‘สเปซ-เอฟ ปี2’ สู้โควิด ดึงดีพเทคต่างชาติเข้าไทย

‘สเปซ-เอฟ ปี2’ สู้โควิด ดึงดีพเทคต่างชาติเข้าไทย

'สเปซ-เอฟ ซีซั่น2' รับอานิสงส์จากวิกฤติโควิด-19 ปัจจัยเร่งการพัฒนานวัตกรรม ดึง 3 เอกชนรายใหญ่ร่วมเป็นผู้สนับสนุนใหม่ทั้งไทยเบฟเวอเรจ เบทาโกร ดีลอยท์ทู้ชฯ เสริมความเชื่อมั่นจูงใจสตาร์ทอัพต่างชาติสมัครเข้าร่วมโครงการ เปิดโอกาสเอกชนไทยได้เรียนรู้วิธีคิด

ปั้น‘ฟู้ดเทค’ รับนิวนอร์มอล

พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือเอ็นไอเอ กล่าวว่า เอ็นไอเอให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและพัฒนาสตาร์ทอัพกลุ่มดีพเทคอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารผ่านกลไกการสนับสนุนที่จำเพาะ เป็นรูปธรรมและเชื่อมโยงความร่วมมือกับผู้เล่นที่สำคัญในระบบนิเวศ เพื่อให้สตาร์ทอัพเข้าถึงปัจจัยที่จำเป็น ได้แก่ แหล่งทุน ตลาด ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจ สถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวกและบุคลากรที่มีศักยภาพ 

159412763292

จึงได้ร่วมกับพันธมิตรริเริ่ม “โครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ สเปซ-เอฟ (SPACE-F)” เมื่อปี 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และเอ็นไอเอ โดยมีมหาวิทยาลัยมหิดลร่วมเป็นเครือข่าย 

ในปีแรกโดยได้คัดเลือกสตาร์ทอัพกว่า 20 รายจากทั้งหมด 200 ราย เข้ารับการสนับสนุนในการสร้างนวัตกรรมอาหารที่ผสานเทคโนโลยีขั้นสูง และมีการพัฒนาต่อยอดทางธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน ตอบโจทย์ห่วงโซ่อุปทานอาหารของโลกที่ต้องการอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและมีความปลอดภัย 

วัตถุประสงค์ของโครงการสเปซ-เอฟ แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ 1.ต้องการเพิ่มผู้ประกอบการด้านนวัตกรรมอาหารในประเทศ 2.ดึงสตาร์ทอัพต่างประเทศเข้าร่วมในโครงการ เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยได้เรียนรู้แนวทางการทำงาน การขอทุน รวมทั้งการประสานงานกับนักลงทุนขนาดใหญ่ ที่จะทำให้เกิดการต่อยอดในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอาหารของสตาร์ทอัพในลำดับต่อไป 

159412764746

3. เพื่อขับเคลื่อนกรุงเทพฯ ให้เป็น “แบงคอกฟู้ดเทคซิลิคอนวัลเลย์” เพราะปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอาหารในภูมิภาคเอเชียมีเพียงไทยและสิงคโปร์เท่านั้น จึงจะสามารถผลักดันให้ประเทศไทยสู่ศูนย์กลางด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหารในภูมิภาคเอเชียได้

เชื่อมนักลงทุนหนุน‘สตาร์ทอัพ’

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ถือเป็นโอกาสทองของการพัฒนานวัตกรรมที่หลากหลายเพื่อตอบโจทย์การดำเนินวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ สเปซ-เอฟจึงดึง 3 พันธมิตรใหม่เข้ามาร่วมเสริมแกร่ง ได้แก่ บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ บริษัทเบทาโกร จำกัดและบริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด จะสนับสนุนในด้านผู้ตรวจสอบบัญชี ที่ปรึกษาทั้งด้านธุรกิจ การเงิน การจัดการความเสี่ยง ภาษีและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาและการลงทุนด้านนวัตกรรมอาหาร อีกทั้งจะดึงดูดสตาร์ทอัพทั่วโลกให้มาอยู่ที่ไทยด้วย

159412767723

พันธุ์อาจ กล่าวเสริมว่า การเพิ่มเข้ามาของพาร์ทเนอร์เอกชน ถือเป็นนวัตกรรมในเชิงการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ เอกชน และภาคการศึกษา โดยภาคเอกชนจะมีบทบาทผู้นำในการดำเนินการผ่านการสนับสนุนจากรัฐบาล ที่เอื้อต่อการทำให้โครงการเหล่านี้โตได้ อาทิ งบประมาณที่ใช้ลงทุนในช่วงที่เสี่ยง หรือ การสนับสนุนเงินให้เปล่า (Grant) จึงถือเป็นการเปลี่ยนมุมมองภาครัฐรูปแบบใหม่ เนื่องจากสิ่งที่ทำให้ประเทศสามารถทำ “ดีพเทค” ได้อย่างแท้จริง จำเป็นต้องให้เอกชนรายใหญ่เป็นผู้นำ จึงจะสามารถควบคุมซัพพลายเชนทั้งหมดได้ 

