พิษสงโควิด บีบ 'ฟาร์มเฮ้าส์' ปูช่องทางขายใหม่รับ New Normal

พิษสงโควิด บีบ 'ฟาร์มเฮ้าส์' ปูช่องทางขายใหม่รับ New Normal

"ฟาร์มเฮ้าส์" เบอร์ 1 ขนมปังและเบเกอรี่ ปรับตัวรับ New Normal ลุย "เดลิเวอรี่" ส่งสินค้าถึงบ้าน ตอบโจทย์ผู้บริโภค เดินหน้าติดตั้งตู้จำหน่ายฟาร์มเฮ้าส์อัตโนมัติ เจาะโรงงาน โรงพยาบาล โรงเรียน หอพัก สร้างการเติบโต

แม้ตลาดขนมปังและเบเกอรี แต่หากเอ่ยชื่อแบรนด์ที่อยู่ในใจผู้บริโภค(Top of mind)ต้องยกให้ ฟาร์มเฮ้าส์ เพราะเป็นเจ้าตลาด ที่นอกจากจะมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงสุด ด้านผลิตภัณฑ์ยังมีความโดดเด่น เนื่องจากแบรนด์มักพัฒนาสินค้าใหม่ๆออกมาตอบสนองความต้องการผู้บริโภค พร้อมสร้างสีสัน ความคึกคักให้วงการเบเกอรี

ฟาร์มเฮ้าส์ เป็นเบอร์ 1 แต่การรักษาตำแหน่งผู้นำยาก เพราะนับวันคู่แข่งไล่บี้ชิงแชร์มากขึ้น ยิ่งกว่านั้น คู่แข่งรายสำคัญไม่ธรรมดา เนื่องจากมีช่องทางจำหน่ายในเครือ และเป็นช่องทางเดียวกับฟาร์มเฮ้าส์พึ่งพามากถึง 40% ของรายได้ ทำให้บริษัทต้องหาหน้าร้านใหม่ๆสร้างการเติบโต 

 ปี 2563 โรคโควิด-19 ระบาด ทุบทุกธุรกิจให้ ยอดขายตก!! ฟาร์มเฮ้าส์ กระทบเช่นกัน ส่วนภาพรวมทั้งปีจะยืนระยะโตได้อย่างไร  พัน   ใจบุญ  ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายขาย บริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด(มหาชน) ในเครือสหพัฒน์ ฉายภาพถึงการปรับตัวในการทำตลาดเกิดขึ้นหลายด้าน โดยเฉพาะการผุดบริการเดลิเวอรี่ส่งสินค้าตรงถึงบ้านผู้บริโภค เพียงสั่งซื้อสินค้าครบ 150 บาท ส่งฟรีทั่วประเทศ 

เดลิเวอรี่ เป็นกลยุทธ์ที่วางไว้นานแล้ว แต่ยังไม่ได้ริเริ่มเสียที กระทั่งโควิดเป็นปัจจัยเร่งให้บริษัทสตาร์ททันทีเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งบริษัทมีหน่วยรถจำนวนกว่า 800 คัน ทำหน้าที่กระจายและส่งสินค้ารับวิถีชีวิตใหม่หรือ New Normal

159724466745

5 ขั้นตอนสั่งซื้อฟาร์มเฮ้าส์ เดลิเวอรี่

“4 เดือนสุดท้าย เราจะรุกขยายบริการเดลิเวอรี่มากขึ้น

นอกจากนี้ มุ่งขยายตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ”(Vending machine) ของฟาร์มเฮ้าส์เพิ่มขึ้นด้วย จากปัจจุบันมีอยู่ 100 จุด ส่วนทำเลที่จะะเจาะเน้นโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน หอพัก และมีจำนวนผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย(Traffic)เฉลี่ยตั้งแต่ 300 500 จนถึง 700 คน  

ทว่า โควิดกระทบทุกอุตสาหกรรม หนึ่งในนั้นคือโรงงานบางแห่งต้องหยุดการผลิต กระทั่งยุติกิจการส่งผลกระทบต่อการติดตั้งตู้จำหน่ายสินค้าเช่นกัน ทำให้ต้องขยับขยายไปยังพื้นที่ใหม่ทดแทนพื้นที่ถูกปิด สำหรับตู้จำหน่ายฟาร์มเฮ้าส์ สร้างยอดขายราว 15,000 บาทต่อเดือน การหมุนเวียนเติมสินค้าเฉลี่ย 2 รอบต่อวัน

