ยาต้านมาลาเรีย คลอโรควิน ความหวังใหม่ของการรักษา “โควิด”?

ยาต้านมาลาเรีย คลอโรควิน ความหวังใหม่ของการรักษา “โควิด”?

การกล่างอ้างสรรพคุณยาของประธานาธิบดีโดนัลทรัมป์ ทำให้เกิดการใช้ยาอย่างผิดๆ และการกักตุนยาในหลายๆประเทศ

ประธานาธิบดีทรัมป์ได้กล่าวอ้างถึงสรรพคุณยาคลอโรควินผิดๆ แต่ยาตัวนี้กลับเป็นความหวังใหม่ในการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ทำให้หลายประเทศกักตุนขนานใหญ่

นอกจากนี้ มันยังนำไปสู่การใช้อย่างผิดๆ และเกินขนาด จนกระทั่งเกิดการเสียชีวิต ดังเช่นในผู้ป่วยรายหนึ่งในสหรัฐฯ เอง

ทรัมป์เรียกยาต้านมาลาเรีย คลอโรควินและไฮดร็อกซีคลอโรควิน (hydroxychloroquine) ว่าตัวพลิกเกมส์” ระหว่างการแถลงข่าวเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา และนั่นส่งผลให้ประชาชนทั่วไป และแม้กระทั่งอีกหลายๆประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอัลจีเรียหรืออินโดนีเซีย ต่างรีบกักตุนยาดังกล่าว 

อินเดียเองถึงกับประกาศไม่ห้ามมีการส่งออกยาดังกล่าวอีกด้วย

ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ยาตัวนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ตัวเองหรือรูมาตอยด์ต่างพากันบ่นถึงการที่ยาขาดตลาดไปตามๆกัน

และหนึ่งในนั้นคือสเตซี่ ทอเรส นักวิชาการของสหรัฐฯผู้ซึ่งได้เขียนบทความจาก ประสบการณ์ตรงลงหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ ร้องขอให้คนอย่าได้กักตุนยาดังกล่าว

คลอโรควิน

แม้ยาคลอโรควินจะเป็นหนึ่งในตัวยาที่กำลังได้รับการศึกษาไปพร้อมๆกับยาต้านโรคเอดส์และไข้หวัดอื่นๆ ที่จะช่วยรักษาผู้ป่วยจากไวรัสโคโรนา 2019 แต่ประสิทธิผลของมันจริงๆยังไม่ได้รับการยืนยันในการทดลองในคน

ยาคลอโรควิน ได้รับความสนใจในกลุ่มนักวิจัยในช่วงที่เกิดโรคระบาดซาร์ส ในข่วงปี 2002-2003

ในการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารงานวิจัยทางระบาดวิทยา Virology Journal ในปี 2005 พบว่า คลอโรควินจะไประงับยับยั้งไวรัสซาร์สในเซลล์หลังเกิดการติดเชื้อ และก่อนแพร่กระจาย ส่งผลให้เกิดการลดจำนวนของไวรัส โดยเฉพาะในรายที่อาการรุนแรง

โดยหลักการก็คือ ยาที่ช่วยชะลอหรือฆ่าไวรัสไดอย่างคลอโรควินถูกเชื่อว่าจะข่วยรักษาชีวิตของผู้คนได้ โดยเฉพาะในรายที่อาการรุนแรงหรือช่วยป้องกันให้กลุ่มแพทย์และพยาบาลได้

ความสนใจในยาตัวนี้มีความจริงจังมากพอถึงขนาดที่องค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้มันเป็นหนึ่งในกลุ่มยารักษาไวรัสโคโรนา 2019 ที่จะศึกษาเปรียบเทียบผลกับอีกสามตัวยาในการศึกษาระดับโลกชื่อ Solidarity

ความสนใจดังกล่าว ได้รับจุดประกายโดยงานวิจัยของนักวิจัยชาวจีนที่ตีพิมพ์ในวารสาร BioScience Trends ในปีนี้ ที่ระบุว่า ยามีศักยภาพสูงในการช่วยรักษาปอดอักเสบที่เกิดจากไวรัสโคโรนา 2019 แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่ได้มีการแขร์ข้อมูลไปยัง WHO จนถึงเวลานี้

ในอีกการศึกษาหนึ่งจากประเทศฝรั่งเศสที่มีการทดลองใช้ยากับผู้ป่วยจำนวนหนึ่งก็ให้ผลในเชิงบวกเข่นเดียวกัน

