1 ก.พ.นี้ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง สิทธิ "บัตรทอง" เลือกวิธีฟอกไตได้แล้ว!

1 ก.พ.นี้ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง สิทธิ "บัตรทอง" เลือกวิธีฟอกไตได้แล้ว!

1 ก.พ.นี้ ทางเลือกผู้ป่วยไตสิทธิ "บัตรทอง" ฟอกเลือดฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่จำกัดเฉพาะล้างไตทางช่องท้องเท่านั้น รักษาได้ในทุกสถานพยาบาลที่มีหน่วยบริการ

ภายหลังจากมติ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บอร์ด สปสช. เห็นชอบนโยบายเพิ่มทางเลือกผู้ป่วยไตสิทธิ "บัตรทอง" ฟอกเลือดฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย จะเริ่มวันที่ 1 ก.พ. 2565 เป็นต้นไป

นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ขณะนี้วิธีการบำบัดทดแทนไตมี 2 วิธีหลักๆ คือ

1.ล้างไตทางหน้าท้อง โดยวางท่อบริเวณหน้าท้องแล้วเทน้ำยาล้างไตผ่านท่อเพื่อล้างของเสียออกจากร่างกาย วิธีนี้ต้องล้างทุกวัน มีข้อดีคือสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่จำเป็นต้องมาที่โรงพยาบาลหรือหน่วยฟอกไต 

2.การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม วิธีนี้ต้องไปทำที่โรงพยาบาลสัปดาห์ละ 2-3 วัน ใช้เวลาครั้งละ 3 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย ซึ่งถือเป็นจำนวนเงินที่สูงโดยเฉพาะกับผู้ที่รายได้น้อย 

ดังนั้น จึงมีนโยบายเพิ่มทางเลือกแก่ผู้ป่วยโรคไตให้สามารถเลือกวิธีการบำบัดทดแทนไตได้ หากประสงค์จะฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม สปสช. จะเข้าไปดูแลเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ครอบคลุมทุกอย่างตั้งแต่ค่าฟอกเลือด ค่าเจาะเตรียมเส้นเลือด ค่ายากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง โดยที่ประชาชนไม่ต้องจ่ายเงินเองอีกต่อไป 

1 ก.พ.นี้ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง สิทธิ \"บัตรทอง\" เลือกวิธีฟอกไตได้แล้ว!

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

แนวปฏิบัติของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต (ฟอกไต)

 

  • ผู้ป่วยรายเดิม (ก่อน 1 ก.พ. 2565)

- ผู้ป่วยที่ล้างไตผ่านช่องท้อง (หากต้องการเปลี่ยนมาใช้วิธีฟอกเลือกด้วยเครืองไตเทียม)

- ปรึกษาแพทย์ที่รักษา (กรณีแพทย์อนมัติ/แนะนำ) เข้ารับบริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ไม่เกิน 3 ครั้งต่อสัปดาห์

หมายเหตุ: กรณีหน่วยบริการที่ท่านฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับ สปสช. โทรสายด่วน 1330 เพื่อตรวจสอบรายชื่อหน่วยบริการฯ ที่ขึ้นทะเบียนกับ สปสช.ที่ท่านสามารถใช้บริการได้

 

  • ผู้ป่วยรายใหม่ (ตั้งแต่ 1 ก.พ.65 เป็นต้นไป)

- เมื่อได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าต้องเข้ารับบริการบำบัดทดแทนไต

- แพทย์และผู้ป่วยจะตัดสินใจร่วมกันเพื่อเลือกวิธีการบำบัดทดแทนไตที่เหมาะสม (ไม่บังคับให้ใช้วิธีล้างไตผ่านช่องท้องเป็นทางเลือกแรกอีกต่อไป)

- ผู้ป่วยสมัครใจฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม รับบริการตามกระบวนการต่อไป

- แพทย์จะส่งผู้ป่วยไปเข้ารับบริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่หน่วยบริการที่เหมาะสม

- ผู้ป่วยเดินทางมาฟอกไตสัปดาห์ละไม่เกิน 3 ครั้ง ไม่เสียค่าใช้จ่าย

1 ก.พ.นี้ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง สิทธิ \"บัตรทอง\" เลือกวิธีฟอกไตได้แล้ว!

ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าวจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 2565 ในส่วนคนไข้เดิมที่ปฏิเสธการล้างไตทางหน้าท้องแล้วจ่ายเงินฟอกเลือดเองก็ไม่ต้องจ่ายอีกต่อไป คนไข้ใหม่ที่แพทย์วินิจฉัยแล้วว่าต้องทำการบำบัดทดแทนไตและเลือกวิธีฟอกเลือดก็ไม่ต้องจ่ายเช่นกัน รวมทั้งส่วนผู้ที่ใช้วิธีล้างไตทางหน้าท้องแต่อยากเปลี่ยนมาใช้วิธีฟอกเลือดก็สามารถเปลี่ยนได้เช่นกัน 

อย่างไรก็ดี ไม่ว่าเป็นผู้ป่วยล้างไตทางหน้าท้องที่อยากเปลี่ยนมาใช้วิธีฟอกเลือด หรือผู้ป่วยรายใหม่ที่ต้องการฟอกเลือด จะต้องทำการปรึกษาและตัดสินใจร่วมกับแพทย์ผู้รักษา ทั้งนี้เพราะทั้ง 2 วิธีมีข้อดีข้อเสียต่างกัน แพทย์จะเป็นผู้ให้คำชี้แนะโดยพิจารณาจากข้อบ่งชี้ทางการแพทย์และปัจจัยเกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถทำการตัดสินใจได้อย่างรอบด้าน โดยการตัดสินใจขั้นสุดท้ายจะอยู่ที่ตัวผู้ป่วย 

 

ที่มา : สปสช.