แซนด์บ็อกซ์ “สาธารณสุข” หวังสร้างสมดุลพัฒนา “อีอีซี”

แซนด์บ็อกซ์ “สาธารณสุข”  หวังสร้างสมดุลพัฒนา “อีอีซี”

กระทรวงสาธารณสุข นำร่องพัฒนาแซนด์บ็อกซ์ระบบสาธารณสุข รองรับการพัฒนา "อีอีซี" เป็นต้นแบบให้การพัฒนาในพื้นที่อื่น

หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ จัดเวทีสัมมานา “EEC NEXT : มหานครการบิน ‘ฮับ’ โลจิสติกส์แห่งอาเซียน” เมื่อวันที่ 4 ต.ค.ที่ผ่านมา เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาเมืองการบินภาคตะวันออก และการเตรียมความพร้อมทุกด้านเพื่อรองรับการพัฒนาอย่างสมดุล

นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในหัวข้อ “เปิดเผนภาครัฐ...เตรียมพร้อมรับมือเมืองขยาย” ว่า เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) จะเป็นธงนำของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยเฉพาะพื้นที่ จ.ระยอง ที่แบกรับการเป็นธงนำทางเศรษฐกิจมาตั้งแต่ยุคอีสเทิร์น ซีบอร์ดเมื่อ 35 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งเห็นว่าการพัฒนาอีอีซีต่อจากนี้จะต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านอื่นทั้งสาธารณสุข การเกษตรและการท่องเที่ยว

การพัฒนาด้านสาธารณสุขจะช่วยสร้างสมดุลของการพัฒนาอีอีซีได้ เนื่องจากการพัฒนาอีอีซีจะทำให้มีทั้งนักท่องเที่ยวและแรงงานจำนวนมากเข้ามาในอีอีซี ซึ่งปัจจุบันอีอีซีมีประชากร 2.8 ล้านคน และอีก 20 ปีข้างหน้าจะมีประชากร 9.8 ล้านคน 

แนวทางการพัฒนาบริการสาธารณสุขที่เตรียมไว้จะสร้าง “แซนด์บอกซ์” ที่กระทรวงสาธารณสุขทำงานร่วมกับภาคเอกชน โดยข้อมูลโรงพยาบาลใน 3 จังหวัด มี 55 แห่ง 7,471 เตียง ครอบคลุมโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งจำนวนดังกล่าวมี โรงพยาบาลในชลบุรี มากที่สุด 28 แห่ง จำนวนเตียง 4,490 เตียง 

หากพิจารณาอัตราส่วนแพทย์ต่อจำนวนประชากรอยู่ที่ 1 : 2,779 คน โดยฉะเชิงเทราอัตราส่วน 1 : 2,571 ส่วนชลบุรีอัตราส่วน 1 : 2,762 และระยองอัตราส่วน 1 : 3,005 จะเห็นว่าในระยองแพทย์ 1 คน จะดูแลประชากรสูงกว่าจังหวัดอื่น

แผนยกระดับการบริการสาธารณสุขในอีอีซีอยู่ระหว่างเสนอ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) มี 3 แนวทาง คือ 

1.สร้างข้อมูลชุดเดียวกัน โดยมีระบบข้อมูลประจำตัวของประชากรทุกประเภทในอีอีซีที่ใช้ได้กับหน่วยบริการทั้งรัฐและเอกชนกําหนดความจําเปน/ความตองการในการบริการแตละประเภทใหชัดเจน และกําหนดพื้นที่มีความพรอม มีความต้องการพิเศษดานบริการและการขยายจํานวนของประชากรสูงขึ้น เชน อ.ปลวกแดง จ.ระยอง และพื้นที่ระดับจังหวัด เปนแนวคิด Demand Driven

2.รัฐและเอกชนร่วมกันสงเสริมใหหนวยบริการรัฐมีความสามารถทางธุรกิจที่ไมแสวงกําไร โดยสนับสนุนการลงทุนหรือรวมลงทุน ระหวางกระทรวงสาธารณสุขอปท.และภาคเอกชน ดังเชนรูปแบบโรงพยาบาลศิริราชปยมหาราชการุณย บริการใหครอบคลุมประชากรทุกกลุมเปาหมายในอีอีซีทั้งผูมีสิทธิ หลักประกันสุขภาพ ประกันสังคม ขาราชการ แรงงานตางดาว นักทองเที่ยว ซึ่งคํานึงถึงคุณภาพและมาตรฐานดวย

3.เครือข่ายระบบเดียวกันระหวางโรงพยาบาลภาครัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานอื่นรวมทั้งโรงพยาบาลเอกชน โดยแบงหนาที่และพื้นที่ดําเนินการใหชัดเจน รวมทั้งสงเสริมใหหนวยงานตางๆใชบริการจากกําลังคนขามหนวยงาน

