้รับการช่วยเหลือ เพราะไม่มีสิทธิได้รับเงิน "เราชนะ" 7,000 บาท เนื่องจากคุณสมบัติไม่อยู่ในเงื่อนไขของโครงการในครั้งนี้ ที่ต้องการช่วยเหลือ "อาชีพอิสระ" "แรงงานนอกระบบ" และ "ผู้มีรายได้น้อย" ซึ่งเป็นกลุ่มของผู้ประกันตนใน "ประกันสังคม มาตรา39" และ "ประกันสังคม มาตรา40"

ทำให้หลายคนตั้งคำถามว่า แล้วคนกลุ่มที่อยู่ใน "ประกันสังคม ม.33" ได้รับความช่วยเหลืออะไรจากรัฐบ้าง ในกรณีที่ได้รับผลกระทบจาก "โควิด-19" เช่นเดียวกัน 

"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" จึงได้รวบรวมมาตราการต่างๆ จากรัฐที่ประกาศออกมาเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่อยู่ในประกันสังคม มาตรา33 ในรูปแบบต่างๆ ดังนี้

  •  เงินเยียวยา กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย "โควิด-19" 

ผู้ที่อยู่ในประกันสังคมมาตรา 33 มีสิทธิได้รับเงินเยียวยา กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย "โควิด-19" ระลอกที่ 2 ซึ่งเงินเยียวยานี้จะจ่ายให้กับ "ลูกจ้าง" ที่อยู่ใน "ประกันสังคม มาตรา 33" ที่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไข"

คือต้องเป็น "ลูกจ้าง" ที่ต้องหยุดงานกรณีกักตัวหรือราชการสั่งปิดสถานที่เนื่องจากเหตุสุดวิสัยโควิด-19 มีสิทธิได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงาน 50% ของค่าจ้างรายวัน โดยจะได้รับตลอดระยะเวลาที่มีการกักตัวหรือเฝ้าระวัง หรือมีคำสั่งปิดสถานที่ดังกล่าว (แล้วแต่กรณี) รวมกันไม่เกิน 90 วัน และถ้าเป็นการหยุดกิจการบางส่วนหรือทั้งหมด นายจ้างต้องจ่ายเงินให้กับลูกจ้างไม่น้อยกว่า 75% ของค่าจ้าง ก่อนหยุดการจ้างเป็นการชั่วคราว

โดยคำว่า "เหตุสุดวิสัย" ที่ให้มีการ "จ่ายเงินทดแทนได้" หมายถึง ภัยที่เกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อซึ่งมีผลกระทบต่อสาธารณชนถึงขนาดที่ทำให้ผู้ประกันตนไม่สามารถทำงานได้ หรือ นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ การกำหนดให้กรณีมีเหตุสุดวิสัยและหน่วยงานของรัฐสั่งปิดพื้นที่เพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดต่ออันตราย อันส่งผลให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ขั้นตอนการขอรับเงินเยียวยา กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย "โควิด-19" ระลอกที่ 2 ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่เป็นลูกจ้างในสถานประกอบการที่ถูกสั่งปิดจากรัฐ จะต้องดำเนินการเพื่อขอรับ "เงินเยียวยา" กับ "นายจ้าง" ตามขั้นตอนเบื้องต้น ดังภาพด้านล่างนี้

161112588087

นอกจากนี้ "ผู้ประกันตน มาตรา 33" ที่มีรายจ้างยังจะได้รับการ "เยียวยา" หรือ "เงินชดเชย" จากประกันสังคม ในกรณีต่างๆ ดังนี้

- ลดหย่อนเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ลูกจ้าง-นายจ้าง เหลือร้อยละ 3 ตั้งแต่ ม.ค.-มี.ค. 64

- กรณีว่างงานจากการถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินชดเชย 70% ของค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 200 วัน (จากเดิมได้ร้อยละ 50 ปีละไม่เกิน 180 วัน)

- การว่างงานจากการลาออก ได้รับเงินชดเชย ร้อยละ 45 ของค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 90 วัน (เดิมอยู่ที่ร้อยละ 30 ไม่เกิน 90 วัน)

ทั้งนี้ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคมทุกแห่งทั่วประเทศ หรือโทร.1506 (เจ้าหน้าที่ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง)

  •  โครงการ "คนละครึ่ง" 

