เคลียร์ชัด ‘เยียวยาเกษตรกร’ สำหรับ ‘ชาวสวนยางพารา’ ผ่าน 18 ประเด็นคำถาม

เคลียร์ชัด ‘เยียวยาเกษตรกร’ สำหรับ ‘ชาวสวนยางพารา’ ผ่าน 18 ประเด็นคำถาม

เคลียร์ข้อข้องใจ "ชาวสวนยางพารา" ในประเด็นปัญหามาตรการ “เยียวยาเกษตรกร” ผ่าน 18 คำถามรายละเอียดปลีกย่อยน่ารู้

เคลียร์ข้อข้องใจและประเด็นปัญหาของเกษตรกรชาวสวนยางพารา” มาตรการเยียวยาเกษตรกร” สำหรับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โดยมาตรการนี้จะช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่มีชื่อขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับทั้งหน่วยงานทั้งหมด 7 หน่วยงาน รวมถึงเกษตรที่ทำอาชีพเกษตรกรรม แต่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนก็มีการเปิดให้ขึ้นไปแล้วก่อนหน้านี้ ซึ่งผู้ที่ได้รับสิทธิ์ในมาตรการนี้จะต้องผ่านการตรวจสอบความซ้ำซ้อนของกระทรวงการคลัง เช่น มาตรการเยียวยาเราไม่ทิ้งกัน ประกันสังคม เป็นต้น

ซึ่งเมื่อผ่านการตรวจสอบและได้รับสิทธิ์ จะได้เงินเยียวยารายละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2563 แต่ก็ยังมีประเด็นคำถามเกิดขึ้นมากมายถึงรายละเอียดต่างๆ ซึ่งเกษตรกรที่ยังคงติดปัญหาต่างๆ ในมาตรการเยียวยาเกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เปิดให้ยื่นเรื่องอุทธรณ์เงินเยียวยาเกษตรกรได้

ทั้งนี้ในส่วนของประเด็นปัญหาของเกษตรกรชาวสวนยางพารากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ตอบคำถามทั้งหมด 18 ข้อ ดังนี้

1.เยียวยาเกษตรกรของเราไม่ทิ้งกัน กับเยียวยาชาวสวนยาง อันเดียวกันไหม?

ตอบ มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 มีเพียงมาตรการเดียว คือ มาตรการเยียวยาเกษตรกร (ไม่มีโครงการเยียวยาสวนยาง)

2.มีสมุดทะเบียนเกษตรกรแล้ว ต้องขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) อีกหรือไม่?

ตอบ สำหรับมาตรการเยียวยาเกษตรกรนี้ไม่ต้องขึ้นทะเบียนอีก

3.“คนกรีดยางจะได้รับสิทธิ์เยียวยาเกษตรกรหรือไม่?

ตอบ กยท.จะส่งข้อมูลเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับทาง กยท. ให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เป็นผู้รวบรวมข้อมูลเพื่อส่งให้กระทรวงการคลัง ซึ่งมีหน้าที่ในการคัดกรองตรวจสอบสิทธิเป็นไปตามเงื่อนไขของทางกระทรวงการคลัง

4.ถ้าคนที่ได้สิทธิ์เกษตรกรชาวนา แล้วมีสวนยางด้วย จะได้ทั้งสองเลยไหม?

ตอบ ได้เพียง 1 สิทธิ์เท่านั้น

5.ถ้าเป็นเจ้าของสวนยาง และเป็นข้าราชการพลเรือน มีสิทธิ์ได้รับสิทธิ์ไหม?

ตอบ ไม่ได้รับสิทธิ์ เนื่องจากผู้ที่ได้รับการเยียวยาโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ต้องมีอาชีพหลักเป็นเกษตรกร มีรายได้หลักจากการทำเกษตร และต้องเป็นผู้ไม่ได้รับเงินเดือนประจำจากหน่วยงานราชการหรือเอกชน ไม่เป็นข้าราชการบำนาญและเป็นผู้ไม่มีสวัสดิการประกันสังคม และไม่ได้รับการช่วยเหลือจากโครงการเราไม่ทิ้งกันของภาครัฐ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

      

6.ขึ้นทะเบียนไว้ที่ กยท.ปีที่แล้ว ต้องทำอะไรอีกไหม?

