'สมคิด' เร่งดันแผนพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เข้า ครม.สัปดาห์หน้า

'สมคิด' เร่งดันแผนพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เข้า ครม.สัปดาห์หน้า

"สมคิด" เร่งดันแผนพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เข้า ครม.สัปดาห์หน้า หวังทำฐานรากแข็งแกร่งสู้ Covid-19 รับอีก 3 เดือน คนไม่มีรายได้เลี้ยงชีพ

เมื่อวันที่ 8 พ.ค. 63 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมหารือมาตรการเยียวยาเกษตรกร ร่วมกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน สภาเกษตรกรแห่งชาติ และอื่นๆ เพื่อหาแนวทางในการเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 ทุกหน่วยงานจะต้องเร่งดำเนินการร่วมกันอย่างบูรณาการ เพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปให้ได้ โดยเฉพาะใน 3 เดือนข้างหน้าที่เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบมากกว่าปัจจุบัน คนจะไม่มีรายได้เพียงพอในการดำรงชีพ จะทำให้เศรษฐกิจไตรมาส 2 จะชะลอตัวมากกว่าไตรมาส 1 ดังนั้น จึงต้องมีแผนในการรับมือเพื่อดูแลเศรษฐกิจฐานรากให้แข็งแกร่ง รองรับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก ทั้งนี้ จะเสนอแผนดังกล่าวให้คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายงบประมาณภายใต้ พ.ร.ก.ให้กระทรวงการคลังกู้เงิน 1 ล้านล้านบาท พิจารณาก่อนเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในสัปดาห์หน้า จากนั้นปลายเดือนพ.ค.นี้จะออกหลักเกณฑ์ทั้งหมดได้ ก่อนจะดำเนินการตามแผน เงินลงสู่ระบบได้ภายในมิ.ย.นี้เป็นต้นไป

\'สมคิด\' เร่งดันแผนพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เข้า ครม.สัปดาห์หน้า

"เราควรใช้จังหวะนี้ดูแลเศรษฐกิจในประเทศให้แข็งแกร่ง โดยเน้นที่ชุมชนระดับฐานราก โดยผู้จัดการสาขาธ.ก.ส.ทั่วประเทศจะต้องทำหน้าที่ติดตามโครงการของแต่ละชุมชนให้เกิดขึ้นให้ได้จริงและมีประสิทธิผล ถ้าได้ครึ่งหนึ่งของที่ช่วยเหลือไป ก็ถือว่าดีแล้ว ส่วนวงเงินกู้ก้อนที่เหลือ 400,000 ล้านบาท จะนำไปดูแลทุกภาคส่วนอย่างเหมาะสม ไม่ได้ระบุว่าจะกัน 200,000 ล้านบาท ไว้ฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังพ้นวิกฤตนี้ ส่วนนั้น ค่อยกลับมาคิดกันอีกครั้ง" นายสมคิด กล่าว

นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า วิกฤต Covid-19 ทำให้มีแรงงานถูกเลิกจ้าง 7 ล้านราย ซึ่งส่วนนี้คาดว่าจะมีแรงงานกลับเข้าสู่ภาคการเกษตรประมาณ 4 ล้านรายและส่วนนี้จะทำการเกษตรถาวร 1.7 ล้านราย ฉะนั้นธ.ก.ส.จะเข้าไปดูแลกลุ่มนี้ให้มีความสามรถในการทำการเกษตรเพิ่มขึ้นโดยเสนอของบจากพ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท จัดตั้งกองทุนฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและธุรกิจชุมชนสร้างไทยวงเงิน 55,000 ล้านบาทในการส่งเสริมจูงใจให้เกษตรกรรายย่อยรุ่นใหม่เข้าสู่ระบบการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งผู้ที่ได้รับผลกระทบ 300,000 ราย และเกษตรกรรายใหม่ 500,000 ราย พร้อมพัฒนาวิสาหกิจชุมชมรายใหม่ 16,000 แห่ง ซึ่งกลุ่มนี้จะทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่มไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน และสร้างสถาบันเกษตรกรอีก 1,255 แห่ง

\'สมคิด\' เร่งดันแผนพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เข้า ครม.สัปดาห์หน้า

ขณะเดียวกัน ธ.ก.ส.มีสินเชื่อรองรับวงเงิน 480,000 ล้านบาทไว้คอยสนับสนุนเกษตรกรที่จะกลับเข้าสู่ภาคการเกษตรในครั้งนี้ด้วย ประกอบด้วย สินเชื่อฉุกเฉิน 20,000 ล้านบาท สินเชื่อพอเพียงพอเพื่อเลี้ยงชีพ 10,000 ล้านบาท สินเชื่อ New Gen ฮักบ้านเกิด 60,000 ล้านบาท สินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย 50,000 ล้านบาท สินเชื่อผู้ประกอบการเกษตร 40,000 ล้านบาท และสินเชื่อระยะสั้นสำหรับฤดูกาลใหม่(Jump Start Credit) 300,000 ล้านบาทอย่างไรก็ตามในส่วนของสินเชื่อนั้น ธ.ก.ส.จะต้องขอเงินชดเชยจากภาครัฐ เนื่องจากเกษตรกรดังกล่าว เป็นเกษตรกรรายใหม่ อาจมีความเปราะบางในการทำการเกษตร ขณะเดียวกันก็จะเสนอให้รัฐบาลช่วยจ่ายเงินสมทบให้ภาคธุรกิจด้านการเกษตร ให้เร่งปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต รวมถึงช่วยจ้างงานมากขึ้น