การระบาดโควิด-19 ระลอก 2 ส่งสัญญาณขายช่วงสั้น

มาตรการปลดล็อคของประเทศต่างๆ และการวิตกกังวลถึงการแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอก 2 ส่งผลให้ดัชนีช่วงสั้นๆ เกิดสัญญาณขายลงมา
1.ดัชนีดาวโจนส์ (DJIA) 11-06-2563 ดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์ดิ่งลงกว่า -816 จุด หรือ 3.03% สู่ระดับ 26,145 ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับการแพร่ระบาดรอบสองของไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐ, นักลงทุนพากันวิตกต่อการที่จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้กลับเพิ่มขึ้นในบางรัฐ หลังจากมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์, DJIA ถูกกดดันจากการดิ่งลงของราคาน้ำมัน
รวมทั้งความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจสหรัฐ หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะหดตัวลง 6.5% ในปีนี้ ขณะที่อัตราการว่างงานจะพุ่งแตะระดับ 9.3%, คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของเฟดมีมติเป็นเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 0.00-0.25% ขณะนี้ สหรัฐมีผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จำนวน 2,066,611 ราย และมีผู้เสียชีวิต 115,140 ราย โดยสหรัฐติดอันดับ 1 ของโลก
ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องรุนแรง จากระดับจุดต่ำสุด 18,086 จุดและสร้างจุดสูงสุด รอบนี้ 9 มิ.ย.2563 ที่ระดับ 27,624 จุด, มาแตะเกือบๆ 28,000 จุด เรียกได้ว่า เด้งกลับมาเกือบๆ 10,000 จุด การปรับฐานลงมาเพื่อพักฐานช่วงสั้น จึงเป็นเรื่องปกติ, ดูแนวรับ ดาวโจนส์ ที่บริเวณ 25,000–26,000 จุด จะรับอยู่หรือไม่
2.ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก (WTI) 11-06-2563 อยู่ที่ 36.66 ดอลลาร์/บาร์เรล, หลังจากฟื้นตัวรุนแรง จนปรับตัวขึ้นมาชนแนวต้าน EMA 200 วัน = 41.70 ดอลลาร์/บาร์เรล ทำจุดสูงสุดที่ 41.40 ดอลลาร์/บาร์เรล เริ่มเกิดสัญญาณขายลงมา ทั้ง Indicators แนวรับของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก (WTI) 30–33 ดอลลาร์/บาร์เรล หากไม่ต่ำกว่านี้ ยังมีแนวโน้มเป็นขาขึ้น,
ที่สำคัญ คือ หลังจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก เปิดประเทศแล้ว การแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอก 2, 3 จะเป็นอย่างไร ต้องติดตาม เพราะจะเกี่ยวข้องกับความต้องการใช้น้ำมันดิบ (Demand) ถ้าอุปสงค์ ไม่มี ต่อให้ลดกำลังการผลิตอย่างไร ความต้องการใช้ไม่มา ราคาน้ำมันก็จะไปไม่ไกล จะส่งผลถึงหุ้นในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี
3.กราฟค่าเงินบาท 11-06-2563 อยู่ที่ 30.92 บาท/ดอลลาร์, หลังจากค่าเงินบาทอ่อนค่าไปแตะจุดสูงสุดที่ 33.175 บาท/ดอลลาร์ ได้เริ่มปรับลงมา = แข็งค่า หลังจากหลุดต่ำกว่า 32.50 บาท/ดอลลาร์ได้ ถือเป็นปัจจัยบวก ปัจจุบันได้หลุดต่ำกว่า 31.50 บาท/ดอลลาร์ได้ = หลุดต่ำกว่า EMA 200 วัน ลงมา กลายเป็นขาลง (แข็งค่า) สมบูรณ์แบบ โดยปกติ หากค่าเงินบาทแข็งค่า ต่างชาติจะกลับมาเป็นฝ่ายซื้อสุทธิ เป็นการสนับสนุนดัชนีหุ้นไทยให้เป็นขาขึ้นได้ แต่ว่า ปัจจุบัน ค่าเงินบาทแข็งค่าก็จริง แต่ต่างชาติยังไม่หันกลับมาซื้อสุทธิ เพียงแค่ ขายสุทธิน้อยลงๆ หลังจาก
