'กมธ.งบฯ64' ข้องใจงบพ่วง 'เรือดำน้ำ' อีกหมื่นล้านบาท

'กมธ.งบฯ64' ข้องใจงบพ่วง 'เรือดำน้ำ' อีกหมื่นล้านบาท

"กมธ.งบฯ64" เผยผลสรุปการประชุม ข้องใจงบพ่วง "เรือดำน้ำ" อีกหมื่นล้านบาท

เมื่อวันที่ 24 ส.ค.63  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 "กมธ.งบฯ64" สภาผู้แทนราษฎร ได้เผยแพร่เอกสารสรุปผลการประชุม ครั้งที่ 26 เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม  ที่มีนายวราเทพ รัตนากร รองประธานกมธ.ฯ คนที่สอง เป็นประธานการประชุม ซึ่งพิจารณางบประมาณของกระทรวงกลาโหม และหน่วยงานในกำกับ วงเงิน 1.15 แสนล้านบาท

โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจในส่วนของกองทัพเรือ ซึ่งเสนอของบประมาณ จำนวน  2.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งกมธ. ได้ตั้งข้อสอบถามและแสดงความเห็นในหลายโครงการที่น่าสนใจ อาทิ งบประมาณเพื่อจัดซื้อเรือดำน้ำ จำนวน 2 ลำ มูลค่ารวม 2.2 หมื่นล้านบาท ที่กมธ. ได้สอบถามรายละเอียด และเสนอแนะให้เลื่อนการขอรับงบประมาณออกไปก่อนได้หรือไม่ ขณะเดียวกันสอบถามถึงการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อจัดซื้อเรือดำน้ำลำที่ 1 พร้อมแสดงความกังวลว่าการผลิตเรือดำน้ำอาจล่าช้า เพราะประเทศจีน ซึ่งเป็นฐานการผลิตมีปัญหาการระบาดของไวรัสโควิด-19 รวมถึงสอบถามจะเสร็จทันหรือไม่เนื่องจากโครงการดังกล่าว ผูกพันกับงบประมาณอื่น กว่า 10,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการสนับสนุน อาทิ การจัดซื้อเรือเอนกประสงค์เพื่อยกคนขึ้นบกในการปฏิบัติการเรือดำน้ำ, การสร้างเรือดำ อาคารเก็บทุ่มระเบิดหรือตอร์ปิโด และหากผลิตไม่ทันภายในสัญญาควรปรับลดงบประมาณที่เกี่ยวกับโครงการซื้อเรือดำน้ำในปี 2564 รวมถึงโครงการผลิตแผนที่เรือดำน้ำและระบบอุทกศาสตร์ระยะที่ 2 งบประมาณ 199 ล้านบาท ที่ไม่รวมกับโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำ, การสร้างท่าจอดรถเรือดำน้ำระยะที่ 2

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่านอกจากนั้น "กมธ.งบฯ64" ยังสอบถามและตั้งข้อสังเกตประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจ อาทิ โครงการก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน MRO งบประมาณจำนวน 1,668 ล้านบาท สามารถชะลอได้หรือไม่, แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ โครงการพัฒนาพื้นที่ธุรกิจและบริการ เชื่อมต่อพื้นที่ท่าเทียบเรือเฟอร์รีและท่าเทียบเรือเอนกประสงค์ อ.สัตหีบ จ.ชลุบรี 1 งาน มูลค่า 54 ล้านบาท, โครงการปรับปรุงท่าเทียบเรือน้ำมัน เป็นท่าเรือเอนกประสงค์ วงเงิน 431 ล้านบาท, โครงการก่อสร้างทางวิ่งและทางขับที่2 วงเงิน  1,010 ล้านบาท

ทั้งนี้ ในรายงานสรุปผลการประชุม มีคำชี้แจงจากหน่วยงาน ต่อกรณีซื้อเรือดำน้ำ ว่า การจัดซื้อเรือดำน้ำมีความจำเป็นอย่างมากเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการป้องกันประเทศ การสร้างเรือเทียบท่าจำเป็นอย่างยิ่ง หากไม่ทำเรือไม่สามารถเทียบท่าได้

โครงการเรือดำน้ำ ครั้งแรกซื้อเรือ และได้อาวุธด้วย สามารถยิงไกลได้ ทั้งนี้จะส่งรายละเอียดเป็นเอกสาร ส่วนแผนที่หออุทกศาสตร์ เป็นแผนที่ทางยุทธการ เหตุที่ไม่รวมในโครงการจัดซื้อเพราะเป็นข้อมูลที่สำคัญหน่วยงานต้องดำเนินการเองนอกจากนั้นยังชี้แจงโครงการก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน MRO ด้วยว่า เป็นโครงการของอีอีซี กองทัพเรือเป็นหน่วยขับเคลื่อนที่แอร์บัสไม่เข้าทำตามสัญญา ทั้งนี้ได้ชะลดโครงการศูนย์ซ่อมดังกล่าวแล้ว

นอกจากนี้ ในเอกสาร ยังมอบหมายงานให้อนุกมธ. พิจารณาเพิ่มเติม คือ มอบหมายให้นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ที่ปรึกษากมธ. พิจารณาโครงการพัฒนาพื้นที่ธุรกิจและบริการ (Business Area) เชื่อมต่อพื้นที่ท่าเทียบเรือเฟอร์รี และท่าเทียบเรืออเนกประสงค์ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี จำนวน 1 งาน วงเงิน 54 ล้านบาท, โครงการปรับปรุงท่าเทียบเรือน้ามัน (POL) เป็นท่าเรืออเนกประสงค์ วงเงินทั้งสิ้นจานวน 431 ล้านบาท, โครงการก่อสร้างทางวิ่งและทางขับที่ 2 วงเงินงบประมาณท้ังสิ้นจานวน 1,010 ล้านบาท และ โครงการก่อสร้างศูนย์ซ่อมอากาศยาน MRO งบประมาณทั้งสิ้นจานวน 1,668 ล้านบาท