Economic (20 ส.ค.62)

Economic (20 ส.ค.62)

2Q62 GDP: ขยายตัวต่ำ +2.3% YoY +0.6% QoQ คาดต่ำสุดของปี

Event

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงาน GDP ไตรมาสที่ 2/62 ขยายตัว 2.3% YoY ชะลอตัวจาก 2.8% YoY ในไตรมาสที่ 1/62 หลังปรับปัจจัยฤดูกาลออกแล้วเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2/62 ขยายตัว 0.6% QoQ ปัจจัยสำคัญมาจากการชะลอตัวของอุปสงค์ในประเทศและการลดลงของภาคต่างประเทศ

ด้านการผลิต (Production side)

i) ภาคการเกษตรลดลง 1.1% YoY จากการขยายตัว 1.7% YoY ในไตรมาสแรก เป็นผลมาจากการลดลงของผลผลิต พืชหลัก เช่น ข้าวเปลือก อ้อย และสับปะรด เป็นต้น ประกอบกับผลผลิตด้านการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำยังลดลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสนี้ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา มันสำปะหลัง และผลผลิตปศุสัตว์ ยังอยู่ในเกณฑ์ดี

ii) ภาคนอกเกษตรขยายตัว 2.6% YoY ชะลอลงจากการขยายตัว 2.9% YoY ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมลดลง 0.2% YoY ตามการลดลงของการผลิตสินค้า เพื่อการส่งออกและการชะลอตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า สาขาการขายส่งและขายปลีกฯ สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารและสาขากิจกรรมทาง การเงินและการประกันภัย ขยายตัว 2.5% YoY, 5.9 % YoY, 3.7% YoY และ 1.8% YoY ตามลำดับ ชะลอตัวลงจากไตรมาสที่ 1/2562 อย่างไรก็ตาม สาขาการทำเหมืองแร่ฯ สาขาการไฟฟ้ าฯ สาขาก่อสร้าง และสาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารขยายตัวเร่งขึ้น

ด้านการใช้จ่าย (Expenditure side)

i) การใชการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชนขยายตัว 4.4% YoY เทียบกับการขยายตัว 4.9% YoY ในไตรมาส ที่ 1/62 การอุปโภคบริโภคสินค้าในกลุ่มสินค้ากึ่งคงทน และสินค้าไม่คงทน ยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยขยายตัว 3.0% YoY และ 4.7% YoY เทียบกับการขยายตัว 2.5% YoY และ 2.8% YoY ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ สำหรับในกลุ่มสินค้าไม่คงทน มีการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นทั้งสินค้าในหมวดอาหารและสินค้าอื่น ๆ ส่วนหนึ่งเป็นแรงสนับสนุนจากโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่มีมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มสินค้าคงทนมีการใช้จ่ายที่ชะลอตัว ปัจจัยสำคัญมาจากการใช้จ่ายในการซื้อยานพาหนะชะลอตัวค่อนข้างมาก จากที่ขยายตัวสูงในไตรมาสก่อน
หน้า ขณะที่ค่าใช้จ่ายในหมวดบริการชะลอตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า

ii) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาลขยายตัว 1.1% YoY ชะลอตัวลงจากการขยายตัว 3.4% YoY ในไตรมาสที่ 1/62 ค่าตอบแทนแรงงานขยายตัว 1.0% YoY ชะลอตัวจากการขยายตัว 1.7% YoY ในไตรมาสก่อนหน้า การโอนเพื่อสวัสดิการสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินสำหรับสินค้าและบริการในระบบตลาดขยายตัว 5.0 % YoY ส่วนรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการลดลง 1.1% YoY

iii) การลงทุนรวมขยายตัว 2.0% YoY ชะลอตัวจากการขยายตัว 3.2 % YoYในไตรมาสที่ 1/62 การลงทุนของภาคเอกชนขยายตัว 2.2% YoY จากการขยายตัว 4.4% YoY ในไตรมาสก่อนหน้าเป็นการชะลอตัวทั้งการลงทุนในด้านการก่อสร้าง และการลงทุนด้านเครื่องจักรเครื่องมือ สำหรับการลงทุนของภาครัฐขยายตัว 1.4% YoY ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลง 0.1%YoY ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปัจจัยสนับสนุนมาจากการก่อสร้างของรัฐบาลที่ขยายตัวต่อเนื่อง

