ชาวบ้านหุบกะพงวันนี้ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ที่มั่นคง บน “แผ่นดินพระราชา”

ชาวบ้านหุบกะพงวันนี้ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ที่มั่นคง บน “แผ่นดินพระราชา”

เปิดใจ ชาวบ้านหุบกะพงวันนี้ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ที่มั่นคง บน “แผ่นดินพระราชา”

นายสมภพ เปรมสุข เกษตรกรในโครงการตามพระราชประสงค์หุบกระพง จังหวัดเพชรบุรี เผยว่าดีใจมากที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานที่ให้ทำกิน เริ่มต้นปลูกมะม่วงจากนั้นปลูกทุกอย่างที่กินได้ หากไม่ได้พระองค์ก็ไม่ได้ยืนอยู่ตรงนี้และคงไม่มีวันนี้ ทุกคนในโครงการฯ จะปฏิบัติตามที่พระองค์ตรัสไว้ คือความสามัคคีในหมู่คณะต้องดีที่สุด ทุกคนจะอยู่ในระบบสหกรณ์ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ดำรงชีวิตและประกอบอาชีพตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 

“ได้สิทธิ์ 15 ไร่กับพื้นที่ชลประทาน 5 ไร่ น้ำฝนอีก 10 ไร่ปลูกยูคาลิปตัสเพราะทนแล้ง ที่เหลือปลูกมะม่วง มะละกอ มะปราง ลำไย ปลูกทุกอย่างที่กินได้ รายได้ไม่เน้นเน้นมีกิน ซาบซึ้งในหลวงรัชกาลที่ 9 อยู่ในใจตลอด พระองค์เป็นต้นแบบที่ดีสำหรับพวกเราทุกคนเหมือนพ่อหลวง ลูกทุกคนทำตามที่พ่อทำ ก็จะอยู่ได้แบบยั่งยืน    ปัจจุบันเลี้ยงปลาในสระ เลี้ยงไก่อารมณ์ดีไว้กินไข่  ชีวิตอยู่ดีมีความสุขไม่มีรายจ่าย  ถ้าเราไม่มีพระองค์ท่านก็ไม่มีวันนี้ และดีใจที่ในหลวงรัชกาลที่ 10 สานต่อจากที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 มีความรู้สึกตื้นตัน ที่พระองค์เป็นห่วงคอยสอดส่องดูแลให้หน่วยงานเข้ามาดูว่าเป็นยังไงบ้าง อะไรขาดอะไรเหลือทางหน่วยราชการจะช่วย อย่างศูนย์ฯ นี่เค้าก็ช่วยเหลือมาตลอด รู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน”นายสมภพ  เปรมสุข  กล่าว

ชาวบ้านหุบกะพงวันนี้ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ที่มั่นคง บน “แผ่นดินพระราชา”

ด้านนางนุชจรี  ศรีธรรมการ  ราษฎรรุ่นที่ 3 ที่อาศัยทำกินในพื้นที่โครงการตามพระราชประสงค์หุบกะพง เปิดเผยว่า เมื่อก่อนมีอาชีพค้าขายมาสานต่ออาชีพของพ่อแม่ที่เลี้ยงโคขุน  เริ่มแรกซื้อโคโครงสร้างมาเลี้ยง ผลิตอาหารโคเพื่อบำรุงโคผลิตยาถ่ายพญาธิโคตลอดถึงการฉีดยาบำรุงโค ที่เป็นโคใหม่นำมาเลี้ยงแบบขุน  

