นักสิทธิฯ-เครือข่ายกะเหรี่ยงฯ ไม่เห็นด้วย ขึ้นทะเบียน ‘กลุ่มป่าแก่งกระจาน’ เป็นมรดกโลก

นักสิทธิฯ-เครือข่ายกะเหรี่ยงฯ ไม่เห็นด้วย ขึ้นทะเบียน ‘กลุ่มป่าแก่งกระจาน’ เป็นมรดกโลก

นักสิทธิมนุษยชนและเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ยืนกราน ไม่เห็นด้วยกับการพิจารณาขึ้นทะเบียนกลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก ชี้ กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในพื้นที่ยังไม่ได้รับการเยียวยาอย่างเหมาะสม

มูลนิธิผสานวัฒนธรรมร่วมกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรและสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งต่างเป็นองค์กรที่ทำงานด้านวิชาการและการขับเคลื่อนนโยบายเกี่ยวกับวัฒนธรรมและกลุ่มชาติพันธุ์ ได้ร่วมมือกันจัดงานเสวนาวิชาการ : “ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมกะเหรี่ยงใจแผ่นดิน กับการขึ้นทะเบียนแก่งกระจานเป็นมรดกโลก” และเปิดตัวหนังสือ : ใจแผ่นดิน แผ่นดินกลางใจกะเหรี่ยงแก่งกระจาน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องสิทธิชนพื้นเมือง และกระตุ้นให้เกิดความตระหนักถึงพันธกรณีและหน้าที่ของรัฐไทยมีอยู่ในการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง ผ่านกรณีของชาวกะเหรี่ยงในกลุ่มผืนป่าแก่งกระจาน

โดยนักสิทธิมนุษยชน และนักวิชาการด้านสิทธิชนพื้นเมืองที่เข้าร่วมงานเสวนา ต่างเห็นตรงกันว่าการพิจารณาขึ้นทะเบียนกลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลกสมควรถูกระงับไปก่อน เพื่อเปิดทางให้กับการแก้ไขปัญหาด้านสิทธิชนพื้นเมืองในพื้นที่

อาจารย์สุนีย์ ไชยรส อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่าการขึ้นทะเบียนมรดกโลกกลุ่มป่าแก่งกระจานในปีนี้สมควรหยุดการพิจารณาเอาไว้ก่อน ทั้งนี้ เธอมองว่าปัญหาความขัดแย้งของชาวกะเหรี่ยงกับอุทยานฯยังไม่ได้รับการแก้ไข และเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีปี พ.ศ. 2553 ที่ให้ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง

อาจารย์สุนีย์ กล่าวว่าชาวกะเหรี่ยงโป่งลึก-บางกลอยได้ต่อสู้มายาวนานและมีความเจ็บปวดเพราะอยู่ในสถานะที่ลำบากในการต่อสู้และเห็นความพ่ายแพ้มาโดยตลอด

ในขณะที่เจ้าหน้าที่รัฐต้องการขึ้นทะเบียนกลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ แต่ในพื้นที่มีอีกมุมที่ต้องพิจารณาคือมิติด้านวัฒนธรรมของชุมชน

“ถ้าUnesco ยอมให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติตามที่รัฐบาลไทยเสนอเรื่องไป ถือว่า Unesco กำลังเดินทางผิด เพราะ มันมีสองเรื่องที่ต้องจัดการไปด้วยกันซึ่งเป็นเรื่องใหญ่...
“Unesco กำลังละเมิดหลักการของตัวเองที่ระบุให้ต้องมีการเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจก่อนประกาศให้ที่ใดๆเป็นมรดกโลก แล้วยังมีประเด็นการจัดการคนอยู่กับป่า ถ้าที่นี่ไม่สามารถต้านทานได้ จะส่งผลต่อพี่น้องในที่อื่นๆ” อาจารย์สุนีย์กล่าว

ความยัดแย้งของชุมชนชาวกะเหรี่ยงโป่งลึก-บางกลอย เป็นที่รู้จักกันในวงกว้างในปี พ.ศ 2554 เมื่ออุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จัหวัดเพชรบุรี เปิดยุทธการตะนาวศรี เพื่อแก้ปัญหาการบุกรุกในพื้นที่ ก่อนจะกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างอุทยานฯ และชาวกะเหรี่ยงผู้ซึ่งอ้างว่าอยู่ในป่าแก่งกระจานก่อนการประกาศเขตอุทยานฯ เมื่อมีการเผาทำลายสิ่งปลูกสร้างและข้าวของเครื่องใช้ของพวกเขาในปฏิบัติการ

ความขัดแย้งดังกล่าวนำมาซึ่งการร้องเรียนต่อศาลปกครอง ซึ่งในเวลาต่อมาศาลปกครองสูงสุดได้ตัดสินให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เยียวยาชดใช้ให้ชาวกะเหรี่ยงที่ได้รับความเสียหายจากปฏิบัติการในครั้งนั้น รวมถึงปู่คออี้ ผู้อาวุโสที่เป็นที่คารพนับถือของชาวกะเหรี่ยงโป่งลึก-บางกลอย