iv) ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ มูลค่า ณ ราคาประจำปี ลดลง 9.4 พันล้านบาท ประเภทสินค้าที่มีการสะสมสินค้าคงคลังลดลงได้แก่ การผลิตเครื่องประดับอัญมณี การผลิตยานยนต์ การผลิตเครื่องจักรอื่น ๆ ข้าวเปลือก มันสำปะหลัง ข้าวสาร และทองคำ ส่วนสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม พลาสติกและยางสังเคราะห์
ขั้นต้น คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง และยางพารา

v) ดุลการค้าและบริการ ณ ราคาประจำปี เกินดุล 313.3 พันล้านบาท โดยดุลการค้าเกินดุล 178.6 พันล้านบาท และดุลบริการเกินดุล 134.7 พันล้านบาท

lmpact

i) การกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ต่อจีนและฐานที่สูงมีผลต่อการชะลอตัวลงของ GDP ไตรมาสที่ 2/62 อย่างมีนัยสำคัญ

ii) GDP ไตรมาสที่ 2/62 ใกล้เคียงกับที่เราและตลาดคาดที่ 2.1-2.3% YoY เราคาดว่า GDP ไตรมาสที่ 2/62 น่าจะต่ำสุดในปีนี้

iii) GDP ไตรมาสที่ 2/62 ที่ขยายตัวต่ำมาก ะเป็นปัจจัยที่ทำให้ MPC จะต้องลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% ในการประชุมวันที่ 25 กันยายน

iv) ความต้องการในประเทศมีความแข็งแกร่งสูง เป็ นตัวรองรับความไม่แน่นอนจากภาคต่างประเทศได้เป็นอย่างดี

v) เรายังคงมีมุมมองในเชิงบวกต่อความแข็งแกร่งเศรษฐกิจไทยโดยรวมที่ยังสามารถทนต่อการค้าโลกที่ทรุดลง ถ้าสงครามการค้าสงบลง น่าจะทำให้ GDP รายไตรมาสกลับมา
ขยายตัวได้สูงกว่า 4% ได้ไม่ยาก

vi) GDP รายไตรมาสที่ขยายตัวลดลง ทำให้เราต้องปรับประมาณการ GDP ปี 2562 ลงอีกครั้งจาก 3.3% เบื้องต้นคาดว่าจะอยู่ในช่วง 2.7-3.0% และยังได้รับผลกระทบจากการกีดดันทางการค้าของสหรัฐฯ ต่อจีน เป็นปัจจัยลบต่อเนื่องถึงสิ้นปี บวกกับความไม่สงบในฮ่องกงเป็นปัจจัยลบต่อมูลค่าส่งออก แต่ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยจะยังคงเกินดุลสูงมาก

vii) ฐานต่ำครึ่งหลังของปีจะเป็นอีกปัจจัยบวกที่หนุนให้ GDP ไตรมาสที่ 3/62 และ 4/62 จะสามารถขยายตัวได้ 2.5-3.5% YoY

vii) จากที่เคยระบุไว้ในกลยุทธ์ไตรมาสที่ 2/62 คาดว่ารัฐบาลจะต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาดีขึ้นซึ่งจะมีผลตั้งแต่ไตรมาสที่ 3/62 เป็นต้นไป
แต่ขนาดจะไม่ใหญ่มากเพียงพอที่จะทำให้ GDP ครึ่งหลังขยายตัวได้สูงกว่า 3.5% โดยมาตรการจะเน้นไปที่การเพิ่มการใช้จ่ายภาคเอกชนในระยะสั้น และจะเร่งอนุมัติโครงการ
ก่อสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานเพื่อหนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว

viii) นอกจากนี้จะเริ่มเห็นการผ่อนคลายมาตการต่างๆในไม่ช้านี้ เพื่อเอื้อให้ภาคธุรกิจขยายตัว