แม้ "คนละครึ่ง" จะไม่ใช่โครงการที่ให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก "โควิด-19" โดยตรงเสียทีเดียว แต่ "คนละครึ่ง" เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ให้เปิดให้ลูกจ้างที่อยู่ใน "ประกันสังคมมาตรา 33" สามารถร่วมลงทะเบียนช่วงชิงสิทธิได้ทุกครั้งที่มีการเปิดให้ลงทะเบียน

โดยโครงการ "คนละครึ่ง" ภาครัฐจะช่วยจ่าย 50% ในการซื้อสินค้าตามที่โครงการกำหนด และร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง แต่ไม่เกิน 300 บาท/คน/วัน (รัฐ 150 เรา 150) และรวมทั้งหมดทั้งมาตรการไม่เกิน 3,500 บาท นอกจากนี้ในแต่ละไม่จำเป็นต้องใช้ให้เต็มวงเงิน 150 บาทก็ได้ ซึ่งระบบจะนำวงเงินที่เหลือไปทบให้ใช้ในวันถัดไปได้ 

ทั้งนี้ ล่าสุดสิทธิ 1.34 สิทธิของคนละครึ่งเฟส 2 รอบเก็บตกที่เปิดให้ลงทะเบียนในเช้าวันที่ 20 ม.ค. 64 ได้หมดลงหลังจากที่เปิดให้ลงทะเบียน 9 นาที ซึ่งหลังจากนี้ต้องรอลุ้นว่าหลังจากนี้ยังจะเปิดให้ลงทะเบียน "คนละครึ่ง" ในรอบต่อๆ ไป ที่ผู้อยู่ในประกันสังคมมาตรา 33 ที่ยังไม่ได้รับสิทธิ สามารถเข้าร่วมโครงการเพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายรายวันได้อีกหรือไม่

ข่าวที่น่าสนใจ : 

  •  ส่วนลด ค่าน้ำประปา ค่าไฟ และอินเทอร์เน็ต 

สำหรับการเยียวยาด้วยการ "ลดค่าน้ำ" "ลดค่าไฟ" และ "ลดค่าอินเทอร์เน็ต" เป็นโครงการที่ "ประชาชนทุกคน" มีสิทธิได้รับ รวมถึงผู้ที่อยู่ใน "ประกันสังคมมาตรา 33" ด้วย โดยโครงการนี้ไม่มีการให้เงินแบบ "เราชนะ" แต่ละให้ "ส่วน" ค่าบริการต่างๆ เมื่อมีการใช้ตามเงื่อนไข ดังนี้

1. ค่าไฟฟ้า

ลดค่าไฟฟ้า ระยะเวลา 2 เดือน ตามใบแจ้งหนี้ ตั้งแต่ กุมภาพันธ์-มีนาคม2564 ซึ่งในเรื่องนี้กระทรวงการคลังจะชี้แจงรายละเอียดต่อไป 

- บ้านที่อยู่อาศัย หากใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน ให้ใช้ไฟฟ้าฟรี 90 หน่วยแรก 

- บ้านที่อยู่อาศัย หากใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน ให้ส่วนลดค่าไฟฟ้าตามที่เงื่อนไขกำหนด 

- ประเภทกิจการขนาดเล็ก ทั้งนี้ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ให้สิทธิ์ใช้ไฟฟ้าฟรี 50 หน่วยแรก

2. ค่าน้ำประปา

ลดค่าน้ำประปาลง 10% เฉพาะบ้านอยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เป็นระยะเวลา 2 เดือน ตามใบแจ้งหนี้ ตั้งแต่กุมภาพันธ์-มีนาคม 2564 

3. ค่าอินเทอร์เน็ต

กระทรวงดิจิทัล กสทช. และผู้ประกอบการที่ให้บริการโครงข่ายอินเทอร์เน็ตที่ได้สั่งการให้มีการไปหารือกัน มีมติว่าจะ "เพิ่มความเร็วและความแรงของเน็ตบ้าน มือถือ และลดค่าใช้จ่ายผู้ใช้บริการ" ให้สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ดียิ่งขึ้น เพื่อสนับสนุนการ WFH และการให้ประชาชนสามารถโลกแอพพลิเคชั่นหมอชนะฟรี ไม่คิดค่าดาต้าเป็นระยะเวลา 3 เดือน