ไขข้อข้องใจ! หมายเลข 'บัตรประชาชน' 13 หลัก บอกอะไรบ้าง? สำคัญแค่ไหน?

ไขข้อข้องใจ! หมายเลข 'บัตรประชาชน' 13 หลัก บอกอะไรบ้าง? สำคัญแค่ไหน?

ทำความรู้จักกับเลข 13 หลักบน "บัตรประชาชน" กันว่าแต่ละตัวมีความหมายอย่างไร และมีความสำคัญแค่ไหน?

"บัตรประชาชน" (Thai National ID Card) สิ่งที่ทุกคนต้องยึดถือเป็นสิ่งสำคัญและพกติดตัวไปไหนมาด้วย เพื่อแสดงและยืนยันตัวตน ซึ่งมักจะได้ยินบ่อยครั้งว่ามีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากบนหน้าบัตรจะระบุทั้งชื่อ นามสกุล รวมถึงวัน เดือน ปีเกิด รูปภาพใบหน้าและที่อยู่ของเรา ที่สำคัญมี "หมายเลข 13 หลัก" เมื่อเวลาไปทำธุรกรรมกับธนาคาร หรือการดำเนินการที่ต่างๆ ทางราชการ มักจะนำมาใช้ ทำให้หลายคนจึงตั้งคำถามว่า หมาย 13 หลักบนบัตรนั้นสำคัญแค่ไหน และบ่งบอกอะไรบ้าง?

159308006851

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

จากข้อมูลของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย อธิบายเลขบัตรประชาชน 13 หลักไว้ว่า เลขทั้งหมด 13 หลักนั้น (X-XXXX-XXXXX-XX-X) แบ่งออกเป็น 5 ส่วน (ดูได้จากรูปภาพประกอบด้านบน) คือ 

ส่วนที่ 1 - มีเลข 1 หลัก เลขเพียงหนึ่งตัวนี้หมายถึง ประเภทบุคคล ประกอบด้วย 8 ประเภท

ส่วนที่ 2 - มีเลขทั้งหมด 4 หลักเรียงติดกัน หมายถึง สำนักทะเบียนที่ออกเลขประจำตัวประชาชน หากนับจากทางซ้ายมือ เลขตัวที่ 2-3 เป็นการบอกจังหวัด ส่วนเลขตัวที่ 4-5 เป็นการบอกอำเภอ เขต เทศบาล หรือเมืองพัทยา

ส่วนที่ 3 และส่วนที่ 4 - มีเลขทั้งหมด 7 หลัก บ่งบอกลำดับของบุคคลในแต่ละประเภทของแต่ละสำนักทะเบียน 

และส่วนสุดท้ายที่ 5 - มีเลข 1 หลัก หมายถึงเลขตรวจสอบความถูกต้องของเลขประจำตัวประชาชนทั้งหมด 

ขณะที่เลขหลังบัตรนั้น เป็นเลขที่กรมการปกครองใช้ควบคุมการจ่ายบัตรประจำตัวประชาชน ที่แจกจ่ายให้กับที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเขต สำนักงานเทศบาลและเมืองพัทยา ไม่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน ข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนจะอยู่ด้านหน้าบัตรเท่านั้น

ด้านกองพิสูจน์หลักฐานกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ อธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนของ หมายเลขหลักที่ 1 หรือหมายเลขตัวแรกที่บ่งบอกประเภทบุคคล ซึ่งแยกย่อยเป็น 8 ประเภทบุคคล ไว้ดังน้ี

  • ประเภทที่ 1 คือ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย และได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2527 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นวันแรกหลังจากมีการประกาศให้ประชาชนทุกคนต้องมีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ภายในระยะเวลา 15 วันนับตั้งแต่วันเกิดตามที่กฎหมายกำหนด จะมีเลขประจำตัวขึ้นด้วยเลข 1 เป็นต้น 
     
  • ประเภทที่ 2 คือ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย และได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2527 เป็นต้นไป แต่ไม่ได้แจ้งเกิดภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันเกิดตามที่กฎหมายกำหนด
     
  • ประเภทที่ 3 คือ คนไทยหรือคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่ใดที่หนึ่งในประเทศไทย ก่อน 31 พฤษภาคม 2527 
     
  • ประเภทที่ 4 คือ คนไทยหรือคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญคนต่างด้าว แต่แจ้งย้ายเข้าโดยที่ยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชน (ซึ่งต้องอยู่ในช่วงกำหนดระยะเวลา 1 มกราคม-31 พฤษภาคม 2527) ยกตัวอย่างเช่น คนไทยหรือคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญคนต่างด้าว อยู่อาศัยในพื้นที่หนึ่ง ต่อมาได้ย้ายไปพื้นที่อื่น แต่ยังไม่ได้เลขประจำตัว ก็จะเข้าข่ายเป็นบุคคลประเภทที่ 4 
     
  • ประเภทที่ 5 คือ คนไทยที่ได้รับอนุมัติให้เพิ่มชื่อเข้าไปในทะเบียนบ้านในกรณีตกสำรวจหรือกรณีอื่นๆ 
     
  • ประเภทที่ 6 คือ ผู้ที่เข้าเมืองโดยชอบและไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่อยู่ในลักษณะชั่วคราว และยังไม่ได้สัญชาติไทย เนื่องจากทางการยังไม่รองรับตามกฎหมาย เช่น ชนกลุ่มน้อยหรือชาวเขาตามชายแดน ชาวต่างชาติที่มีสามีหรือภรรยาเป็นคนไทย ซึ่งอาจไปขอทำทะเบียนประวัติเพื่อให้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของสามีหรือภรรยาคนไทย
     
  • ประเภทที่ 7 คือ บุตรของบุคคลประเภทที่ 6 ที่เกิดในประเทศไทย 
     
  • ประเภทที่ 8 คือ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย และคนที่ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทยหลัง 31 พฤษภาคม 2557 

ขณะเดียวกันเมื่อต้องใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนในการดำเนินการสิ่งต่างๆ จึงต้องมีความระมัดระวัง เนื่องจากจะแสดงข้อมูลส่วนบุคคลของเราทั้งหมด กรมประชาสัมพันธ์ ได้ชี้แจงถึงวิธีการการลงชื่อสำเนาถูกต้องไว้ว่า ต้องขีดเส้นคู่ขนานจากมุมล่างซ้ายไปมุมขวาบน และเขียนข้อความไว้ตรงกลางว่านำไปใช้เพื่ออะไร โดยควรที่จะลงท้ายด้วยคำว่า "เท่านั้น" ด้วย

ที่สำคัญต้องมีระบุวัน เดือน ปี ที่มีการลงชื่อทุกครั้ง พร้อมทั้งลงลายมือชื่อทับไปบนรูปภาพใบหน้าของตัวเอง และถ่ายเอกสารเพียงด้านหน้าบัตรเพียงด้านเดียวเท่านั้น ก็เพียงพอต่อข้อมูลที่จะนำไปใช้แล้ว 

159308419289

ที่มา :  science.policedopafanpage