เสมาโพล เผยผู้ปกครองร้อยละ 65.1 กังวลอาการข้างเคียงหลังเด็กฉีดวัคซีนโควิด

เสมาโพล เผยผู้ปกครองร้อยละ 65.1 กังวลอาการข้างเคียงหลังเด็กฉีดวัคซีนโควิด

เสมาโพล เผยผลสำรวจความคิดเห็นผู้ปกครองต่อเด็กอายุ 5- ไม่เกิน 12 ปี เกี่ยวกับนโยบายฉีดวัคซีน พบร้อยละ 58.6 ต้องการให้บุตรหลานฉีดวัคซีน ร้อยละ65.1กังวลเกี่ยวกับอาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีน และร้อยละ45.7 ม่แน่ใจว่าฉีดวัคซีนแล้วกลับไปเรียนได้ตามปกติ

ตามที่รัฐบาลมีนโยบายฉีดวัคซีนให้กับนักเรียนที่มีอายุ 5 – ไม่เกิน 12 ปีเพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่นักเรียนและหวังให้กลับมาดำเนินชีวิตตามปกติสุขได้โดยเร็วที่สุด

กระทรวงศึกษาธิการ โดย “เสมาโพล” จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีบุตรหลานวัยเรียนในช่วงอายุ 5 – ไม่เกิน 12 ปีเพื่อให้รัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา นำข้อมูลไปใช้ในการวางแผน กำหนดนโยบาย/มาตรการ แนวทางการติดตามประเมินผล และการสร้างความเข้าใจให้กับผู้ปกครองนักเรียนในการฉีดวัคซีน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่และทำให้สถานศึกษาเป็นที่ปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่สุดสำหรับนักเรียน

การสำรวจครั้งนี้ สอบถามประชาชนที่มีบุตรหลานวัยเรียนในช่วงอายุ 5 – ไม่เกิน 12 ปีทุกจังหวัดทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 26,793 หน่วยตัวอย่าง โดยอาศัยแผนการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) และเก็บรวบรวมข้อมูลในรูปแบบการสำรวจออนไลน์ ระหว่างวันที่ 14-18 กุมภาพันธ์ 2565

 

  • ผู้ปกครองร้อยละ 65.1 กังวลอาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีน

จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อประเด็น เรื่อง “การฉีดวัคซีนให้กับนักเรียนที่มีอายุ 5 – ไม่เกิน 12 ปี” พบว่า

ความต้องการให้บุตรหลานไปฉีดวัคซีน

  • ร้อยละ 58.6 ระบุว่า ต้องการให้บุตรหลานไปฉีดวัคซีน
  • ร้อยละ 22.6 ระบุว่า ไม่ต้องการให้บุตรหลานไปฉีดวัคซีน
  • ร้อยละ 18.8 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ

สิ่งที่เป็นห่วงหรือกังวลที่สุดเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนให้กับบุตรหลาน 

  • ร้อยละ65.1 ระบุว่า มีความกังวลเกี่ยวกับอาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีน
  • ร้อยละ 17.5 ระบุว่า มีความกังวลเกี่ยวกับความรับผิดชอบ กรณีนักเรียนมีอาการผิดปกติ
  • ร้อยละ 7.0 ระบุว่า มีความกังวลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีน
  • ร้อยละ 4.9 ระบุว่า มีความกังวลเกี่ยวกับความพร้อมด้านร่างกายของบุตรหลานก่อนฉีดวัคซีน/บุตรหลานมีสุขภาพไม่แข็งแรง
  • ร้อยละ 0.3 ระบุว่า มีความกังวลเกี่ยวกับความยุ่งยากซับซ้อนของขั้นตอนการเข้ารับบริการฉีดวัคซีน
  • ร้อยละ 5.2 ระบุว่า ไม่มีข้อกังวล

