แคสเปอร์สกี้ เผย 'แรนซัมแวร์' โจมตีไทย 85,384 ครั้ง 

แคสเปอร์สกี้ เผย 'แรนซัมแวร์' โจมตีไทย 85,384 ครั้ง 

แคสเปอร์สกี้ ประณามการการโจมตีโรงพยาบาลในประเทศไทยด้วย 'แรนซัมแวร์' พร้อมแนะนำขั้นตอนป้องกันและแก้ไข เผยปีนี้แรนซัมแวร์โจตีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 8 แสนกว่าครั้ง เป้าหมายไทย 8.5 หมื่นครั้ง 

นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของแคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “แคสเปอร์สกี้ขอประณามการโจมตีของแรนซัมแวร์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อเร็วๆ นี้ โดยมีเป้าหมายที่หน่วยงานภาคสาธารณสุข ในช่วงที่โรงพยาบาลเป็นแนวหน้าของการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การกระทำที่มุ่งร้ายเช่นนี้ควรหยุดลง อย่างไรก็ตามเราทราบดีอยู่แล้วว่าอาชญากรไซเบอร์นั้นอยู่เบื้องหลังเหตุความวุ่นวายในปัจจุบันเพื่อทำร้ายองค์กรและองค์กรต่างๆ มากขึ้น”

ในช่วงหกเดือนแรกของปี 2020 โซลูชันของแคสเปอรสกี้ตรวจพบและสกัดความพยายามในการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ 831,105 ครั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย 85,384 ครั้งถูกกำหนดเป้าหมายเป็นผู้ใช้แคสเปอร์สกี้ในประเทศไทย และพบว่า มากกว่า 39% มีเป้าหมายเพื่อเหยื่อรายบุคคล เกือบ 2% กำหนดเป้าหมายไปที่ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง และกว่า 38% กำลังมุ่งเป้าไปที่องค์กรต่างๆ 

ในช่วงวิกฤตนี้ ขอแนะนำให้ผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวข้องติดต่อประสานงานกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย เนื่องจากการกระทำนี้เป็นความผิดที่มีโทษ ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้สามารถให้ความช่วยเหลือในการตรวจสอบเหตุการณ์นี้ได้

สำหรับองค์กรและธุรกิจทั้งหมดในทุกรูปแบบ ทุกขนาด ทุกภาคส่วน แคสเปอร์สกี้ขอแนะนำขั้นตอนต่อไปนี้เกี่ยวกับวิธีดำเนินการก่อนระหว่างและหลังการโจมตีของแรนซัมแวร์ ก่อนจะถูกแรมซั่มแวร์เข้าโจมตีสำรองข้อมูล สำรองข้อมูล และสำรองข้อมูล การแบ็กอัพเป็นคาถาสำคัญ ที่เราต้องมีแบ็กอัพสำรองข้อมูลที่ใหม่เสมอ เพื่อจะได้มีข้อมูลทดแทนกรณีที่ข้อมูลสูญหายไป (จากฝีมือของมัลแวร์หรือเครื่องพังเสียหาย เป็นต้น) และเก็บไฟล์สำรองไว้บนอุปกรณ์สำรองข้อมูล รวมทั้งเก็บไว้บนคลาวด์เพื่อเป็นการสร้างเสถียรภาพความมั่นใจ และควรเป็นที่ที่สามารถเรียกข้อมูลมาใช้กรณีฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว

ให้ความรู้แก่พนักงานปลูกฝังความรับผิดชอบร่วมกันภายในองค์กร อธิบายให้เข้าใจว่ากฎระเบียบง่ายๆ เหล่านี้จะช่วยให้องค์กรเลี่ยงพ้นจากการเป็นเหยื่อของแรนซัมแวร์ได้อย่างไร ออกนโยบายควบคุมการปฏิบัติงานและพนักงานที่ครอบคลุมแง่มุมต่างๆ ของการบริหารจัดการเน็ตเวิร์กและอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งกฎการตั้งพาสเวิร์ดใหม่ การรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินล่อแหลมต่างๆ ระเบียบคุมการแอ็คเซส การป้องกันข้อมูลที่มีความอ่อนไหว และอื่นๆ