'กรณ์' หนุนแจกบัตรคนจน

'กรณ์' หนุนแจกบัตรคนจน

"กรณ์" หนุนแจกบัตรคนจน 14 ล้านคนได้ประโยชน์

จากกรณีที่นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้รับเชิญไปบรรยายให้กลุ่มธุรกิจ Local Modern Trade ซึ่งจัดโดย ยูนิลีเวอร์ ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Korn Chatikavanij ระบุว่า จากการพบปะพูดคุยกับผู้บริหารยูนิลิเวอร์ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ที่สุดเจ้าหนึ่งในโลกทำให้ทราบว่า โดยเฉลี่ยคนไทยทุกคนใช้สินค้าของยูนิลิเวอร์คนละสองครั้งต่อวันทุกวัน แม้แต่ตัวเองก็ยังใช้สินค้าของเขาด้วยเช่นเดียวกัน และยังได้พูดคุยกับบรรดาโชห่วยและร้านค้าท้องถิ่นจากทั่วประเทศซึ่งมาออกร้านภายในงานด้วย โดยได้หยิบยกประเด็นการแข่งขันกับร้านสะดวกซื้อเจ้าใหญ่ที่มีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นทุกปี มีการประมาณการว่า ทุกครั้งที่มีการเปิดร้านสะดวกซื้อ 1 ร้าน ตามสถิติจะมีร้านขายของชำต้องปิดกิจการมากถึง 7 ร้าน จะจริงเท็จแค่ไหนโดยส่วนตัวไม่มีข้อมูลยืนยัน

นอกจากนี้ ยังได้คุยกันถึงนโยบายบัตรสวัสดิการของรัฐ บัตรสวัสดิการของรัฐ (บัตรคนจน) เป็นที่นิยมโดยชาวบ้านทั่วประเทศอย่างมาก นโยบายนี้ใช้เงินภาษีช่วยผู้มีรายได้น้อย 14 ล้านคนด้วยเงินงบประมาณปีละ 50,000 ล้านบาท โดยที่ต้องใช้บัตรเพื่อซื้อของตามร้านธงฟ้าเท่านั้น โดยนายกรณ์ ได้ระบุถึงผู้ได้ประโยชน์จากโครงการดังกล่าวว่าแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ

กลุ่มแรก โชห่วยที่เข้าโครงการธงฟ้า 60,000 ร้าน กลุ่มที่ 2 ผู้ผลิตสินค้า 15 รายที่ได้รับเลือกเข้าโครงการ (เช่น สหพัฒน์ ทิปโก้ Unilever) และกลุ่มที่ 3 ได้แก่ ประชาชนผู้ยากจน 14 ล้านคน

ทั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์ ได้เคยหาเสียงไว้ว่า เราจะเพิ่มเงินให้ผู้ถือบัตรเป็น 800 บาทต่อเดือนและเราจะให้สิทธิผู้ถือบัตรสามารถถอนเป็นเงินสดเพื่อใช้ที่ใดก็ได้ ตามแนวความคิดของประชาธิปัตย์น่าจะส่งผลดี 6 ประการ คือ

1.ผู้ถือบัตรคล่องตัวขึ้นไม่ถูกบังคับให้ต้องซื้อเพียงสินค้าที่ถูกกำหนดมา 2.พ่อค้า แม่ค้าทั่วไปที่ไม่ได้เป็นร้านธงฟ้าจะได้ประโยชน์ 3.เศรษฐกิจชุมชนจะดีขึ้นจากเงินหมุนเวียน 4.ยอดขายร้านธงฟ้าจะตก ส่งผลให้ร้านโชห่วยแข่งขันกับร้านสะดวกซื้อยากขึ้น 5.ผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่ 15 รายจะมียอดขายลดลง 6.การใช้เงินโดยผู้ถือบัตรจะอยู่นอกระบบภาษีมากขึ้น

ส่วนคำถามว่าโครงการนี้เข้าข่าย ‘ประชานิยม’ หรือไม่ อดีต รมว.คลัง กล่าวว่า ใช่แน่นอน และจะเลิกยากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า เป็นการเสริมรายได้ให้ผู้มีรายได้น้อยที่มีประสิทธิภาพพอสมควร ไม่รั่วไหลเพราะยิงตรง และไม่มีการทุจริตเมื่อเทียบกับโครงการที่ต้องผ่านขั้นตอนราชการ ขณะที่ในต่างประเทศมีแนวคิดเรื่อง ‘Universal Basic Income’ (UBI) คือ หลักคิดว่าประชาชนทุกคนมีควรมีสิทธิมีรายได้ขั้นต้ำที่รัฐต้องดูแล

“ไทยเรายังยากจนเกินไปที่จะก้าวสู่ UBI อย่างเต็มรูปแบบ (และส่วนตัวผมยังเชื่อว่าทุกคนมีหน้าที่ต้องทำงาน ไม่ใช่รอรับเงินอย่างเดียว) แต่เราดูแลผู้มีรายได้น้อยได้ด้วยบัตรสวัสดิการ และการประกันรายได้เกษตรกร แต่จะทำอย่างไรให้ยุติธรรมที่สุดกับทุกฝ่ายคือความท้าทาย” นายกรณ์ กล่าว

นเดียวกัน นายกรณ์ ยังได้ร่วมงาน TechSauce2019 ซึ่งเป็นงานที่รวมตัวของนักธุรกิจรุ่นใหม่ ในวงการสตาร์ทอัพ โดยขณะที่พูดคุยกับนักธุรกิจอยู่นั้น ได้มีเด็กผู้หญิงคนนึง ทราบภายหลังว่าอายุเพียง 10 ขวบ มีตำแหน่งถึง ซีอีโอ และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท KIDletcoin ซึ่งเป็น startup ที่ช่วยสร้างโอกาสให้เด็กๆได้เรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีและการบริหารการเงิน ด้วยการให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองร่วมกับเด็กๆด้วยกันโดยน้องคนดังกล่าวเข้ามาสะกิดและบอกว่า “ขอคุยด้วยหน่อย” โดยเรื่องที่สนทนาเป็นเรื่อง บิทคอยน์ ที่กำลังอยู่ในกระแสนิยมทั่วโลกเป็นอีกครั้งในการโพสต์เฟซบุคส่วนตัวนายกรณ์ที่จะติดแฮชแทค #อยู่ตรงไหนก็ทำงานได้