ตอบ หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลพื้นฐาน เช่น ที่อยู่ เบอร์โทร กรรมสิทธิ์ที่ดิน จำนวนแปลง ที่ตั้งแปลง เปลี่ยนแปลงข้อมูลคนกรีด ฯลฯ ไม่จำเป็นต้องดำเนินการอะไร

7.ขึ้นทะเบียนไว้ที่ กยท.แล้ว ต้องไปลงทะเบียนแจ้งสิทธิรับเยียวยาอีกไหม?

ตอบ ถ้ามีบัญชีธนาคาร ... ก็ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนแจ้งสิทธิกับทางเว็บไซต์ www.เยียวยาเกษตรกร.com

8.ได้รับเงินประกันรายได้ ระยะที่ 1 กับ กยท.แล้ว แต่ปรับสมุดเล่มเขียวล่าสุดปี 2561 จะได้รับสิทธิเงินเยียวยาไหม?

ตอบ หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล กยท.จะส่งรายชื่อให้กับทาง สศก.เพื่อรับสิทธิเข้าร่วมโครงการ

9.สามีมีสมุดเล่มเขียว ภรรยาขึ้นทะเบียนกับ กยท. และอยู่คนละทะเบียนบ้าน จะได้เงินทั้งสองคนไหม?

ตอบ ได้รับสิทธิตามหลักเกณฑ์ 1 ทะเบียนบ้าน 1 สิทธิ ต้องเป็นผู้มีอาชีพหลักเป็นเกษตรกร มีรายได้หลักจากการทำเกษตร รวมถึงจะต้องไม่ได้รับเงินเดือนประจำจากหน่วยงานราชการหรือเอกชน ไม่เป็นข้าราชการบำนาญ ไม่มีสวัสดิการประกันสังคม และไม่ได้รับการช่วยเหลือจากโครงการเราไม่ทิ้งกันของภาครัฐ

10.เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรแล้ว และสถานะเป็นปี 2562 และ 2563 ต้องขึ้นทะะเบียนเกษตรกรชาวสวนยางกับ กยท.หรือไม่?

ตอบ สำหรับมาตรการเยียวยาโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ผู้ที่มีสถานะขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นปี 2562 และ 2563 จะได้รับการเยียวยา เป็นกลุ่มที่ 1 และต้องเป็นผู้มีอาชีพหลักเป็นเกษตรกร มีรายได้หลักจากการทำเกษตร ไม่ได้รับเงินเดือนประจำจากหน่วยงานราชการหรือเอกชน ไม่เป็นข้าราชการบำนาญ ไม่มีสวัสดิการสังคม และไม่ได้รับการช่วยเหลือจากโครงการเราไม่ทิ้งกันของภาครัฐ

ในส่วนการขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยางกับ กยท. เกษตรกรจะมีฐานข้อมูลไว้กับ กยท.เพื่อขอรับการจัดสวัสดิการอื่นๆ ที่ กยท.มีให้

11.ผู้ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรแล้ว ต้องไปขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยางกับ กยท.อีกหรือไม่ หรือว่าขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร และขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยางกับ กยท. ข้อมูลทั้งสองหน่วยงานจะใช้ฐานข้อมูลเดียวกันหรือไม่? ซึ่งจะทำให้สามารถขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับหน่วยงานไหนก็ได้

ตอบ ฐานข้อมูลเกษตรกรทั้งสองหน่วยงานไม่เชื่อมโยงกัน เพราะฉะนั้นเกษตรกรต้องไปขอขึ้นทะเบียนทั้งกรมการยางแห่งประเทศไทย เพื่อขอรับการช่วเหลือจากภาครัฐและสวัสดิการต่างๆ ที่ทั้งสองหน่วยงานจัดให้

