พลังงานนำทัพ

พลังงานนำทัพ

คาด SET ปรับตัวขึ้นทดสอบ 1,290 จุดก่อนจะสลับอ่อนตัว โดยได้แรงหนุนราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวขึ้น 9% ยืนเหนือ 27 US/Barrel

ตลาดหุ้นวานนี้

SET วานนี้ทรุดตัวลงปิดที่ 1,280 จุด (-14.15 จุด) หรือ -1.09% ด้วย Volume ซื้อขาย 4.6 หมื่นล้านบาท ตามทิศทางตลาดหุ้นรอบบ้านหลัง FED เตือนว่าไวรัส Covid-19 ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐมีความเสี่ยงในช่วงขาลง ประกอบกับ Valuation SET ที่ค่อนข้างตึงตัวรวมถึงแรงขาย Sell on fact หลังงบ 1Q20 หลายบริษัทฯหดตัวลงทั้ง QoQ และ YoY ทั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นแรงขายในกลุ่มหลัก COMM BANK และ ENERG กดดัชนีปิดแดนลบ ส่วนนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1,948 ล้านบาท  และขายสุทธิในตลาดพันธบัตร 1,554 ล้านบาท แต่ Net Long TFEX SET50 925 สัญญา

แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้     

เรามีมุมมองเป็นกลาง – บวกคาด SET ปรับตัวขึ้นทดสอบ 1,290 จุดก่อนจะสลับอ่อนตัว โดยได้แรงหนุนราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวขึ้น 9% ยืนเหนือ 27 US/Barrel หลังสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐลดลง 700,000 บาร์เรล รวมถึง IEA คาดการณ์ว่าสต็อกน้ำมันดิบทั่วโลกจะลดลงราว 5.5 ล้านบาร์เรล/วันในช่วงครึ่งหลังปี 2563 อีกทั้งปัจจัยบวกภายในประเทศการปลด Lockdown เฟส 2 ในช่วงสัปดาห์นี้ อย่างไรก็ตามแรงขาย Sell on fact หลังประกาศงบ 1Q20 ที่หลายบริษัทกำไรหดตัวลงทั้ง QoQ และ YoY ประกอบกับความกังวลไวรัส Covid-19 จะกลับมาระบาดรอบ 2 หลังหลายประเทศเริ่มผ่อนปรน Lockdown ซึ่งจะเป็นแรงกดดันให้ดัชนีสลับอ่อนตัวลง

กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy

  • กลุ่มพลังงาน (PTT, PTTEP, TOP, PTTGC, SPRC) อานิสงส์ราคาน้ำมันดิบฟื้นตัวขึ้นหลังซาอุฯลดกำลังการผลิตเพิ่ม
  • กลุ่มค้าปลีก (CRC, CPN, HMPRO, GLOBAL, COM7, DOHOME) อานิสงส์ศบค.เตรียมผ่อนปรนมาตรการ Lockdown เฟส 2
  • กลุ่มหุ้นที่ได้เข้าคำนวณ MSCI Thailand Index รอบใหม่ AWC, BAM, KTC  มีผล 29 พ.ค.

หุ้นแนะนำวันนี้

  • PTTGC (ปิด 40.25 ซื้อ/เป้า 50 บาท) ผลประกอบการผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว ราคาน้ำมันดิบดูไบที่ระดับ 28-30$/bbl ในปัจจุบันจะทำให้ธุรกิจโรงกลั่นพลิกมีกำไรจากสต๊อกน้ำมันดิบแล้วใน 2Q20 นอกจากนี้ราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นยังเป็น Sentiment บวกกับธุรกิจปิโตรฯ เพราะ PTTGC จะได้เปรียบต้นทุนเมื่อเทียบกับคู่แข่งเพราะ PTTGC ใช้ก๊าซเป็นวัตถุดิบราคาจะปรับขึ้นช้ากว่านาฟทาซึ่งราคาจะปรับขึ้นตามราคาน้ำมันทันที 
  • CKP (ปิด 3.98 ซื้อ/เป้า 4.5) ทยอยสะสม มองผลประกอบการผ่านจุดต่ำสุดของปีมาแล้ว และจะทยอยฟื้นตัวตั้งแต่ 2Q20 ตามปริมาณน้ำในเขื่อนที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ส่งผลให้เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำของ CKP คือ เขื่อนน้ำงึม 2 และ เขื่อนไซยะบุรี ในลาวจะกลับมาผลิตไฟ้ได้เต็ม Capacity จากที่ลดลงอย่างมากในช่วงไตรมาส 4 และ 1 ที่ผ่านมา