แต่แม้จะมีความสนใจในการใช้ยาช่วยรักษาไวรัสโคโรนา 2019 แต่การทดลองใช้ยาดังกล่าวกับโรคอื่นเช่นไข้เลือดออกหรือชิกุคุนกันยาก็ไม่ได้ผลอย่างที่คิด

“นักวิจัยพยายามใช้ยาตัวนี้กับไวรัสตัวแล้วตัวเล่า แต่ในการทดลองคนแล้ว ยังไม่ได้ผล ปริมาณยาที่ต้องใช้มันยังสูงเกินไป” ซูซาน เฮโรลด์ นักวิจัยการติดเชื้อจากมหาวิทยาลัยกีสเซนกล่าวกับนอตยาสาร Science

อย่างไรก็ตามความตื่นตัวที่มีต่อยาตัวนี้ ก็ส่งผลให้หลายประเทศพยายามที่จะตุนยาไว้ ทำให้อีกหลายประเทศต้องออกมาปรามว่า ถ้าทำอย่างนั้นอาจทำให้คนที่จำเป็นขาดแคลนได้ อย่างเช่นกลุ่มคนไข้มาลาเรียหรือรูมาตอยด์

ในกลุ่มประเทศเหล่านั้น อาทิ อินโดนีเซีย โดยประธานาธิบดี โจโค วิโดโด ได้กล่าวว่า เขาได้สั่งนำเข้ายาคลอโรควินและยาต้านหวัดไว้ เขายังกล่าวอีกว่า ยานี้ ได้รับการพิสูจน์ว่าช่วยรักษาไวรัสโคโรนา 2019 ได้ในประเทศต่างๆ แม้จะยังไม่มีใครค้นพบยาต้านไวรัสตัวนี้โดยตรงจนถึงเวลานี้

แต่หลังจากนั้น วิโดโด ผู้ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการรับมือกับโรคระบาดนี้อย่างรุนแรงในอินโดนีเซีย กลับออกมาพูดว่า “ยังไม่มีวิธีรักษาหรือยาต้านไวรัสโคโรนา 2019 ในเวลานี้” ประสบการณ์จากประเทศอื่นเพียงบ่งชี้ว่าคลอโรควินอาจช่วยรักษาให้คนไข้ดีขึ้น เขากล่าวเพิ่ม ซึ่งในเวลานี้ ยาตัวนี้จะถูกจ่ายให้คนไข้โดยแพทย์เท่านั้น

ในขณะที่รัฐนิวยอร์คได้สั่งยาประมาณ 7,000 เม็ดเพื่อนำมาใช้ทดลองในคนร่วมกับยาตัวอื่น การกล่างอ้างของทรัมป์ส่งผลให้ชายคนหนึ่งในรัฐอริโซน่าไปหายามาเอง ซึ่งเป็นยาที่สำหรับใช้ฆ่าพยาธิในตู้ปลา และเสียชีวิต

งานวิจัยล่าสุดซึ่งตีพิมพ์เมื่อวันพุธนี้บ่งชี้ว่า ยาที่ยังถือว่าเป็นยานอกขนานเหล่านี้ สามารถจะทำให้หัวใจวายตายได้ โดยงานวิจัยของ องค์กรทางการแพทย์ที่ไม่แสวงหากำไร Mayo Clinic พบว่า ยาต้านเอดส์ที่นำมาประยุกต์ใช้รักษาไวรัสโคโรนา 2019 ก็ไปทำให้จังหวะการบีบของหัวใจเปลี่ยนเช่นกัน

สำหรับ ดร. แอนโธนี่ ฟอนี่ หัวหน้าสถาบันนานาชาติโรคติดต่อและภูมิแพ้ กล่าวว่าการกล่าวอ้างของทรัมป์เป็นเพียงการอ้างถึงสิ่งที่บอกต่อๆกันมา และทำให้ผู้เชี่ยวชาญต้องออกมาเตือนประชาชนถึงการหายามาทานเอง

“สิ่งสุดท้ายที่เราต้องการตอนนี้คือ อย่าทำให้ผู้ป่วยที่เชื่อว่าพวกเขาค้นพบวิธีรักษาซึ่งกลับเป็นอันตรายกับตัวเขาเองท่วมที่โรงพยาบาลเพิ่มอีก” ผู้อำนวยการทางการแพทย์ จากศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านยาและสารพิษในเมืองฟินิกส์กล่าว