รวมทั้งปรับปรุงกฎระเบียบที่จําเปนเพื่อใชในอีอีซีแลวขยายไปทั่วประเทศ เชน กฎระเบียบคาตอบแทน การจางงานหรือจางคนแบบใหม โดยจะเพิ่มกําลังคนในสวนแพทยผูเชี่ยวชาญระดับอนุสาขา รวมทั้งเจ้าหน้าที่บริการสายงานอ่ืนที่เชี่ยวชาญและพิจารณาใหบริการทั้งเครือขาย

นอกจากนี้คํานึงถึงการผลิตผูชวยพยาบาลและสายงานปฏิบัติการตางๆ ระดับตํ่ากวาปริญญาตรี ใหเพียงพอกับการพัฒนาอีอีซี ซึ่งจะเปนการเรียนรูที่จะประยุกตใชและขยายผลไปพื้นที่อื่น หรือทั่วประเทศ

เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาด้าน สาธารณสุข ใน อีอีซี จะต้องพัฒนาให้สถานพยาบาลใน 3 จังหวัด อยู่ระดับทุติยภูมิที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และไม่ต้องส่งต่อผู้ป่วยไปที่กรุงเทพฯ รวมทั้งยกระดับขีดความสามารถของโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อลดการส่งต่อผู้ป่วย

โดยปีงบประมาณ 2563 จะยกระดับโรงพยาบาลปลวกแดงและโรงพยาบาลแหลมฉบัง เพื่อลดการส่งต่อไปโรงพยาบาลระยอง ซึ่งจะลดความแออัดในโรงพยาบาลระยองและได้ทำหน้าที่โรงพยาบาลศูนย์และรักษาโรคที่ใช้ผู้เชี่ยวชาญเต็มที่

ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขเพิ่มอัตราบุคลากรไม่ได้ โดยคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) ระบุว่ากระทรวงสาธารณสุขมีบุคลากรถึง 3 แสนคน จึงต้องมีการควบคุมเพื่อไม่ให้ค่าใช้จ่ายประจำสูง ซึ่งทำให้กระทรวงสาธารณสุขเสนอ กพอ.เพื่อให้จ้างแพทย์และพยาบาลพิเศษ โดยอาจจ้างในอัตราสูงได้เพียงแต่ไม่ได้รับสวัสดิการเท่ากับบุคลากรอื่น

การจัดรูปแบบบริการสาธารณสุขในอีอีซีจะต้องสร้างความร่วมมือกับหลายหน่วยงาน และแบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ

1.Primary Care & ECS มีกระทรวงสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และภาคเอกชนดำเนินการ 

2.Secondary Care เช่น โรงพยาบาลปลวกแดง

3.Tertiary Care เช่น โรงพยาบาลชลบุรี โรงพยาบาลระยอง โรงพยาบาลพุทธโสธร

4.Excellent Center เช่น โรงพยาบาลเฉพาะทางต่างๆ

ทั้งนี้ ศูนย์แพทย์เชี่ยวชาญจะกำหนดตามลักษณะสภาพแวดล้อมของแต่ละพื้นที่ แบ่งเป็น 5 ส่วน คือ

1.ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษา อยู่ในชลบุรี ระยองและฉะเชิงเทรา

2.ศูนย์โรคเกี่ยวข้องกับทะเลหรือภัยพิบัติ อยู่ที่ชลบุรีและระยอง

3.ศูนย์โรคจากสิ่งแวดล้อมและการทำงาน อยู่ที่ระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีสถานประกอบการจำนวนมาก 4.ศูนย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ อยู่ที่ฉะเชิงเทรา ที่จะมีการพัฒนาเมืองรองรับการเป็นที่อยู่อาศัยชั้นดีด้วย

5.ศูนย์โรคจากการท่องเที่ยวและการเดินทาง จะอยู่ที่ชลบุรีและระยอง  

การพัฒนาศูนย์แพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่ถือเป็นการนำร่องในประเทศไทย คือ โครงการการลงทุนด้านจีโนมิกส์ (Genomics) ซึ่งเกี่ยวข้องกับความพยายามจะค้นหาลำดับดีเอ็นเอ (DNA sequence) ทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตและการทำแผนที่พันธุศาสตร์ (Genetic mapping) ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นของระบบสาธารณสุขในอีอีซีได้เพิ่มมากขึ้น

โครงการพัฒนาศูนย์บริการทดสอบทางการแพทย์จีโนมิกส์นี้ ได้รับความเห็นชอบจาก กพอ.แล้ว โดยเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งมีที่ตั้งศูนย์ที่มหาวิทยาลัยบูรพา

การพัฒนาโครงการมีมูลค่าการลงทุนปีละ 150 ล้านบาท โดยใช้งบประจำปีของแต่ละหน่วยงานที่มีการบรรจุในแผนงานของกระทรวงแล้ว รวมทั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) จะช่วยประสานงบประมาณเพิ่มเติม