บทวิเคราะห์วันนี้

ANAN (ปิด 1.53 ปรับเป็นขาย/เป้าใหม่ 1.2 เดิม 2.2), AOT (ปิด 59.75 อยู่ระหว่างทบทวนคำแนะนำและราคาเป้าหมาย), BEM (ปิด 9.5 ซื้อ/เป้า 10.5), CENTEL (ปิด 19 อยู่ระหว่างทบทวนคำแนะนำและราคาเป้าหมาย), CPF (ปิด 28.75 ซื้อ/เป้า 32.75), ERW (ปิด 2.7 อยู่ระหว่างทบทวนคำแนะนำและราคาเป้าหมาย), LH (ปิด 6.6 ซื้อ/เป้า 9.7)

ประเด็นสำคัญวันนี้

  • (+) น้ำมันดิบ WTI บวกแรง 2.3$/bbl นักลงทุนคลายกังวลภาวะอุปทานล้นตลาดหลัง IEA คาดสต๊อกน้ำมันดิบของโลกจะค่อยๆลดลงในครึ่งปีหลัง: ราคาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้นอีก 2.27 ดอลลาร์ (+9%) ปิดที่ระดับ 27.56 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สูงสุดในรอบ 6 สัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนคลายกังวลกับภาวะ Over supply หลังจากที่วานนี้สหรัฐรายงานตัวเลขสต๊อกน้ำมันดิบลดลง 7 แสนบาร์เรลในสัปดาห์ที่ผ่านมาลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 16 สัปดาห์ ขณะที่สต๊อกน้ำมัน ณ เมืองคุชชิงซึ่งเป็นจุดส่งมอบน้ำมันในสหรัฐลดลง 3 ล้านบาร์เรลสู่ระดับ 62.4 ล้านบาร์เรล ขณะเดียวกันวานนี้สำนักงานพลังงานสากล (IEA) ออกรายงานคาดการณ์ภาพรวมตลาดน้ำมัน โดย IEA คาดว่าสต๊อกน้ำมันดิบของโลกจะปรับตัวลดลงประมาณ 5.5 ล้านบาร์เรลในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้
  • (+) ดาวโจนส์พลิกเป็นบวก 377 จุด จากแรงซื้อหุ้นกลุ่มพลังงานจากราคาน้ำมันดิบบวกแรง และกลุ่มธนาคาร ตอบรับเฟดจะไม่ใช้ดอกเบี้ยติดลบ: ดัชนีปรับตัวลงในช่วงแรกของการซื้อขายเนื่องจากนักลงทุนยังกังวลกับตลาดแรงงานของสหรัฐ หลังจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานเพิ่มขึ้นอีก 2.98 ล้านราย รวม 8 สัปดาห์มีคนตกงาน 36.5 ล้านราย คิดเป็น 25% ของประชากรในวัยทำงาน อย่างไรก็ตามจากนั้นดัชนีค่อยฟื้นตัวและกลับมาปิดในแดนบวก เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อหุ้นกลุ่มพลังงานหลังจากที่ราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นเหนือระดับ 26$/bbl เนื่องจากคลายกังวลกับภาวะ Over supply นอกจากนี้นักลงทุนยังเข้าซื้อหุ้นกลุ่มธนาคารเนื่องจากเป็นกลุ่มที่ Underperform ตลาดและนักลงทุนคลายกังวลหลังจากที่นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดยืนยันจะไม่ใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบ
  • (+/-) สัปดาห์หน้าติดตาม สภาพัฒน์ประกาศ GDP ไตรมาส 1/20 คาดหดตัว 3.3% และติดตามการประชุม กนง. มีลุ้นลดอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25%: สภาพัฒน์จะประกาศ GDP ไตรมาส 1/20 ของไทยในวันจันทร์ที่ 18 พ.ค.เบื้องต้น Bloomberg consensus คาด GDP จะพลิกเป็นหดตัว 3.3% จากที่ขยายตัว 1.6% ใน 4Q19 นับเป็นการติดลบครั้งแรกในรอบ 6 ปี และในวันที่ 20 พ.ค.แบงก์ชาติประชุมพิจารณาอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หากประเมินจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงในปัจจุบัน และ อัตราเงินเฟ้อที่ติดลบมากถึง 2.9% ในเดือน เม.ย.ซึ่งหลุดจากกรอบเงินเฟ้อเป้าหมายของแบงก์ชาติที่ (1-4%) มีความเป็นไปได้เช่นกันที่ กนง.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% จาก 0.75% เป็น 0.5% นับเป็นอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ แต่จะเป็น Sentiment ลบกับกลุ่มธนาคาร