จับชีพจรปี 2564 สำรวจธุรกิจ 'ดาวรุ่ง ดาวร่วง' ท่ามกลางวิกฤติโควิด-19

จับชีพจรปี 2564 สำรวจธุรกิจ 'ดาวรุ่ง ดาวร่วง' ท่ามกลางวิกฤติโควิด-19

จับชีพจรปี 2564 ปีที่ยังต้องเผชิญวิกฤติโควิด-19 สำรวจธุรกิจ "ดาวรุ่ง ดาวร่วง" แห่งปี พร้อมปัจจัยที่ต้องเฝ้าระวังต่างๆ

ผ่านพ้นไปอีกปี สำหรับปี 2563 นับเป็นปีที่ยากลำบากของหลายคน รวมถึงบรรดาธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ต้องเผชิญสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโรคโควิด-19 (COVID-19) กระทั่งรัฐประกาศมาตรการล็อกดาวน์ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเสมือนการชัตดาวน์ธุรกิจ แม้จะเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่สร้างผลกระทบมหาศาล 

วิกฤติที่เข้ามาอย่างไม่ตั้งตัวและไม่มีใครรู้ว่าจะจบลงเมื่อใด ยิ่งซ้ำเติมธุรกิจขนาดเล็กและกลาง รวมถึงองค์กรขนาดใหญ่ที่ยังไม่เริ่มปรับตัว จากกระแสดิจิทัล ดิสรัปชั่น หรือกำลังปรับตัวอย่างเชื่องช้า หากฉายภาพย้อนกลับไปในปี 2563 จะเห็นบริษัทยักษ์ใหญ่ล้มหายตายจากไป ขณะเดียวกันบางกลุ่มธุรกิจกลับได้รับอานิสงส์จากวิกฤติโรคระบาดครั้งนี้

ขณะที่ปี 2564 ทั้งองค์กรธุรกิจและคนทำงานหรือพนักงาน อาจเกิดคำถามว่า ในปีนี้ธุรกิจ หรือลักษณะการทำงานรูปแบบใดจะยังคงได้ไปต่อ มีโอกาสของการเติบโต ตอบรับเทรนด์ความต้องการผู้บริโภค หรือตรงโจทย์ของการทำงานบ้าง และรูปแบบใดมีความเสี่ยงสูงหากไม่เกิดการปรับตัว

สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับคือ การแทรกซึมของเทคโนโลยีที่วันนี้อยู่รอบตัวเรา ไปจนถึงเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันแล้ว เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และยิ่งจะทวีความเปลี่ยนแปลงมากขึ้นอีก ตอกย้ำด้วยข้อมูล จากบทความทักษะแห่งอนาคตเขียนโดย รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ ที่อ้างอิงรายงานชื่อว่า The Future of Jobs Report 2020 ของ World Economic Forum ที่มีการพูดถึงเรื่องของ Double Disruption จากเทคโนโลยีและโควิด-19 

ส่งผลให้ปีนี้รูปแบบของงานและทักษะที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไปเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ องค์กรธุรกิจจะต้องลดจำนวนพนักงานลง เนื่องจากเทคโนโลยีเข้ามาทดแทนแรงงานคน ทักษะสำหรับการงานใหม่จะไม่เหมือนเดิม แม้อัตราการเพิ่มของงานใหม่จะเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังน้อยกว่าอัตรางานเดิมที่จะหายไป แน่นอนว่าหากไม่ปรับตัวจะกลายเป็นอุปสรรค และสะดุดขาตัวเองตกม้าตายได้ การปรับตัวให้ทันคือทางรอด

160949325134

ขณะที่การจัดอันดับธุรกิจดาวรุ่งประจำปีของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ก็ปรากฏกลุ่มธุรกิจที่ต้องพึ่งพิงเทคโนโลยีเกินกว่าครึ่ง

  • 10 อันดับธุรกิจ "ดาวรุ่ง" ปี 2564    มีดังนี้

1.ธุรกิจบริการทางการแพทย์และความงาม, ธุรกิจ e-commerce (ธุรกิตที่ทำการซื้อขายผ่านอิเล็กทรอนิกส์)

2.ธุรกิจแพลตฟอร์ม (ธุรกิจตัวกลางหรือตลาดกลางทางด้านอิเล็กทรอนิกส์), ธุรกิจจักทำคอนเทนต์ ธุรกิจ Youtube และการรีวิวสินค้า

3.ธุรกิจประกันภัย ประกันชีวิต

4.ธุรกิจเวชภัณฑ์ยา, ธุรกิจการขายส่งสินค้าทางเภสัชภัณฑ์และทางการแพทย์

5.ธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีวิเคราะห์และจัดกาข้อมูล (Big Data, Data Analysict)

6.ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม, ธุรกิจอาหารเสริมและสุขภาพ

7.ธุรกิจสตรีทฟู้ด และฟู้ดทรัค

8.ธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์ และเดลิเวอรี่, ธุรกิจด้านฟินเทค (Fintech) และการชำระเงินผ่านระบบเทคโนโลยี