คณะกรรมการมรดกโลกได้ท้วงติงถึงข้อขัดแย้งในพื้นที่และเป็นหนึ่งในเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนมาดกโลกที่รัฐไทยต้องจัดการให้เรียบร้อย นอกจากเส้นเขตแดนที่ทับซ้อนระหว่างไทยกับพม่า

ดร.นฤมล อรุโณทัย นักมนุษยวิทยาจากสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงการณืมหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัญหาของชุมชนชาวกะเหรี่ยงโป่งลีก-บางกลอย สะท้อนปัญหาร่วมกันของชนพื้นเมืองทั่วโลกที่มีกไม่ได้รับความเคารพในวิถีวัฒนธรรม

ดร.นฤมลเห็นว่ากระบวนทัศน์และกระบวนการคิดมีความสำคัญต่อการจัดการปัญหาความขัดแย้งประเด้นสิทธิชนพื้นเมืองในกรอบของมรดกโลก

เธอมองว่า ที่ผ่านมาคณะกรรมการมรดกโลกและ Unesco มีความก้าวหน้าในกระบวนการคิด และเริ่มมีการจัดการพื้นที่ในลักษณะ mixed sites มากขึ้น ซึ่งในปัจจุบัน มีมรดกโลกที่เป็น mixed sites ที่คนอยู่ร่วมกับธรรมชาติและได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกถึงกว่า 38 แห่ง ในจำนวนมรดกโลกกว่า 1,000 แห่งทั่วโลก

ดร.นฤมล เสนอให้มีการเสนอกลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกร่วมกับกลุ่มป่าตะนาวศรีที่ติดกันในรัฐพม่าเพื่อช่วยให้ก้าวข้ามหลายๆประเด็ที่ยังเป็นข้อขัดแย้ง

สุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม และที่ปรึกษาคดีให้ชาวกระเหรี่ยงโป่งลึก-บางกลอย คาดการณ์ว่า คณะกรรมการมรดกโลกจะยังไม่พิจารณาขึ้นทะเบียนกลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลกแห่งใหม่ตามที่รัฐบาลไทยเสนอ

จากความพยายามขึ้นทะเบียนกลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลกในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า คณะกรรมการมรดกโลกรับฟังเสียงสะท้อนของชาวบ้านและได้แนะนำให้รัฐบาลกลับไปแก้ไขปัญหาให้เรียบร้อยก่อน

“มีแต่รัฐไทย กลับไม่ฟัง” นายสุรพงษ์กล่าว ก่อนจะแนะนำเพิ่มเติมว่าให้รัฐบาลและเจ้าหน้าที่กลัวมาทำงานร่วมกับชาวบ้าน โดยเขายังยืนยันว่าควรต้องให้ชาวบ้านมีโอกาสกลับไปอยู่อาศัยบริเวณเดิมก่อนการอพยพโยกย้าย

ในการเปิดตัวหนังสือ, ใจแผ่นดิน แผ่นดินกลางใจกะเหรี่ยงแก่งกระจาน, ทิพย์วิมล ศิรินุพงศ์ ผู้จัดการ สมาคมนักกฏหมายสิทธิมนุษยชน หนึ่งในผู้เขียน เปิดใจว่า ต้องการให้หนังสือเล่มนี้ได้บอกเล่าเรื่องราวของชุมชนกะเหรี่ยงโป่งลึกบางกลอย ที่เป็นวิถี จิตวิญญาณและการต่อสู้ของพวกเขา เพื่อให้คนในสังคมได้รู้จักและยอมรับในตัวตน ความเป็นคนไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงที่ควรเข้าถึงสิทธิพื้นฐานพื้นฐานในชีวิตไม่ต่างจากคนอื่น รวมทั้งความยุติธรรม

“ตอนแรก เราก็คิดว่าแค่ช่วยทำคดี แต่ทำๆไป ได้รู้จักและอยู่ร่วมกันมากขึ้น มันทำให้เราเห็นมากขึ้น โดยเฉพาะกระบวนการยุติธรรม ที่มีผลกระทบสะเทือนไปถึงรากเหง้าจิตวิญญาณ ผืนดินดั้งเดิมของพวกเขา ไปจนถึงความเป็นอัตตลักษณ์ต่างๆที่ถูกทำให้สูญหาย” ทิพย์วิมลกล่าว

การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 43 จัดขึ้นที่สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน-10 กรกฏาคม 2562 โดยประเทศไทยพยายามเสนอการขึ้นทะเบียนกลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติเป็นแห่งที่ 3 ของประเทศอีกครั้งนับตั้งแต่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ในปี พ.ศ. 2555