12.อยากทราบว่า กยท. จะช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง ตามโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อโคโรน่า 2019 กลุ่มประเภทไหนบ้าง? 1.เกษตรกรผู้ปลูกยาง (บัตรสีเขียว) 2.เกษตรกรผู้ปลูกยาง (บัตรสีชมพู) 3.คนกรีดยางที่ได้รับจ้างกรีดให้เกษตรกรผู้ปลูกยางทั้งบัตรสีเขียวและสีชมพู

ตอบ กยท.จะดำเนินการรวบรวมและส่งข้อมูลทั้ง 3 กลุ่มให้กับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ตรวจสอบทั้ง 3 กลุ่ม เมื่อตรวจสอบสิทธิแล้วเป็นผู้มีอาชีพหลักเป็นเกษตรกร มีรายได้หลักจากการทำเกษตร ไม่ได้รับเงินเดือนประจำจากหน่วยงานราชการหรือเอกชน ไม่เป็นข้าราชการบำนาญ ไม่มีสวัสดิการประกันสังคม และไม่ได้รับการช่วยเหลือจากโครงการเราไม่ทิ้งกันของภาครัฐ ก็จะได้รับการเยียวยาโครงการดังกล่าว

13.เกษตรกรที่ได้รับการช่วยเหลือโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง (คปร) แล้ว จะได้รับการเยียวยาจากโครงการช่วยเหลือเกษตรกรนี้หรือไม่?

ตอบ จะได้รับการเยียวยา เมื่อตรวจสอบสิทธิแล้วว่าเป็นผู้มีอาชีพหลักเป็นเกษตรกร มีรายได้หลักจากการทำเกษตร ไม่ได้รับเงินเดือนประจำจากหน่วยงานราชการหรือเอกชน ไม่เป็นข้าราชการบำนาญ ไม่มีสวัสดิการประกันสังคม และไม่ได้รับการช่วยเหลือจากโครงการเราไม่ทิ้งกันของภาครัฐ

14. เกษตรกรชาวสวนยางท่ีข้ึนทะเบียนกับ กยท. ที่สถานะสวนไม่มีการเปลี่ยนแปลง จําเป็นต้องเข้าไปปรับปรุงข้อมูลกับ กยท.อีกหรือไม่? เพื่อขอเข้าร่วมโครงการนี้

ตอบ ถ้าข้อมูลสวนยางไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่จำเป็นต้องปรับปรุงข้อมูลกับ กยท. และ กยท.จะดำเนินการส่งข้อมูลให้กับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรตรวจสอบสิทธิ เพื่อรับการเยียวยาต่อไป

15.กรณีมีการเปลี่ยนแปลงคนกรีดยาง ต้องไปปรับปรุงข้อมูลกับ กยท.หรือไม่?

ตอบ ต้องปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน เพื่อจะได้รับสิทธิสวัสดิการอื่นๆ ที่ กยท.จัดให้

16.เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยางกับ กยท. แต่ยังไม่มีบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (...) จะต้องดำเนินการอย่างไร?

ตอบ สามารถเข้าไปตรวจสอบรายชื่อและข้อมูลในเบื้องต้น หรือแจ้งช่องทางในการโอนเงิน กรณีไม่มีบัญชีกับ ... ได้ที่ www.เยียวยาเกษตรกร.com หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เบอร์โทร 0-2555-0555

17.เกษตรกรสามารถตรวจสอบการขึ้นทะเบียนกับ กยท.ได้อย่างไร?

ตอบ ทางเว็บไซต์ กยท. คือ http://www.raot.co.th/gir/index/ และทางโทรศัพท์การยางแห่งประเทศไทย หมายเลข 0-2433-2222 ต่อ 243-245

18.เกษตรกรสามารถตรวจสอบสิทธิผู้ได้รับเยียวยา ทางช่องทางไหนได้บ้าง?

ตอบ ทางเว็บไซต์ http://savefarmer.oae.go.th