สแตนชาร์ด หั่นจีดีพี ติดลบ5% สะท้อนโควิด-19 รุนแรงขึ้น

สแตนชาร์ด หั่นจีดีพี ติดลบ5% สะท้อนโควิด-19 รุนแรงขึ้น

สแตนชาร์ด หั่นจีดีพีปีนี้ลงอีก เป็นติดลบ 5% จากเดิมมองว่าจะติดลบเพียง 1% ซึ่งเป็นอัตราที่ติดลบมากที่สุดนับจากปี 41 สะท้อนโควิด-19ที่รุนแรงมากขึ้น มองธปท.อาจลดดอกเบี้ยอีก2ครั้ง และมีโอกาสเห็นดอกเบี้ยไทยเหลือ0% หรือติดลบได้ หากสถานการณ์แย่ลงต่อเนื่อง

    ดร.ทิม ลีฬหะพันธุ์ นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคาสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) กล่าวว่า  ล่าสุดธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดปรับประมาณการจีดีพีไทยปี 2563 คาดหดตัว 5.0% (จากเดิมคาดว่าหดตัว 1.0%) ซึ่งนับเป็นอัตราหดตัวที่มากที่สุดตั้งแต่ปี 2541 การปรับลดประมาณการในครั้งนี้สะท้อนจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนาที่รุนแรงขึ้น นอกจากนี้ ยังคาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลอยู่ที่อยู่ที่ 4.5% ของจีดีพีในปี 2563 อันเป็นผลจากการนำเข้าที่ลดลงเนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัว ราคาน้ำมันที่ลดลง

    บนสมมติฐานว่าการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวได้ในระดับนึง แม้จะยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวกลับมาเมื่อใด แต่เรามองว่าการฟื้นตัวน่าจะเกิดขึ้นหลังไตรมาส 2 ของปี 2563

    ขณะเดียวกัน คาดว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 2 ครั้ง ครั้งละ 0.25% ในไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3 โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ที่ 0.25% ณ สิ้นปี 2563

.  ทั้งนี้ มองว่า แม้ยังมีความเป็นไปได้ที่ อาจเห็นธปท. ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง เหลือ 0% หรือติดลบ หากสถานการณ์แย่ลง แต่การปรับลดอัตรา เป็นศูนย์มีความเสี่ยงที่จะทำให้เงินบาทอ่อนค่า ประเด็นนี้ ธปท.น่าจะยังเป็นกังวลต่อความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดเงินทุนไหลออก
    สำหรับ ภาพค่าเงินบาท โดยมองว่าในช่วงกลางปีนี้อยู่ที่ระดับสูงกว่า 32.50 (จากเดิม 31.50) เพื่อสะท้อนการอ่อนค่าของเงินบาทในระยะนี้ นอกจากนี้การโอนเงินปันผลกลับประเทศอาจส่งผลเพิ่มเติมต่อค่าเงินบาทในไตรมาส 2 ในขณะที่การปิดเมืองของหลายประเทศทั่วโลกชะลอจำนวนนักท่องเที่ยวในระยะสั้น
    ทั้งนี้ แม้สถานการณ์ไทยจะแย่ลง แต่เชื่อว่า ประเทศไทยคงยังไม่ใช้มาตรการคิวอี เพราะยังมีความไม่ชัดเจนว่ามาตรการดังกล่าวจะส่งผลถึงภาคธุรกิจจริงๆ ดังนั้น มองว่านโยบายการคลังจำเป็นต้องมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการพยุงเศรษฐกิจไม่ให้ดอกเบี้ยอยู่ในระดับศูนย์หรือติดลบ
สำหรับ ภาพค่าเงินบาท

   โดยมองว่าในช่วงกลางปีนี้อยู่ที่ระดับสูงกว่า 32.50 บาทต่อดอลลาร์ (จากเดิม 31.50) เพื่อสะท้อนการอ่อนค่าของเงินบาทในระยะนี้ นอกจากนี้การโอนเงินปันผลกลับประเทศอาจส่งผลเพิ่มเติมต่อค่าเงินบาทในไตรมาส 2 ในขณะที่การปิดเมืองของหลายประเทศทั่วโลกชะลอจำนวนนักท่องเที่ยวในระยะสั้น