 ความต้องการด้านสถานที่ให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 

โดยผู้ปกครองที่มีความต้องการให้บุตรหลานฉีดวัคซีนโควิด-19 

  • ร้อยละ 60.8 ระบุว่า ต้องการให้ฉีดวัคซีนที่โรงเรียน
  • ร้อยละ 29.1 ระบุว่า ต้องการให้ฉีดวัคซีนที่โรงพยาบาล
  • ร้อยละ 10.1 ระบุว่า ต้องการให้ฉีดวัคซีน ณ ศูนย์บริการหรือหน่วยบริการ

 

  • ร้อยละ 45.7 ไม่แน่ใจฉีดวัคซีนแล้วเด็กกลับไปเรียนปกติ

ความต้องการด้านวิธีการตรวจหาเชื้อโควิด-19

  • ร้อยละ 71.8 ระบุว่า ต้องการให้ใช้วิธีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในนักเรียนด้วยการตรวจน้ำลาย
  • ร้อยละ 23.9 ระบุว่า ต้องการให้ใช้วิธีการแยงจมูก (Swab)
  • ร้อยละ 2.2 ระบุว่า ต้องการให้ใช้วิธีการตรวจเลือด
  • ร้อยละ 2.1 ระบุว่า ไม่ต้องการให้ตรวจหาเชื้อโควิด-19

ความเชื่อมั่นต่อนโยบายฉีดวัคซีนให้นักเรียนอายุ 5 - ไม่เกิน 12 ปี เพื่อให้สามารถกลับไปเรียนได้ตามปกติ

  • ร้อยละ 45.7 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจว่าการฉีดวัคซีนให้นักเรียนอายุ 5 - ไม่เกิน 12 ปี จะทำให้บุตรหลานสามารถกลับไปเรียนได้ตามปกติรองลงมา
  • ร้อยละ 34.0 ระบุว่า เชื่อมั่นว่าการฉีดวัคซีนจะทำให้บุตรหลานสามารถกลับไปเรียนได้ตามปกติส่วน
  • ร้อยละ 20.3 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นว่าการฉีดวัคซีนจะทำให้บุตรหลานสามารถกลับไปเรียนได้ตามปกติ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

  • ร้อยละ 77.2 เป็นผู้ปกครองของนักเรียนในเขตภาคกลาง
  • ร้อยละ 8.5 เป็นผู้ปกครองของนักเรียนในเขตภาคเหนือ
  • ร้อยละ 7.5 เป็นผู้ปกครองของนักเรียนในเขตภาคใต้
  • ร้อยละ 2.8 เป็นผู้ปกครองของนักเรียนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ร้อยละ 2.2เป็นผู้ปกครองของนักเรียนในเขตภาคตะวันออก
  • ร้อยละ 1.8 เป็นผู้ปกครองของนักเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร

ส่วนการประกอบอาชีพของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า

  • ร้อยละ 31.4 ประกอบอาชีพค้าขาย/ประกอบธุรกิจส่วนตัว
  • ร้อยละ 26.9 ประกอบอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
  • ร้อยละ 15.4 ประกอบอาชีพข้าราชการ/พนักงานราชการ/ลูกจ้างของรัฐ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
  • ร้อยละ 10.6 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ขับรถรับจ้าง/กรรมกร
  • ร้อยละ 8.6 ประกอบอาชีพเกษตรกร
  • ร้อยละ 7.1 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/ว่างงาน

ทั้งนี้ ความดูแลรับผิดชอบต่อเด็กอายุ 5-ไม่เกิน 12 ปี มีดังนี้

  • ร้อยละ 68.0 เป็นผู้ปกครองที่มีบุตรหลานในความดูแลรับผิดชอบ จำนวน 1 คน
  • ร้อยละ 27.6มีบุตรหลานในความดูแลรับผิดชอบ จำนวน 2 คน
  • ร้อยละ 3.3 มีบุตรหลานในความดูแลรับผิดชอบ จำนวน 3 คน
  • ร้อยละ 1.1 มีบุตรหลานในความดูแลรับผิดชอบ จำนวนมากกว่า 3 คน ขึ้นไป