ตู้จำหน่ายฟาร์มเฮ้าส์เริ่มขยายมา 2 ปีแล้ว แผนเดิมเราต้องการเพิ่มจุดติดตั้งตู้ให้ได้ปีละ 100 ตู้ แต่มาเจอโควิด ทำเลโรงงานมีบางแห่งปิดตัวเราก็ถอนตู้ออกมา สำหรับข้อดีของการตั้งตู้จำหน่ายขนมปังและเบเกอรีตามโรงงานอุตสาหกรรม เพราะมีคนทำงานตลอด 24 ชั่วโมง แต่ร้านอาหารจะจำหน่ายเฉพาะกลางวัน นอกเหนือเวลาดังกล่าวเราถือเป็นโอกาสทางการตลาด ส่วนทำเลโรงเรียน ช่วงโควิดโรงเรียนจำนวนมากปิดการเรียนการสอน แม้เริ่มกลับมาเปิดทำการเรียน แต่เพียง 50% เท่านั้น เดือนสิงหาคม ต้องดูสถานการณ์อีกครั้ง

ส่วนการทำตลาดช่วง 4 เดือนสุดท้าย บริษัทยังคงออกสินค้าใหม่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค แต่ยอมรับว่าโควิดกระทบแผนงานเช่นกัน เนื่องจากปกติจะมีการออกสินค้าใหม่ราว 10 รายการ(Items)ต่อปี แต่ปัจจุบันเพิ่งออกไป 2 รายการเท่านั้น คือฟาร์มเฮ้าส์ เค้กโมจินมเนยอัลมอนด์ และเค้กโมจิดับเบิ้ลช็อกโกแลต และจะเดินหน้าออกแคมเปญการตลาด ภาพยนตร์โฆษณาสร้างแบรนด์อย่างต่อเนื่อง

อีกพิษสงโควิดเล่นงานคือการทบทวน แผนลงทุน ซึ่งปกติบริษัทมีการจัดสรรงบประมาณใช้จ่ายด้านนี้ แต่ล่าสุดนโยบายของฝ่ายบริหารได้ชะลอเพราะที่ผ่านมายอดขายสินค้าปรับตัวลดลงจากไวรัสร้าย ทำให้ช่องทางจำหน่ายบางส่วนต้องปิดให้บริการเพราะถูกล็อกดาวน์ เช่น ร้านอาหาร ภัตตาคาร ซึ่งถือเป็นกลุ่มธุรกิจฟาสต์ฟู้ด 1 ใน 4 ช่องทางขายและทำรายได้สัดส่วนราว 7% 

ตอนนี้ผู้ใหญ่กำลังทบทวนแผนลงทุนใหม่อยู่ จากเดิมเราจะมีการลงทุน

สำหรับแนวโน้มตลาดขนมปังและเบเกอรีช่วง 4 เดือนสุดท้าย จะปรับตัวดีขึ้นมากน้อยเพียงใด ยังคาดการณ์ยาก เนื่องจากกำลังซื้อผู้บริโภคปรับตัวลดลง การส่งออกไม่ดี ขณะที่การท่องเที่ยวยังชะลอตัว แม้รัฐบาลจะมีนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ แต่คนไทยมีรายได้ลดลง  

อย่างไรก็ตาม ไตรมาสแรก บริษัทมียอดขาย 1,816.72 ล้านบาท กำไรสุทธิ 413.32 ล้านบาท แต่ไตรมาส 2 ยอดขายหดตัวลง โดยการเติบโตอยู่ในอัตรา 1 หลัก 

ไตรมาสแรกยอดขายเรายังเติบโต เพราะเป็นสินค้าอาหารพร้อมทาน ทุกคนซื้อเข้าบ้านจำนวนมาก ส่งผลบวกกับฟาร์มเฮ้า พอไตรมาส 2 เริ่มมีการล็อกดาวน์ ทุกธุรกิจได้รับผลกระทบจากโควิด และพื้นที่ขายหลายแห่งของเรากระทบตรงๆ เช่น จังหวัดท่องเที่ยว ภูเก็ต สมุย โดยภาพรวมที่ถูกกระทบ ตอนนี้ฟื้นตัวกลับมายังไม่ถึงครึ่ง แต่เรายังหวังว่าอาหารเป็นสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวัน จึงได้รับผลกระทบน้อย” 

159724411258

ช่วง  5 ปีที่ผ่านมา ฟาร์ฺมเฮ้าส์มีการเติบโตของยอดขายเล็กน้อย โดยปี 2558 ยอดขายรวม 7,416 ล้านบาท ปี 2559 ยอดขาย 7,641 ล้านบาท ปี 2560 ยอดขาย 7,519 ล้านบาท ปี 2561 ยอดขาย 7,575 ล้านบาท และปี 2562 ยอดขาย 7,849 ล้านบาท