9.ธุรกิจพลังงาน, ธุรกิจตู้หยอดเหรียญ เข่น ร้านสะดวกซัก เครื่องเติมเงิน เครื่องเติมน้ำ เป็น

10.ธุรกิจที่ปรึกษาด้านกฎหมายและบัญชี, ธุรกิจออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์ แพ็กเกจจิ้ง

นอกจากนี้ยังมีธุรกิจที่แม้ไม่ได้ติดโผ 10 อันดับดาวรุ่ง แต่ก็มีความโดดเด่นไม่แพ้กัน ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างและโครงสร้างพื้นฐาน ธุรกิจความเชื่อ ธุรกิจเกี่ยวกับทางด้านท่องเที่ยว ธุรกิจโฮสเทล modern tourism และ lifestyle tourism รวมถึงธุรกิจเกม ธุรกิจพัฒนาแอพพลิเคชั่น ธุรกิจเทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศ และอุปกรณ์ รวมทั้งผู้ให้บริการโครงข่าย และธุรกิจเครื่องสำอางและครีมบำรุงผิว 

160949333254

  

  • 10 อันดับธุรกิจ "ดาวร่วง" แห่งปี 2564   มีดังนี้

1.ธุรกิจเช่าหนังสือ

2.ธุรกิจผลิตโทรศัพท์พื้นฐาน และเครื่องโทรสาร, ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ความจำ Storage media เช่น CDs,  DVDs, Blu-Ray Discs, External Hard Drives, Memory Cards 

3.ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ และวารสาร

4.ธุรกิจร้านให้บริการอินเทอร์เน็ต, ธุรกิจคนกลาง 

5.ธุรกิจดั้งเดิมไม่มีดีไซน์ และใช้แรงงานเยอะ (เฟอร์นิเจอร์ ของเล่น)

6.ธุรกิจผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ใช้แรงงานจำนวนมากและขายในประเทศ, ธุรกิจหัตถกรรมและเฟอร์นิเจอร์ไม้ (ดังเดิมที่ไม่ได้มีการปรับตัว)

7.ธุรกิจซ่อมรองเท้า

8.ธุรกิจการค้าแบบดั้งเดิม, ธุรกิจเครื่องปั้นดินเผาและเซรามิก

9.ธุรกิจผลิตผักและผลไม้อบแห้ง

10.ธุรกิจร้านถ่ายรูป

160949331772

ซึ่งในปี 2564 กลุ่มธุรกิจต่างๆ ยังต้องเผชิญกับปัจจัยบั่นทอนอยู่หลายประการ ทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังมีอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศ ซึ่งจะกลุ่มต่อกลุ่มธุรกิจอย่างสายการบิน นำเที่ยว โรงแรม ของที่ระลึก จัดประชุม-แสดงสินค้า ผับ บาร์ สปา โรงภาพยนตร์ ร้านอาหาร-ภัตตาคาร และอสังหาริมทรัพย์แนวดิ่ง

นอกจากนี้ยังคงต้องจับตาความไม่แน่นอนของสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐกับจีน ส่วนปัจจัยภายในประเทศอย่างการเมืองก็ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนลดลงไป ทางด้านภาวะเศรษฐกิจของประเทศก็ยังคงเปราะบาง โดยเฉพาะช่วงครึ่งปีแรก 2564 อีกทั้งยังต้องเผชิญเงินบาทแข็งค่าเร็วกว่าปกติ และหนี้เสีย (NPL) ของสถานบันการเงินมีโอกาสเพิ่มสูงขึ้น 

ดังนั้นสำหรับผู้ทำงาน จะทำอย่างไรให้มีงานทำต่อไป และไม่เสี่ยงต่อการถูกให้ออกจากงาน จำเป็นต้องรู้จักทักษะที่สำคัญแห่งศตวรรษ 21 ข้อมูลจากหนังสือรวมมิตร คิดเรื่องการเรียนรู้ โดยสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ สบร. สรุปไว้ 3 ทักษะสำคัญดังนี้

1.ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม องค์ประกอบสำคัญคือ ความคิดสร้างสรรค์ ใส่ใจนวัตกรรม รู้จักแก้ปัญหาเป็น มีการสื่อสารที่ดี และเต็มใจที่จะร่วมมือ

2.ทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี คือการอัพเดทข้อมูลข่าวสาร รู้เท่าทันสื่อ รอบรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ และฉลากที่จะสื่อสาร 

3.ทักษะชีวิตและอาชีพ ซึ่งจะต้องมีความยืดหยุ่น รู้จักปรับตัว และริเริ่มสิ่งใหม่ 

การปรับตัวขนานใหม่ปี 2564 ไม่เพียงแค่องค์กร แต่รวมถึงผู้ทำงานด้วย ที่จะช่วยกันนำพาให้อยู่รอดและเติบโตต่อไปอย่างยั่งยืน

ที่มา : cebfbangkokbiznewsokmd