มลภาวะทางอากาศเพิ่มเสี่ยงอัลไซเมอร์

มลภาวะทางอากาศเพิ่มเสี่ยงอัลไซเมอร์

Big Data Analysis มลภาวะทางอากาศเพิ่มเสี่ยงอัลไซเมอร์

ผลงานวิจัย ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ บีเจเอ็ม โอเพน บ่งชี้ว่า มีความเชื่อมโยงกันระหว่างมลพิษทางอากาศ กับโรคสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ แม้จะตัดปัจจัยความเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อมอย่างการดื่มจัด การสูบบุหรี่และความเสี่ยงอื่น ๆ ออกไปแล้ว

โดยประชากรทั่วโลกที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปประมาณ 7% ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ และอัตราผู้ป่วยโรคนี้สูงขึ้นเป็น 40% สำหรับผู้ที่มีอายุ 85 ปีขึ้นไป โดยคาดว่าตัวเลขนี้จะสูงขึ้นเกือบ 3 เท่าภายในปี 2593

2_2

ผลศึกษาและวิจัยชิ้นนี้ ระบุว่า 1 ใน 5 ของผู้ป่วยที่อาศัยอยู่พื้นที่ที่มีมลพิษสูง มีโอกาสป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์มากกว่าผู้ป่วย 1 ใน 5 ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีไนโตรเจนไดออกไซด์และ PM2.5 ต่ำถึง 40%

ทีมวิจัยเชื่อว่า ผลกระทบที่ร้ายแรงนี้ มีสาเหตุมาจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก ที่เข้าไปในสมองผ่านทาง จมูก ปอดและระบบทางเดินอาหาร และฝุ่นละอองเหล่านี้ได้ทำลายสิ่งกีดขวางต่าง ๆ และไหลเวียนไปทุกส่วนของร่างกายด้วยระบบไหลเวียนเลือด

ถือเป็น “ภัยเงียบ” ที่น่ากลัวและคนส่วนใหญ่อาจมองข้าม แต่ถ้าไม่อยากมีอาการความจำเลอะเลือนก่อนวัยอันควร ก็ต้องหาทางป้องกันตัวเองให้รอดพ้นจากภัยเงียบนี้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้