การระบาดโควิด-19 ระลอก 2 ส่งสัญญาณขายช่วงสั้น

การระบาดโควิด-19 ระลอก 2 ส่งสัญญาณขายช่วงสั้น

มาตรการปลดล็อคของประเทศต่างๆ และการวิตกกังวลถึงการแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอก 2 ส่งผลให้ดัชนีช่วงสั้นๆ เกิดสัญญาณขายลงมา

1.ดัชนีดาวโจนส์ (DJIA) 11-06-2563 ดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์ดิ่งลงกว่า -816 จุด หรือ 3.03% สู่ระดับ 26,145 ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับการแพร่ระบาดรอบสองของไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐ, นักลงทุนพากันวิตกต่อการที่จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้กลับเพิ่มขึ้นในบางรัฐ หลังจากมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์, DJIA ถูกกดดันจากการดิ่งลงของราคาน้ำมัน

รวมทั้งความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจสหรัฐ หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะหดตัวลง 6.5% ในปีนี้ ขณะที่อัตราการว่างงานจะพุ่งแตะระดับ 9.3%, คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของเฟดมีมติเป็นเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 0.00-0.25% ขณะนี้ สหรัฐมีผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จำนวน 2,066,611 ราย และมีผู้เสียชีวิต 115,140 ราย โดยสหรัฐติดอันดับ 1 ของโลก

ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องรุนแรง จากระดับจุดต่ำสุด 18,086 จุดและสร้างจุดสูงสุด รอบนี้ 9 มิ.ย.2563 ที่ระดับ 27,624 จุด, มาแตะเกือบๆ 28,000 จุด เรียกได้ว่า เด้งกลับมาเกือบๆ 10,000 จุด การปรับฐานลงมาเพื่อพักฐานช่วงสั้น จึงเป็นเรื่องปกติ, ดูแนวรับ ดาวโจนส์ ที่บริเวณ 25,000–26,000 จุด จะรับอยู่หรือไม่

2.ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก (WTI) 11-06-2563 อยู่ที่ 36.66 ดอลลาร์/บาร์เรล, หลังจากฟื้นตัวรุนแรง จนปรับตัวขึ้นมาชนแนวต้าน EMA 200 วัน = 41.70 ดอลลาร์/บาร์เรล ทำจุดสูงสุดที่ 41.40 ดอลลาร์/บาร์เรล เริ่มเกิดสัญญาณขายลงมา ทั้ง Indicators แนวรับของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก (WTI) 30–33 ดอลลาร์/บาร์เรล หากไม่ต่ำกว่านี้ ยังมีแนวโน้มเป็นขาขึ้น,

ที่สำคัญ คือ หลังจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก เปิดประเทศแล้ว การแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอก 2, 3 จะเป็นอย่างไร ต้องติดตาม เพราะจะเกี่ยวข้องกับความต้องการใช้น้ำมันดิบ (Demand) ถ้าอุปสงค์ ไม่มี ต่อให้ลดกำลังการผลิตอย่างไร ความต้องการใช้ไม่มา ราคาน้ำมันก็จะไปไม่ไกล จะส่งผลถึงหุ้นในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี

3.กราฟค่าเงินบาท 11-06-2563 อยู่ที่ 30.92 บาท/ดอลลาร์, หลังจากค่าเงินบาทอ่อนค่าไปแตะจุดสูงสุดที่ 33.175 บาท/ดอลลาร์ ได้เริ่มปรับลงมา = แข็งค่า หลังจากหลุดต่ำกว่า 32.50 บาท/ดอลลาร์ได้ ถือเป็นปัจจัยบวก ปัจจุบันได้หลุดต่ำกว่า 31.50 บาท/ดอลลาร์ได้ = หลุดต่ำกว่า EMA 200 วัน ลงมา กลายเป็นขาลง (แข็งค่า) สมบูรณ์แบบ โดยปกติ หากค่าเงินบาทแข็งค่า ต่างชาติจะกลับมาเป็นฝ่ายซื้อสุทธิ เป็นการสนับสนุนดัชนีหุ้นไทยให้เป็นขาขึ้นได้ แต่ว่า ปัจจุบัน ค่าเงินบาทแข็งค่าก็จริง แต่ต่างชาติยังไม่หันกลับมาซื้อสุทธิ เพียงแค่ ขายสุทธิน้อยลงๆ หลังจาก

