ตัวแทนนศ.นิติฯ ยื่น ป.ป.ช. ตรวจสอบ กมธ.-ตร.-อัยการ ปมคดี 'บอส อยู่วิทยา'

ตัวแทนนศ.นิติฯ ยื่น ป.ป.ช. ตรวจสอบ กมธ.-ตร.-อัยการ ปมคดี 'บอส อยู่วิทยา'

ทนายและตัวแทนนักศึกษานิติฯ ยื่น ป.ป.ช. ตรวจสอบ กมธ.-ตร.-อัยการ ปมคดี "บอส อยู่วิทยา"

ทนายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร์ ประธานเครือข่ายรณรงค์ทวงคืนความยุติธรรมในสังคม พร้อมด้วยตัวแทนนักศึกษานิติศาสตร์ทั่วประเทศ เดินทางมาที่ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ถนนสนามบินน้ำ จ.นนทบุรี เพื่อยื่นหนังสือกับ พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อให้ตั้งคณะกรรมการไต่สวนเหตุทุจริตต่อหน้าที่ในคดีของนายวรยุทธ อยู่วิทยา

สืบเนื่องจากคดีอญาที่ 632/2555 ระหว่าง พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลทองหล่อ ผู้กล่าวหา กับนายวรยุทธ อยู่วิทย ผู้ต้องหาที่ 1 ดาบตำรวจวิเซียร กลั่นประเสริฐ ผู้ต้องหาที่ 2 ของสถานีตำรวจ นครบาลทองหล่อ จากเหตุการณ์ตามคดีที่อ้างถึง ซึ่งปรากฏตามรายงานของสื่อมวลชนหลายสำนัก ถึงเหตุที่สำนักงานอัยการสูงสุดมีคำสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธ อยู่วิทยา อันอาจกระทบกระเทือนต่อกระบวนการยุติธรรม และอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งบัญญัติให้บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายอันเป็นสิทธิพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเป็นคนรวยหรือจนควรอยู่ภายใต้บรรทัดฐานกฎหมายเดียวกัน ซึ่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมว่า "คุกมีไว้ขังคนจน" ทั้งนี้การสั่งคดีโดยใช้ดุลพินิไม่ฟ้องของสำนักงานอัยการสูงสุดนั้น เป็นเหตุเคลือบแคลงใจของประชาชน มีเหตุอันควรสงสัยในหลายๆจุดตามที่สื่อมวลชนและนักกฎหมายหลายทนได้ตั้งข้อสังเกตุไว้ เช่น 1) เหตุใดจึงมีการรับฟังน้ำหนักพยานบุคคลใหม่ที่ปรากฎในสำนวน ซึ่งห่างกับระยะเวลาเกิดเหตุหลายปี มาประกอบดุลพินิจในการสั่งไม่ฟ้อง

2.) เหตุใดจึงเกิดความแตกต่างระหว่างผลคำนวณอัตราความเร็วระหว่างครั้งแรก ซึ่งคำนวณได้ 177 กม./ชม. และครั้งหลังซึ่งคำนวณได้เพียง 76 กม/ชม.

3) พยานเอกสารผลตรวจร่างกายของโรงพยาบาลรามาธิบดี ที่ น.395/2555 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2555 ซึ่งระบุถึงสารแปลกปลอมในร่างกายของนายวรยุทธ อยู่วิทยา เหตุใดจึงไม่ถูกนำเข้าสำนวนเพื่อประกอบดุลพินิจในการสั่งคดีและยังมีข้อสังเกตุอีกหลายอย่างที่สังคมตั้งข้อสงสัย และเคลือบแคลงใจในคดีนี้ ถึงการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเจ้าพนักงานอัยการในการทำสำนวนและสั่งคดี อันอาจกระทบต่อความเชื่อมั่นในการยุติธรรมไทย ว่ามีการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 การอย่างใด ๆ ในตำแหน่อันเป็นการมิชอบ เพื่อจะช่วยบุคคลใดมิให้ต้องโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 200 หรือมีการกระทำทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่เพื่อประโยชน์แห่ความยุติธรรมและคงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 28 ขอให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดำเนินการดังนี้

1.) ขอให้สอบสวนข้อเท็จจริงในการยื่นคำร้องขอความเป็นธรรมต่อคณะกรรมาธิการกฎหมายของ สภานิติบัญญัติแห่ชาติ ที่มี พลร.อ.ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ เป็นประธานกรรมาธิการ ของนายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือตัวแทนของนายวรายุทธ อยู่วิทยา ว่ามีรายงานการประชุม และผลของการประชุมในเรื่องดังกล่าวว่อย่างไร และมีความเห็นของกรรมาธิการว่าอย่างไร และในการสอบข้อเท็จ หรือในการประชุมในเรื่องดังกล่าวนั้น มีกรรมาธิการกลุ่มใดเข้าร่วมประชุมบ้าง และเหตุใดจึงมีความเห็นให้อัยการสั่งสอบสวนเพิ่มเติม

2.) ขอให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่ชาติ ตั้งคณะกรรมการไต่สวนคดีนี้ว่ามีเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือเจ้าพนักงานอัยการ ซึ่งดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใด กระทำการอันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงหรือไม่ อย่างไรหากไต่สวนแล้วปรากฏว่ามีการทุจริตต่อหน้าที่ ขอให้ดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายต่อไป

โดยมีนายสุทธิ บุญมี ผอ.สำนักสืบสวนและกิจการพิเศษ สำนักงาน ป.ป.ช. เป็นผู้รับหนังสือร้องเรียนดังกล่าว (ภาพ-springnews)