4.SET Daily (ดัชนีหุ้นไทย วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ปิดที่ 1,396.77 จุด, -22.00 จุด หรือ -1.55%), ปริมาณการซื้อขาย 82,892.56 ล้านบาท,โดยที่, EMA 5 วัน = 1,407 จุด, EMA 10 วัน = 1,392 จุด, 25 วัน = 1,348 จุด, EMA 50 วัน = 1,320 จุด, EMA 75 วัน = 1,329 และ EMA 200วัน = 1,430.43 จุด ตามลำดับ,
หลังจากผ่านพ้นจุดต่ำสุด 969.08 จุด เมื่อวันที่ 13/03/2563 SET สร้างจุดต่ำยกสูงขึ้น และดัชนีราคาหุ้นไทย สามารถยืนเหนือ EMA 5, 10 วัน ได้เกิดสัญญาณบวก คือ เกิดจุดตัดทองคำ คือ EMA 5 วัน และ 10 วัน สามารถตัดยืนเหนือ EMA 75 วัน ขึ้นมาได้ และ EMA 25 วัน ตัดยืนเหนือ EMA 50 วัน ขึ้นไปได้ กลายเป็นแรงส่งที่ดี, ดัชนีหุ้นไทยสร้างจุดต่ำยกสูงขึ้นต่อเนื่อง เป็นบันไดขาขึ้น หลังจากทะลุผ่านแนวต้านสำคัญ EMA 75 วัน = 1,300-1,310 จุดขึ้นมาได้ เป็นสัญญาณบวกที่ดี ทำให้ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวต่อเนื่อง
5.SET Daily และ Indicators (MACD, 14RSI, Slow Stochastic) โดยที่ Slow Stochastic ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องมานาน ช่วงนี่ จะพบว่า แตะระดับสูงสุด 80-92% ถือว่าเข้าเขตซื้อมากเกินไป (Overbought) เนื่องจากเราอยู่ในช่วงขาลงมานาน (Super Bear) ช่วงนี้เป็นช่วงตีกลับแบบรุนแรงแล้วทำเป็นบันไดขาขึ้น คือ ทำจุดต่ำยกสูงขึ้นและสร้างจุดสูงสุดใหม่ได้,
ดังนั้น Slow Stochastic อาจจะอยู่ในเขตซื้อมากเกินไป (Overbought) ได้ยาวนานพอสมควร, ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เริ่มมีการปรับฐานระยะสั้นลงมา, Indicators (MACD, 14RSI, Slow Stochastic) เริ่มสั่งขายลงมา นักลงทุน ควรระวังการปรับฐานระยะสั้นไว้ด้วย, เพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุนควรทำการบ้านหุ้นรายตัวทั้งปัจจัยพื้นฐานและกราฟเทคนิค ว่า หุ้นตัวไหนที่จะสามารถอยู่รอดและมีโอกาสเติบโต ต่อไปในอนาคต ควรให้เลือกตัวหุ้นโดยปัจจัยพื้นฐานเป็นตัวนำ
6.SET Weekly โดยที่ EMA 5 week = 1,362 จุด, 10 week = 1,331 จุด, 25 week = 1,370 จุด, 50 week = 1,454 จุด, 75 week = 1,503 จุด, 200 week = 1,550 จุด ตามลำดับ, จะพบว่า ดัชนีหุ้นไทย สามารถเหวี่ยงตัวขึ้นไปทำจุดสูงสุดรอบนี้ที่ 1,454.95 จุด ถือว่า ขึ้นไปชนแนวต้าน EMA 50 week = 1,454 จุด แบบพอดีๆ แต่ไม่สามารถผ่านไปได้ จึงปรับฐานลงมาเพื่อสร้างฐานก่อน, แนวต้านใหญ่ ของดัชนีหุ้นไทยเรา คือ 1,450, 1500 และ 1,550 จุด ตามลำดับ
7.การวัด Fibonacci Retracement ดัชนีหุ้นไทย โดยกำหนดจุดต่ำสุด (L) ที่ 969.08 จุด, จุดสูงสุดรอบนี้ (High: H) 1,454.95 จุด จะพบว่า ดัชนีรีบาวด์ ขึ้นมาอย่างต่อเนื่องรุนแรง นับจากจุดต่ำสุดเด้งขึ้นมาถึง +485.87 จุด ภายในระยะประมาณ 3 เดือน เรียกได้ว่า เด้งกลับมาเกือบๆ 500 จุด, ถ้าหากดัชนีจะมีการปรับฐาน ลงมา 50% จาก 500 จุด มีโอกาสไหม ก็อาจจะเป็นไปได้ หากแรงขายของสถาบันยังขายต่อเนื่อง และต่างชาติขายซ้ำๆ หรือ ไม่ซื้อสุทธิเข้ามา