สถานการณ์โควิด-19 ยังมีส่วนเป็นตัวเร่งที่ทำให้การพัฒนานวัตกรรมด้านอาหารเปลี่ยนแปลงและเติบโตอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น การเปลี่ยนแปลงด้านการให้บริการ การผลิตและจำหน่าย รวมถึงเทรนด์เทคโนโลยีที่บริษัทขนาดใหญ่มองว่าการแปรูปอาหารแนวใหม่ เช่น การสร้างโปรตีนทดแทนจากแมลงหรือจากพืช เป็นสิ่งที่มีศักยภาพและสามารถต่อยอดได้ในอนาคต ทั้งนี้ การสร้างโปรตีนทดแทนถือว่าเป็นเทคโนโลยีเชิงลึก ที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับอาหาร 

159412774657

“ภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นนี้เป็นโอกาสดีของสตาร์ทอัพ เนื่องจากโมเดลธุรกิจสตาร์ทอัพล้วนพัฒนามาจากปัญหา หากจับแนวทางได้ก็เชื่อว่าประเทศไทยและในระดับสากลจะเห็นสิ่งแปลกใหม่ในวงการอุตสาหกรรมมากขึ้น”

‘โปรตีนทางเลือก’เทรนด์แรง

ด้าน ธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปีนี้อุตสาหกรรมอาหารต้องเผชิญความท้าทายหลายประการจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงต้องปรับตัวเข้ากับนิวนอร์มอล รวมถึงการผลิตอาหารด้วยความยั่งยืน โดยนำนวัตกรรมมาเข้ามาตอบโจทย์ความต้องการของประชากรโลกที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ นวัตกรรมและกระบวนการใหม่ๆ รวมถึงความปลอดภัยในการผลิตอาหารมีความสำคัญยิ่งขึ้น และเป็นเวลาที่ผู้ผลิตอาหารรายใหญ่จะร่วมมือกับสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว

159412769781

“การลงทุนในซีซั่นแรก เรากำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ที่มาจากโปรตีนทางเลือก ทั้งยังทดลองบางผลิตภัณฑ์ของสตาร์ทอัพจากซีซั่นแรกในกระบวนการผลิตของบริษัท รวมถึงวางแผนการร่วมลงทุนในอนาคตอีกด้วย โดยสิ่งที่เราให้ความสนใจคือ สารทดแทนโปรตีน”

สำหรับสตาร์ทอัพในซีซั่น 1 ตัวอย่างเช่น WeOrder ผู้สร้างแอพพลิเคชั่นที่ให้บริการ B2B omni-channel และโซลูชั่นการค้าที่มุ่งเน้นการใช้ดาต้ามาสร้างความเข้าใจลูกค้า พร้อมจับคู่บริการอาหารที่เหมาะสมให้กับผู้ใช้, JuiceInnov8 ผู้พัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพลดน้ำตาลด้วยจุลินทรีย์ เพื่อผลิตน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ, Eden AgriTech ผู้ผลิตฟิล์มเคลือบรักษาความสดใหม่ของผลไม้ตัดแต่งที่เพิ่งหั่นได้สูงสุด 3 เท่า มีลักษณะใสมองไม่เห็น สามารถกินได้

Mama Foods คุกกี้ผงด้วงดำ มีโปรตีนสูง ไม่มีสารก่อภูมิแพ้ทั้งกลูเตน นมและถั่วเหลือง, Khaisook ผู้พัฒนาสูตรแปรรูปเพิ่มค่าไข่ขาว ให้นำไปรับประทานได้หลากหลายรูปแบบ, exLabs ผู้พัฒนาเอไอเซ็นเซอร์ตรวจกลิ่นแอลกอฮอล์และอาหารปลอม, Sixtein ผู้ค้าและจำหน่ายโปรตีนจากจิ้งหรีด ซึ่งให้คุณค่าทางโปรตีนสูงและไขมันน้อย ผ่านกระบวนการแบบชีวมวล, 

159412771068

HydroNeo ระบบการจัดการฟาร์มกุ้งอัจฉริยะ ที่ใช้เทคโนโลยีไอโอทีตรวจสอบคุณภาพน้ำ ระบบเติมอากาศและให้อาหารอัตโนมัติ, Nithi Foods ผู้ผลิตเครื่องเทศ เครื่องปรุงรสและเนื้อหมูมังสวิรัติ หรือ Plant-based ที่ให้รสชาติเสมือนจริงในราคาที่เหมาะสม และ Insight ผู้ผลิตสแกนเนอร์เพื่อตรวจสอบความสุกของผลไม้ เพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้กับอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร