'ค้นพบตัวเอง' จุดสตาร์ทมุ่งสู่เส้นทางสำเร็จที่ใช่

'ค้นพบตัวเอง'  จุดสตาร์ทมุ่งสู่เส้นทางสำเร็จที่ใช่

"จุดเริ่มต้นสำคัญของการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงเกิดจากการค้นหาตนเอง" โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะดีที่สุดถ้าหากมีโอกาสได้รู้จักตัวเองตั้งแต่วัยเด็ก  เพราะก็ไม่ต้องมาทดลองผิดถูก ชอบหรือไม่ชอบให้เสียเวลา 

คำกล่าวของ "ชาลเมอร์ บราเธอรส์" ผู้เขียนหนังสือ Language and the Pursuit of Happiness เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่ามีคนจำนวนไม่น้อยค้นหาตัวเองไม่เจอ จะเรียนอะไรดี จะทำงานอะไร ทำงานที่ไหนดี จะเดินไปบนเส้นทางไหนดี?

ทำไมเราต้องรู้จักตัวเอง นักปราชญ์ในอดีตอย่าง อริสโตเติล เคยกล่าวว่า  "การรู้จักตนเองเป็นจุดเริ่มต้นแห่งปัญญา" โสกราติส  เคยกล่าวไว้ว่า "ชีวิตที่ไม่ได้ตรวจสอบ เป็นชีวิตที่ไร้ค่า" 

ปัจจุบันได้มีคนคิดค้นเครื่องมือ หรือตัววัดที่ทำให้คนได้ค้นพบตัวเอง รู้ถึงสิ่งที่ใช่ สิ่งที่ชอบ และกลายเป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มว่าไปได้สวย

ตัวอย่างเช่น  "Career Visa" (แคเรียร์ วีซ่า)  สตาร์ทอัพที่จะขอทำหน้าที่เป็นผู้ชี้ทาง แต่ความสำเร็จนั้นขึ้นอยู่กับการปูทางไปสู่อาชีพที่ชอบที่ใช่ด้วยตัวเองของเด็กแต่ละคน (Guide students to pave their own ways to success แคเรียร์ วีซ่า เป็นกิจการเพื่อสังคม  เดิมทีเป็นเพียงแพลตฟอร์มที่เป็นเหมือนจ็อบบอร์ด และว่าด้วยเรื่องการฝึกงานหรือ อินเทิร์นชิฟ แต่กลับพบว่าเด็ก ๆไม่ให้ความสำคัญ ไม่สนใจ เมื่อค้นไปค้นมาก็ได้พบว่าเบื้องลึกที่แท้จริงเป็นเพราะเด็กไม่มีเป้าหมายในชีวิต จึงเป็นที่มาของหลักสูตรที่ชื่อ แคเรียร์ ดีไซน์ ที่จะช่วยให้เด็กวิเคราะห์ ค้นหาอาชีพที่ใช่ของตัวเองใน 5 ด้าน เบื้องต้นก็จะให้น้อง ๆ เลือกอาชีพที่คิดว่าใช่มาก่อน 3 อาชีพ แล้วใช้เฟรมเวิร์คของแคเรียร์ ดีไซน์ มาวิเคราะห์ตัวเองใน 5 ด้าน และวิเคราะห์แต่ละอาชีพใน 5 ด้านด้วยเหมือนกัน จากนั้นก็เอามาเทียบกันว่ามันแมตช์กันด้านใดบ้าง และด้านไหนที่สำคัญสำคัญที่สุดต่อชีวิตของเขา อย่างไรก็ตาม แต่หัวใจสำคัญอยู่ที่ต้องให้เด็กได้ทดลองทำจริง ๆ การไม่ได้ลงไปทำเองก็ไม่มีทางรู้ว่าจริง ๆมันตอบโจทย์หรือไม่ พอพบอุปสรรคปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างทางแล้วอยากไปต่อไหม ควรต้องดูให้รอบด้านว่างานที่คิดว่าใช่มีเงื่อนไขอะไรบ้าง

ในบทความของรองศาสตราจารย์ ดร. ศิริยุพา รุ่งเริงสุข เรื่อง "ทำงานตามเส้นทางหัวใจ" ที่ตีพิมพ์ในกรุงเทพธุรกิจ ก็ได้เขียนเกี่ยวกับหลักจิตวิทยาที่จะจำแนกตนเองโดยเป็นผลงานของนักจิตวิทยามีชื่อเก่าแก่คือ "ไมเคิล มาโคบี้" ที่ทำการวิเคราะห์บุคลิกภาพของคนเราโดยใช้ปัจจัย 4 ประการก็คือ เป้าหมายของชีวิต (Life goals) แรงจูงใจ (Motivation) อัตลักษณ์ของตนเอง (Self-image) และความสัมพันธ์กับผู้อื่น (Relations with others)  และจากปัจจัย 4 ประการนี้ มาโคบี้ได้จำแนกบุคลิกภาพของคนออกเป็น 4 แบบ ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีความสนใจและความถนัดในการประกอบอาชีพต่างกัน บุคลิกภาพ 4 แบบนี้ได้แก่ ช่างฝีมือ (Craftsman)  นักรบป่า (Jungle fighter) มนุษย์บริษัท (Company man) และนักเล่นเกมส์ (Gamesman)

อาจารย์ศิริยุพาบอกว่าว่าที่เขียนบทความนี้เพราะมองว่า โลกปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ความเจริญของเศรษฐกิจการค้าทำให้เกิดธุรกิจอุตสาหกรรมใหม่ๆมากมาย และมีอาชีพใหม่ ๆเกิดขึ้นเป็นทางเลือกหลากหลายเช่นเดียวกัน ให้คนรุ่นใหม่สรรหางานที่อยากทำได้ ทว่ามีเด็กจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถทำในสิ่งที่ใจรักได้เพราะปัจจัยของครอบครัวและปัจจัยของโอกาสที่ได้รับไม่เท่าเทียมกันในเรื่องการได้การแนะแนวการศึกษาและอาชีพ ต้องยอมรับว่าประสิทธิภาพความพร้อมของครูอาจารย์ในสถานศึกษาทั่วโลกยังไม่ก้าวหน้าเที่ยงตรงมากพอที่จะรองรับจำนวนของเด็กนักเรียนนิสิตนักศึกษา อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการทำแบบทดสอบทางจิตวิทยาเพื่อประเมินทัศนะคติ

ยังมีอีกเครื่องมือชื่อว่า "เอ็นเนียแกรม" หรือที่เรียกในภาษาไทยว่า "นพลักษณ์" ที่ในปัจจุบันยังคงเป็นที่นิยม และมีความร่วมสมัย มีประโยชน์ช่วยทำให้เข้าใจตัวเองอินเนียแกรมสร้างประโยชน์ให้กับคนทุกคน ทั้งเรื่องการทำงาน เพราะเป็นเครื่องมือที่ให้มีความรู้ความเข้าใจในตัวเอง เห็นจุดอ่อน จุดที่ต้องปรับ อีกทั้งยังทำให้เข้าใจคนรอบข้างด้วยไม่ว่าสามี ภรรยา ลูก เพื่อนร่วมงาน ฯลฯ  ถึงอย่างนั้น เป็นลูกค้าองค์กรที่นิยมอบรมอินเนียแกรม   แม้เอไอและหุ่นยนต์เริ่มเข้ามาทำงานแทนคนแล้วก็ตาม  แต่ความเป็นจริงมีอยู่ว่าองค์กรจะประสบความสำเร็จได้ก็เพราะ "คน"  ซึ่งปัญหาที่องค์กรต้องเผชิญเป็นเรื่องความแตกต่างของคน แต่ละองค์กรไม่ได้มีคนทำงานแค่คนเดียว องค์กรใหญ่บางแห่งก็มีคนถึงหลักหมื่นเลยก็มี  จึงมักจะมีความขัดแย้ง ความไม่เข้าใจ การไม่สามารถทำงานเป็นทีม

และมี"ลายผิววิทยา" ศาสตร์ผ่านการค้นคว้าและพัฒนามายาวนานกว่า 200 ปีแล้ว ทว่าเวลานี้มันยังคงเป็นเรื่องใหม่และยังต้องสร้างความเข้าใจ ว่ามันมีเหตุมีผลไม่ได้เป็นเรื่องงมงาย พิสูจน์ได้ ในการนำเอามาใช้เพื่อค้นหา ทำความรู้จักตัวตนและศักยภาพ(ความถนัด)ที่แท้จริงของตัวเราเอง ลายผิวของแต่ละคนนั้นจะเริ่มปรากฎตั้งแต่ยังเป็นทารกอยู่ในครรภ์มารดา ช่วงสัปดาห์ที่ 13 -24 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับการก่อตัวของสมองของทารก  ลายผิวความสัมพันธ์กับสมองอย่างมีนัยสำคัญ   และมันจะไม่เปลี่ยนแปลงรูปแบบไปตามกาลเวลา อีกทั้งจะแตกต่างกันไปแต่ละคนจะมีรูปแบบเฉพาะของตนเอง  และความลับของสมอง ที่ทุกควรรู้ก็คือ แม้นักวิทยาศาสตร์มีการยอมรับว่าพันธุกรรมมีผลกับระดับสติปัญญาของมนุษย์  แต่ก็เป็นเพียงส่วนเดียวเท่านั้นเพราะมีงานวิจัยใหม่ ๆที่ยืนยันว่า  การฝึกฝนและการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ  สามารถทำให้สมองของเรามีประสิทธิภาพดีขึ้นได้อย่างมาก  มีบางส่วนของสมองต้องใช้ประสบการณ์กระตุ้นเท่านั้น จึงจะทำให้สมองดีขึ้น เช่น การมอง การฟัง การสัมผัส การเคลื่อนไหว     แต่คนหรือมนุษย์เปลี่ยนตัวเองได้ สามารถพัฒนาจุดแข็ง พิชิตจุดอ่อนที่มีอยู่เพื่อให้ชีวิตประสบความสำเร็จได้ การค้นพบว่าชอบอะไร  นำไปสู่ความสุขได้ที่ทำในสิ่งตัวเองเป็น ตัวเองชอบ โดยไม่ต้องพยายาม ไม่ต้องฝืนทำ ประเด็นสำคัญก็คือ แม้คนคิดอยากจะเปลี่ยนตัวเองหลายต่อหลายครั้งก็ไม่รู้ว่าจะเปลี่ยนอะไร เพราะไม่รู้จุดอ่อน จุดแข็งที่มีอยู่