“โคนี่จะขุนไม่ยุ่งยากเป็นวัวใหญ่เรียกว่าวัวกลางน้ำโดยขุนทำเนื้ออย่างเดียว โคที่นำมาขุนโครงสร้างจะใหมีไซต์ 200 -300 อายุ 2-3 ปี ขุน 4 เดือนก็ส่งขายได้ ถ้าจังหวะโคราคาดีขายได้เป็น 10,000 บาทต่อตัว โชคดีที่ได้อยู่ในพื้นที่โครงการหุบกะพงฯ เนื่องจากมีสหกรณ์สนับสนุนอาชีพของเกษตรกรในโครงการฯ ให้เข้าถึงโอกาสต่างๆ ได้ง่ายขึ้น สหกรณ์จะเป็นพี่เลี้ยงหาวัตถุดิบในราคาถูกให้ รู้สึกภาคภูมิใจ และปลื้มหัวใจที่ได้ที่ทางทำกินจากพระองค์ท่าน หากไม่มีพระองค์ก็คงไม่มีวันนี้ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างสูงมาก วันก่อนพระราชินีก็เสด็จมาทางกลุ่มเราก็ไปต้อนรับ ทุกพระองค์มีบุญคุณกับเราก็รักทุกพระองค์ ดีใจที่ ร. 10 ท่านสานต่อโครงการฯ “ นางนุชจรี  ศรีธรรมการ กล่าว

ชาวบ้านหุบกะพงวันนี้ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ที่มั่นคง บน “แผ่นดินพระราชา”

และล่าสุดเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2564 นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการฯ และหาแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอด งานโครงการหุบกะพง เป็น “หมู่บ้านตัวอย่าง” การพัฒนาหมู่บ้านอย่างครบวงจร ตามพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

การนี้อธิบดีฯ และคณะได้เยี่ยมชมแปลงปลูกผักสลัดวิถีอินทรีย์ ของนายสนั่นศักดิ์ บุญพิทักษ์  ที่ได้ปรับเปลี่ยนการปลูกจากรูปแบบไฮโดรโปนิก มาเป็นในดินยกสูงบนหรือบนโต๊ะ ทำให้สะดวกในการปลูก ดูแลรักษา และเก็บเกี่ยวได้ง่าย 

 ผักที่ปลูกเป็นที่นิยมของท้องตลาดอาทิ ผักกรีนโอ๊ค เรดโอ๊คและผักคอส ทุกวันนี้มีรายได้แน่นอน และเยี่ยมชม กลุ่มผู้เลี้ยงเลี้ยงโคขุน หมู่ที่ 10  บ้านหุบกะพงพัฒนา โดยมีนายบุญรวม บุญแต่ง เป็นประธานกลุ่ม  ปัจจุบันกลุ่มผลิตและจำหน่ายอาหารโคให้แก่สมาชิก และตลาดทั่วไป  มีสมาชิก 27 คน มีกำไร 700,000 บาทต่อปี สร้างความมั่นคงของอาชีพและรายได้ให้แก่สมาชิกอย่างต่อเนื่อง

โครงการตามพระราชประสงค์หุบกะพงได้ก่อเกิดขึ้นตามแนวพระราชประสงค์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่สร้างประโยชน์สุขของของประชาชนใน “แผ่นดินพระราชา”  บนโฉนดที่ดินในพระปรมาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (เปลี่ยนพระนามโฉนดที่ดินในพระปรมาภิไธย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561) สืบต่อจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 

โดยทรงพระเมตตาส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้กับเกษตรกรที่อยู่อาศัยในโครงการฯ ทั้งปัจจัยพื้นฐาน และปัจจัยการผลิตอย่างต่อเนื่องตลอดมา ทุกวันนี้ราษฏรในโครงการฯ มีความเป็นอยู่ที่ดี มีอาชีพ มีกิน และมีรายได้ที่มั่นคง ดังที่มีพระราชปณิธาน จะสืบสาน รักษา ต่อยอดงานโครงการตามพระราชประสงค์หุบกะพง ให้เป็น “หมู่บ้านตัวอย่าง” เป็นต้นแบบแก่พื้นที่อื่น ๆ และเป็นแหล่งเรียนรู้ในการพัฒนาอาชีพด้านการเกษตร สืบไป