4.SET Daily (ดัชนีหุ้นไทย วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ปิดที่ 1,396.77 จุด, -22.00 จุด หรือ -1.55%), ปริมาณการซื้อขาย 82,892.56 ล้านบาท,โดยที่, EMA 5 วัน = 1,407 จุด, EMA 10 วัน = 1,392 จุด, 25 วัน = 1,348 จุด, EMA 50 วัน = 1,320 จุด, EMA 75 วัน = 1,329 และ EMA 200วัน = 1,430.43 จุด ตามลำดับ,

หลังจากผ่านพ้นจุดต่ำสุด 969.08 จุด เมื่อวันที่ 13/03/2563 SET สร้างจุดต่ำยกสูงขึ้น และดัชนีราคาหุ้นไทย สามารถยืนเหนือ EMA 5, 10 วัน ได้เกิดสัญญาณบวก คือ เกิดจุดตัดทองคำ คือ EMA 5 วัน และ 10 วัน สามารถตัดยืนเหนือ EMA 75 วัน ขึ้นมาได้ และ EMA 25 วัน ตัดยืนเหนือ EMA 50 วัน ขึ้นไปได้ กลายเป็นแรงส่งที่ดี, ดัชนีหุ้นไทยสร้างจุดต่ำยกสูงขึ้นต่อเนื่อง เป็นบันไดขาขึ้น หลังจากทะลุผ่านแนวต้านสำคัญ EMA 75 วัน = 1,300-1,310 จุดขึ้นมาได้ เป็นสัญญาณบวกที่ดี ทำให้ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวต่อเนื่อง

5.SET Daily และ Indicators (MACD, 14RSI, Slow Stochastic) โดยที่ Slow Stochastic ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องมานาน ช่วงนี่ จะพบว่า แตะระดับสูงสุด 80-92% ถือว่าเข้าเขตซื้อมากเกินไป (Overbought) เนื่องจากเราอยู่ในช่วงขาลงมานาน (Super Bear) ช่วงนี้เป็นช่วงตีกลับแบบรุนแรงแล้วทำเป็นบันไดขาขึ้น คือ ทำจุดต่ำยกสูงขึ้นและสร้างจุดสูงสุดใหม่ได้,

ดังนั้น Slow Stochastic อาจจะอยู่ในเขตซื้อมากเกินไป (Overbought) ได้ยาวนานพอสมควร, ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เริ่มมีการปรับฐานระยะสั้นลงมา, Indicators (MACD, 14RSI, Slow Stochastic) เริ่มสั่งขายลงมา นักลงทุน ควรระวังการปรับฐานระยะสั้นไว้ด้วย, เพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุนควรทำการบ้านหุ้นรายตัวทั้งปัจจัยพื้นฐานและกราฟเทคนิค ว่า หุ้นตัวไหนที่จะสามารถอยู่รอดและมีโอกาสเติบโต ต่อไปในอนาคต ควรให้เลือกตัวหุ้นโดยปัจจัยพื้นฐานเป็นตัวนำ

6.SET Weekly โดยที่ EMA 5 week = 1,362 จุด, 10 week = 1,331 จุด, 25 week = 1,370 จุด, 50 week = 1,454 จุด, 75 week = 1,503 จุด, 200 week = 1,550 จุด ตามลำดับ, จะพบว่า ดัชนีหุ้นไทย สามารถเหวี่ยงตัวขึ้นไปทำจุดสูงสุดรอบนี้ที่ 1,454.95 จุด ถือว่า ขึ้นไปชนแนวต้าน EMA 50 week = 1,454 จุด แบบพอดีๆ แต่ไม่สามารถผ่านไปได้ จึงปรับฐานลงมาเพื่อสร้างฐานก่อน, แนวต้านใหญ่ ของดัชนีหุ้นไทยเรา คือ 1,450, 1500 และ 1,550 จุด ตามลำดับ

7.การวัด Fibonacci Retracement ดัชนีหุ้นไทย โดยกำหนดจุดต่ำสุด (L) ที่ 969.08 จุด, จุดสูงสุดรอบนี้ (High: H) 1,454.95 จุด จะพบว่า ดัชนีรีบาวด์ ขึ้นมาอย่างต่อเนื่องรุนแรง นับจากจุดต่ำสุดเด้งขึ้นมาถึง +485.87 จุด ภายในระยะประมาณ 3 เดือน เรียกได้ว่า เด้งกลับมาเกือบๆ 500 จุด, ถ้าหากดัชนีจะมีการปรับฐาน ลงมา 50% จาก 500 จุด มีโอกาสไหม ก็อาจจะเป็นไปได้ หากแรงขายของสถาบันยังขายต่อเนื่อง และต่างชาติขายซ้ำๆ หรือ ไม่ซื้อสุทธิเข้ามา

8.SET Monthly โดยที่ EMA 5 month = 1,364 จุด, 10 month = 1,424 จุด, 25 month = 1,525 จุด, 50 month = 1,540 จุด, 75 month = 1,496 จุด และ EMA 200 Month = 1,218 จุด ตามลำดับ หลังจากดัชนี ตีกลับมายืนเหนือ EMA 200 month = 1,218 จุด ขึ้นมาได้เป็นปัจจัยบวก, Slow Stochastic Monthly ได้ตัดเป็นสัญญาณซื้อขึ้นมา และ 14RSI กำลังพยายามจะสั่งเป็นสัญญาณซื้อ, ส่วน MACD Monthly ยังไม่สั่งซื้อขึ้นมา หาก MACD, 14RSI Monthly ตัดเป็นสัญญาณซื้อ เพื่อยืนยันการเป็นขาขึ้น ตลาดหุ้นไทยเราคงได้เฮ เพราะ แนวโน้มระยะกลาง - ยาว จะสดใสต่อไป

9.สรุป หลายๆ ประเทศเริ่มทยอยๆ ปลดล็อคเปิดประเทศกันมากขึ้น มาตรการต่างๆ ได้เริ่มผ่อนคลายทั่วโลก, มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ได้เริ่มทยอยๆ ออกมากขึ้น เพื่อให้เศรษฐกิจทั่วโลกเดินหน้าหลังภัยโควิด-19 แม้ว่าการผลิตวัคซีนจะยังไม่สำเร็จ แต่เริ่มที่จะควบคุมการแพร่ระบาดได้มากขึ้น, นโยบายต่างๆ ทั้งนโยบายการเงิน นโยบายการคลัง, QE เริ่มทยอยๆ ออกมาทั่วโลกเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ,

กราฟของดัชนีหุ้นทั่วโลกค่อนข้างไปทางเดียวกัน เป็นบันไดขาขึ้น คือ สร้างจุดต่ำยกสูงขึ้นและสร้างจุดสูงสุดใหม่, เนื่องจากดัชนีฯ มีการเด้งกลับรุนแรงและรวดเร็ว, แรงขายทำกำไรเริ่มมีเข้ามา, เริ่มมีความกังวลการแพร่ระบาดโควิด 19 ระลอก 2, 3 หลังหลายๆ ประเทศเริ่มปลดล็อค ต้องติดตามสถานการณ์ต่อเนื่องทั่วโลก, ค่าเงินบาทของไทยเรา เริ่มเป็นขาลง (ค่าเงินบาทแข็งค่า) แต่ต่างชาติยังไม่กลับมาซื้อสุทธิ,

สถาบันภายในประเทศจากที่เคยซื้อสุทธิต่อเนื่อง เริ่มขายทำกำไรออกมา ทำให้ดัชนีช่วงสั้นๆ เกิดสัญญาณขายลงมา, หากดูแนวโน้มและพัฒนาการต่างๆ ของไทย น่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง แต่ราคาหุ้นขึ้นเร็วเกินไป นักวิเคราะห์ จะเริ่มหันมาพูดว่า P/E เริ่มสูง, ผลการดำเนินงานในไตรมาส 2/63 ยังไม่ฟื้น ยังไม่มีกำไร ราคาหุ้นแพงไป, จะทำให้มีการขายทำกำไร, ดัชนีระยะสั้น จึงมีความผันผวน, หากดัชนีปรับฐานแล้ว ไม่หลุด 1,370, 1,350, 1,330 และ 1,300 จุด ลงมาเลือกหุ้นพื้นฐานดีๆ มีอนาคตและราคาหุ้นไม่สูงเกินไป

10.หุ้นที่ให้ท่านนักลงทุนไปศึกษา (ยังคงเดิมๆ) ปัจจัยพื้นฐาน + กราฟเทคนิค + รูปแบบการดำเนินธุรกิจของหุ้นแต่ละตัว แต่ละธุรกิจ เพราะวิกฤติ คือ โอกาส ที่จะได้ซื้อหุ้นดีๆ ราคาถูกๆ, ราคาและจังหวะการซื้อขายให้ท่านนักลงทุน ไปหาเอาเองครับ, ไม่จำเป็นต้องไปวิ่งไล่หาหุ้นตัวใหม่ๆ ที่พื้นฐานไม่ดี ยกเว้นดีจริงๆ และ Business Model เด่นสุดๆ จึงควรไปศึกษาเพิ่มเติม, หุ้นขนาดเล็กขอย้ำว่า ไม่ควรเข้าไปลงทุน ต้องแนวโน้มธุรกิจดีจริงๆ เท่านั้น