8.SET Monthly โดยที่ EMA 5 month = 1,364 จุด, 10 month = 1,424 จุด, 25 month = 1,525 จุด, 50 month = 1,540 จุด, 75 month = 1,496 จุด และ EMA 200 Month = 1,218 จุด ตามลำดับ หลังจากดัชนี ตีกลับมายืนเหนือ EMA 200 month = 1,218 จุด ขึ้นมาได้เป็นปัจจัยบวก, Slow Stochastic Monthly ได้ตัดเป็นสัญญาณซื้อขึ้นมา และ 14RSI กำลังพยายามจะสั่งเป็นสัญญาณซื้อ, ส่วน MACD Monthly ยังไม่สั่งซื้อขึ้นมา หาก MACD, 14RSI Monthly ตัดเป็นสัญญาณซื้อ เพื่อยืนยันการเป็นขาขึ้น ตลาดหุ้นไทยเราคงได้เฮ เพราะ แนวโน้มระยะกลาง - ยาว จะสดใสต่อไป
9.สรุป หลายๆ ประเทศเริ่มทยอยๆ ปลดล็อคเปิดประเทศกันมากขึ้น มาตรการต่างๆ ได้เริ่มผ่อนคลายทั่วโลก, มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ได้เริ่มทยอยๆ ออกมากขึ้น เพื่อให้เศรษฐกิจทั่วโลกเดินหน้าหลังภัยโควิด-19 แม้ว่าการผลิตวัคซีนจะยังไม่สำเร็จ แต่เริ่มที่จะควบคุมการแพร่ระบาดได้มากขึ้น, นโยบายต่างๆ ทั้งนโยบายการเงิน นโยบายการคลัง, QE เริ่มทยอยๆ ออกมาทั่วโลกเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ,
กราฟของดัชนีหุ้นทั่วโลกค่อนข้างไปทางเดียวกัน เป็นบันไดขาขึ้น คือ สร้างจุดต่ำยกสูงขึ้นและสร้างจุดสูงสุดใหม่, เนื่องจากดัชนีฯ มีการเด้งกลับรุนแรงและรวดเร็ว, แรงขายทำกำไรเริ่มมีเข้ามา, เริ่มมีความกังวลการแพร่ระบาดโควิด 19 ระลอก 2, 3 หลังหลายๆ ประเทศเริ่มปลดล็อค ต้องติดตามสถานการณ์ต่อเนื่องทั่วโลก, ค่าเงินบาทของไทยเรา เริ่มเป็นขาลง (ค่าเงินบาทแข็งค่า) แต่ต่างชาติยังไม่กลับมาซื้อสุทธิ,
สถาบันภายในประเทศจากที่เคยซื้อสุทธิต่อเนื่อง เริ่มขายทำกำไรออกมา ทำให้ดัชนีช่วงสั้นๆ เกิดสัญญาณขายลงมา, หากดูแนวโน้มและพัฒนาการต่างๆ ของไทย น่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง แต่ราคาหุ้นขึ้นเร็วเกินไป นักวิเคราะห์ จะเริ่มหันมาพูดว่า P/E เริ่มสูง, ผลการดำเนินงานในไตรมาส 2/63 ยังไม่ฟื้น ยังไม่มีกำไร ราคาหุ้นแพงไป, จะทำให้มีการขายทำกำไร, ดัชนีระยะสั้น จึงมีความผันผวน, หากดัชนีปรับฐานแล้ว ไม่หลุด 1,370, 1,350, 1,330 และ 1,300 จุด ลงมาเลือกหุ้นพื้นฐานดีๆ มีอนาคตและราคาหุ้นไม่สูงเกินไป
10.หุ้นที่ให้ท่านนักลงทุนไปศึกษา (ยังคงเดิมๆ) ปัจจัยพื้นฐาน + กราฟเทคนิค + รูปแบบการดำเนินธุรกิจของหุ้นแต่ละตัว แต่ละธุรกิจ เพราะวิกฤติ คือ โอกาส ที่จะได้ซื้อหุ้นดีๆ ราคาถูกๆ, ราคาและจังหวะการซื้อขายให้ท่านนักลงทุน ไปหาเอาเองครับ, ไม่จำเป็นต้องไปวิ่งไล่หาหุ้นตัวใหม่ๆ ที่พื้นฐานไม่ดี ยกเว้นดีจริงๆ และ Business Model เด่นสุดๆ จึงควรไปศึกษาเพิ่มเติม, หุ้นขนาดเล็กขอย้ำว่า ไม่ควรเข้าไปลงทุน ต้องแนวโน้มธุรกิจดีจริงๆ เท่านั้น
'ออมสิน' เริ่มลงทะเบียน 'สินเชื่อเสริมพลังฐานราก' ผ่าน MyMo เคยกู้ฉุกเฉินแล้ว ก็กู้อีกได้
'เราชนะ' เช็คสิทธิ์ คุณสมบัติ ลงทะเบียน เตรียมรับเงินเยียวยาโควิด 7,000 บาท
'เราชนะ' กลุ่ม 'เกษตรกร' ต้องรู้ ไม่ใช่ทุกคนมีสิทธิ อ่านหลักเกณฑ์ให้ชัด!
วิธีจองหุ้น 'OR' ผ่าน 3 แบงก์ 'กรุงไทย-กสิกรไทย-กรุงเทพ'
ยอด ‘โควิด-19’ วันนี้ ไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 198 ราย เสียชีวิต 1 ราย
อัพเดทสถานการณ์ 'โควิด-19' วันที่ 23 มกราคม 2564